พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากเนื่องจากเจ้าของทรัพย์ติดตามคืนทรัพย์สิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อฝาก
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนอง จำนองและขายฝากให้ที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงไม่มีกำหนดอายุความ
การที่จำเลยที่ 4 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทเป็นจำนวนเงินถึง 2,500,000 บาท โดยรู้เห็นอยู่แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจมีเพียงลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้ทำสิ่งใดและรู้เห็นถึงการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจ โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 4 เอง ที่หลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลยที่ 1 มิใช่เกิดจากการที่โจทก์เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821, 822 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 4 นิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ชอบและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 ได้
การที่จำเลยที่ 4 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทเป็นจำนวนเงินถึง 2,500,000 บาท โดยรู้เห็นอยู่แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจมีเพียงลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้ทำสิ่งใดและรู้เห็นถึงการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจ โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 4 เอง ที่หลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลยที่ 1 มิใช่เกิดจากการที่โจทก์เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821, 822 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 4 นิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ชอบและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องทายาทได้ แม้ไม่ได้ร่วมโอน
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่า ย. เป็นหนี้ภาษีอากรแก่โจทก์ ก่อนตาย ย. โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยเสน่หาเพื่อให้พ้นการยึด โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่าง ย. กับจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นความรับผิดส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับการให้แล้ว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของ ย. เป็นการบรรยายฟ้องแสดงถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทซึ่งกองมรดกของ ย. ตกทอดแก่บุคคลดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1600 เมื่อคดีร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ย. ได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเป็นความรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน จึงเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทซึ่งทายาทคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดอาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ ฟ้องโจทก์เท่านี้เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่แล้วว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม มิใช่รับผิดในฐานะส่วนตัวอย่างจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้รับการให้โดยเสน่หา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แม้ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้และช่วยเหลือลูกหนี้
จำเลยที่ 1 และบิดาเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นการหักหนี้ที่จำเลยที่ 1 และบิดามีต่อ พ. และที่ พ. เป็นหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่สมเหตุผล เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และบิดาเป็นหนี้ พ. ต่อมาอีกประมาณ 2 เดือน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยงของจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 โดยไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการชำระเงินค่าซื้อที่ดินพิพาท ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กันจริง การรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินมรดก: การโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริตและราคาต่ำกว่าตลาด
เมื่อ ด. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของ ด. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (2) ร. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ตามคำสั่งศาลย่อมมีหน้าที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่ ร. จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยในราคาเพียง 45,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินพิพาทกับที่ดินอีก 1 แปลง มีราคาถึง 70,000 บาท จึงเป็นราคาต่ำมากไม่น่าเชื่อว่าจะซื้อขายกันจริง และที่จำเลยนำสืบอ้างว่าเบิกเงินจากธนาคารจำนวน 30,000 บาท มาชำระค่าซื้อที่ดินพิพาทนั้นก็ไม่มีหลักฐานการเบิกเงินจากธนาคารมาแสดง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรของ ร. ร่วมบิดาเดียวกัน จำเลยย่อมทราบว่า ด. เป็นบุตรโจทก์ จึงเชื่อว่าจำเลยและ ร. กระทำการโอนที่ดินพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนและโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่าง ร. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. กับจำเลยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิจากคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ผู้ขายต้องรับผิดชำระราคาคืน
การที่ศาลฎีกาในคดีก่อนพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการฝากขายที่ดินและนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทอันมีผลให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริง กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริงมารบกวนสิทธิของโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อให้จำต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่เจ้าของที่ดินที่แท้จริงตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ทั้งสองจึงถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งการรอนสิทธินั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อ จำเลยผู้ขายจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสองตามมาตรา 479 ดังนั้น ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดคือราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระแก่จำเลยไปแล้วอันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองเสียหายไปจริง แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เกิดจากการไม่สามารถขายที่ดินพิพาทได้นั้น เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ทั้งสองเอง หาใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองต้องเสียหายไปตามความจริงไม่ ทั้งนี้ โจทก์ทั้งสองได้เกิดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าที่ดินพิพาทเอาจากจำเลยนับแต่วันที่โจทก์ทั้งสองทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว อนึ่งจำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะเรื่องขาดอายุความฟ้องร้องเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่าวอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิจากการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขาย
ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง ฉ. กับจำเลยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2516 และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2531 อันมีผลให้โจทก์ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่ ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปกติสุขเพราะ ฉ. มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับซื้อฝากโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่โจทก์ก็รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้คืนพิพาทให้แก่เจ้าของที่แท้จริงไปแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งการรอนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475
ที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์เพราะการรอนสิทธิ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์คือราคาค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้ว อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์เสียหายไปจริง ส่วนการที่โจทก์ไม่สามารถขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอกได้เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์จึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่ต้องเสียหายไปตามความจริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะขาดอายุความเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่างอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์เพราะการรอนสิทธิ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์คือราคาค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้ว อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์เสียหายไปจริง ส่วนการที่โจทก์ไม่สามารถขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอกได้เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์จึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่ต้องเสียหายไปตามความจริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะขาดอายุความเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่างอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก, อายุความ, การเพิกถอนนิติกรรม, สิทธิทายาท, ผู้จัดการมรดก
หลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นฟ้องซ้ำนั้น คดีก่อนศาลต้องมีคำวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้อง ซึ่งการถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 176 นอกจากนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแต่อย่างใด การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1กับพวกเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 1 จะยกอายุความมรดก1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ดังนั้น ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2เป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276
โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 1 จะยกอายุความมรดก1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ดังนั้น ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2เป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก, อายุความ, พินัยกรรมปลอม, และอำนาจบังคับคดี
โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตาย เมื่อขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร ทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว มรดกของผู้ตายจึงตกทอดแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมทั้ง พ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ พ. โจทก์จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตามมาตรา 1639
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก และความประมาทเลินเล่อของผู้ขาย ทำให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องในทำนองว่า จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริตซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิชอบและไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้เช่นนั้นเพราะจำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอรับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสุจริต
โจทก์ที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจตามแบบของกรมที่ดินที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งโจทก์ที่ 2ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องใส่ในถุงกระดาษหูหิ้วติดตัวไปมาเป็นเวลานานนับปีในลักษณะที่อาจทำให้เอกสารสำคัญสูญหายได้ และเมื่อโจทก์ที่ 2 ทราบว่าโฉนดที่ดินพิพาทพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการทำนิติกรรมได้หายไป หากโจทก์ทั้งสองรีบแจ้งความและขออายัดที่ดินพิพาทเสียในโอกาสแรก การที่จำเลยที่ 1 จะไปทำนิติกรรมโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้ตนเองย่อมกระทำไม่ได้ การที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวล่าช้า ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่ออย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีการนำโฉนดที่ดินพิพาทและเอกสารต่าง ๆ ไปดำเนินการทำนิติกรรมเป็นว่าโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจยกเอาความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นอ้างอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองและนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์ที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจตามแบบของกรมที่ดินที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งโจทก์ที่ 2ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องใส่ในถุงกระดาษหูหิ้วติดตัวไปมาเป็นเวลานานนับปีในลักษณะที่อาจทำให้เอกสารสำคัญสูญหายได้ และเมื่อโจทก์ที่ 2 ทราบว่าโฉนดที่ดินพิพาทพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการทำนิติกรรมได้หายไป หากโจทก์ทั้งสองรีบแจ้งความและขออายัดที่ดินพิพาทเสียในโอกาสแรก การที่จำเลยที่ 1 จะไปทำนิติกรรมโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้ตนเองย่อมกระทำไม่ได้ การที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวล่าช้า ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่ออย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีการนำโฉนดที่ดินพิพาทและเอกสารต่าง ๆ ไปดำเนินการทำนิติกรรมเป็นว่าโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจยกเอาความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นอ้างอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองและนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนองที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล โดยพิจารณาถึงความสุจริตของผู้รับจำนอง
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างอิงและยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามข้อ 15 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ดังนั้น แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึงเอกสาร ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถหยิบยกเอกสารดังกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238