พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท: สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ
กรณีใดบ้างที่บุคคลจะต้องใช้สิทธิทางศาลต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ กรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าการขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท อาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ดังนั้น ผู้ร้องจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องการเพิ่มทุนโดยการโอนทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่โอนทรัพย์สินให้โจทก์ตามข้อตกลง
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ที่ 2 กับนายสมชัยและจำเลยตกลงเข้าร่วมลงทุนกับโจทก์ที่ 1 โดยจะจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น6,000,000 บาท ในการเพิ่มทุนครั้งนี้โจทก์ที่ 2 และนายสมชัยจะต้องชำระเงินคนละ2,000,000 บาท ส่วนจำเลยจะโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ที่ 1 มาตีราคาในการเพิ่มทุน ต่อมาโจทก์ที่ 2 ชำระเงิน 2,000,000 บาท และนายสมชัยชำระเงิน1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 1 ชำระเงิน 3,000,000 บาท ให้แก่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์ตอนนี้จะบรรยายว่า เพื่อเป็นการซื้อทรัพย์สินจากจำเลย อันมีความหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออ่านฟ้องโจทก์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีความประสงค์จะให้จำเลยโอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงเข้าร่วมลงทุนโดยมิได้คำนึงว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของจำเลยหรือเป็นของผู้อื่น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน และจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยชำระเงินค่าทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยไม่ครบถ้วนดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลย โจทก์ที่ 2 และนายสมชัย ไชยศุภรากุล เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ คือกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยให้การว่าในการแต่งตั้งนายสุรัตน์ แสงจันทร์รุ่ง เป็นทนายความดำเนินคดีแทน โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อกรรมการสองคนและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ให้ถูกต้องตามข้อบังคับการแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องคำให้การจำเลยดังกล่าวไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม คดีย่อมไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง จำเลยชักชวนโจทก์ที่ 2 และ ส.เข้าร่วมลงทุนในบริษัทโจทก์ที่ 1 โดยจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น 6,000,000 บาท โจทก์ที่ 2 และ ส.ลงทุนคนละ 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยนำทรัพย์สินตีราคาเป็นทุน 6,000,000 บาทการเพิ่มทุนของโจทก์ที่ 1 มีการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน จำนวนกรรมการและอำนาจกรรมการที่จะลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ที่ 1เป็นเงิน 3,000,000 บาท แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงร่วมลงทุน หากโจทก์ที่ 1 ยังค้างชำระเงินให้แก่จำเลยเท่าใด จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ที่ 1 เป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติพิเศษเพิ่มทุน: การลงคะแนนเสียงและการถอนคำขอ
การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเรื่องการเพิ่มทุนของบรรษัทซึ่งต้องใช้มติพิเศษเมื่อที่ประชุมครั้งแรกลงคะแนนเสียงโดยวิธีชูมือ ผู้ถือหุ้นบางคนทักท้วงการลงคะแนนเสียงและขอให้ลงคะแนนลับ ประธานที่ประชุมไม่ได้แสดงว่าการลงคะแนนเสียงดังกล่าวเป็นมติที่ผ่านไปแล้วตามข้อบังคับของบรรษัท จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมเป็นเด็ดขาดการที่ประธานที่ประชุมให้มีการลงคะแนนเสียงด้วยวิธีชูมืออีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการถอนคำขอให้ลงคะแนนลับแล้ว ผลการประชุมปรากฏว่า มีผู้ถือหุ้นในที่ประชุมทั้งหมด 78 คน ออกเสียงอนุมัติการเพิ่มทุน 63 เสียง จึงเป็นการลงมติในที่ประชุมครั้งแรกด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจกรรมการในการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ และการละเมิดต่อผู้ถือหุ้นเดิม
ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่
มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้
มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุนของธนาคาร: ความขัดแย้งระหว่างมติกรรมการและผู้ถือหุ้นเดิม
ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กฎหมาย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสร่วมลงทุน การขายหุ้นโดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเป็นการฝ่าฝืน
มาตรา 24 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 เป็นบทบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้มิใช่เป็นเรื่องให้สิทธิธนาคารพาณิชย์ ที่จะเลือกปฏิบัติ การที่ธนาคารจำเลยขายหุ้นที่เพิ่มทุนโดยมิได้ออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนทราบและมีโอกาสเข้าซื้อหุ้น จึงมีความผิดตามมาตรา 26
โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้รับความเสียหาโดยตรงจากการที่จำเลยไม่ได้ออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนซื้อหุ้นที่ออกในการเพิ่มทุน โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องหรือร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้รับความเสียหาโดยตรงจากการที่จำเลยไม่ได้ออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนซื้อหุ้นที่ออกในการเพิ่มทุน โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องหรือร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ต้องออกหนังสือชี้ชวนเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสซื้อหุ้น มิฉะนั้นมีความผิดตามกฎหมาย
มาตรา 24 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 เป็นบทบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้มิใช่เป็นเรื่องให้สิทธิธนาคารพาณิชย์ ที่จะเลือกปฏิบัติ การที่ธนาคารจำเลยขายหุ้นที่เพิ่มทุนโดยมิได้ออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนทราบและมีโอกาสเข้าซื้อหุ้น จึงมีความผิดตามมาตรา 26 โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้รับความเสียหาโดยตรงจากการที่จำเลยไม่ได้ออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนซื้อหุ้นที่ออกในการเพิ่มทุน โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องหรือร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นเรื่องอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอน มติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติเมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากการเพิ่มทุน ไม่ถือเป็นกิจการธนาคารพาณิชย์
บริษัทโจทก์มิได้ให้กรรมการและผู้อื่นกู้ยืมเงินเป็นปกติ แต่ให้กรรมการและผู้อื่นกู้ยืมเงินทุกปีอันเนื่องมาจากการเพิ่มทุนโดยออกหุ้นใหม่เพียงคราวเดียวเท่านั้น โจทก์มิได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9144/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุน/ลดทุนโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี การประเมินภาษีที่ถูกต้อง และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ส. จากผู้ถือหุ้นเดิม ร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมด ราคาหุ้นละ 75 บาท โดยสินทรัพย์ รายได้ ต้นทุน และหนี้ส่วนใหญ่ของบริษัท ส. เกิดจากรายการบัญชีกับโจทก์ บริษัททั้งสองมีกรรมการส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกันและมีสถานประกอบการอยู่ที่เดียวกัน จากงบดุลของบริษัท ส. ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 ถึงปี 2542 พบว่าบริษัท ส. กู้ยืมเงินจากโจทก์ มีดอกเบี้ยค้างจ่ายจำนวนมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่โจทก์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ส. ทั้งหมดเพียงผู้เดียว ดังนี้
1. ปี 2542 บริษัท ส. จดทะเบียนลดทุนลง 97,000,000 บาท ต่อมาจดทะเบียนเพิ่มทุน 97,000,000 บาท โจทก์เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยแปลงหนี้ที่มีกับโจทก์เป็นทุน
2. ปี 2543 จดทะเบียนเพิ่มทุนอีก 87,000,000 บาท โจทก์เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดด้วยการชำระเงินสด 87,000,000 บาท สองเดือนต่อมาได้จดทะเบียนลดทุน 87,000,000 บาท
รายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. ที่อนุมัติให้เพิ่มทุนและลดทุนเป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันไม่ปรากฏเหตุผลว่าบริษัท ส. มีความจำเป็นในทางการค้าหรือแผนการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างไร โจทก์เป็นผู้รับรู้และยินยอมให้บริษัท ส. ดำเนินการดังกล่าว โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อราคาหุ้นที่โจทก์ได้ลงทุนไว้ การที่โจทก์ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมด การเพิ่มทุนและลดทุนในบริษัท ส. ย่อมเป็นการเพิ่มทุนและลดทุนเฉพาะในส่วนของโจทก์เกือบทั้งจำนวนทำให้ต้นทุนต่อหุ้นของเงินลงทุนในบริษัท ส. ของโจทก์สูงขึ้นจากราคาที่ซื้อมาราคาหุ้นละ 75 บาท เป็นราคาหุ้นละ 520.94 บาท เมื่อรอบระยะเวลาบัญชี 2546 โจทก์ขายหุ้นดังกล่าวให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันในราคาหุ้นละ 151 บาท ทำให้โจทก์ขาดทุนจากการขายเงินลงทุนในหุ้นดังกล่าว 22,510,855.26 บาท และนำเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ทั้งที่ภายหลังจากการเพิ่มทุนและลดทุนดังกล่าวว่า บริษัท ส. มีความสามารถในการทำกำไรหรือมีผลประกอบการดีขึ้นเรื่อย ๆ โจทก์ย่อมต้องหวังผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวในอนาคต แต่โจทก์กลับขายหุ้นดังกล่าว อันเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของการลงทุน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีเจตนาสร้างขั้นตอนการเพิ่มทุนและลดทุนในบริษัท ส. เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงที่จะให้ความช่วยเหลือในลักษณะเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือเพื่อให้เงินซื้อหุ้นเพิ่มที่บริษัท ส. ได้รับจากโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินหรือรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการซึ่งบริษัท ส. จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ส่วนโจทก์ก็เลี่ยงจากการให้เงินช่วยเหลือหรือเงินให้เปล่าแก่บริษัท ส. มาเป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อลดหนี้ของบริษัท ส. โดยนำเงินที่ได้เพิ่มทุนไปชำระหนี้ที่โจทก์เคยให้บริษัท ส. กู้ยืม ส่งผลให้โจทก์ไม่ต้องมีรายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ทั้งยังสามารถนำผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ดังนั้น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการขายเงินลงทุนในบริษัท ส. ให้บริษัท พ. จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)
1. ปี 2542 บริษัท ส. จดทะเบียนลดทุนลง 97,000,000 บาท ต่อมาจดทะเบียนเพิ่มทุน 97,000,000 บาท โจทก์เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยแปลงหนี้ที่มีกับโจทก์เป็นทุน
2. ปี 2543 จดทะเบียนเพิ่มทุนอีก 87,000,000 บาท โจทก์เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดด้วยการชำระเงินสด 87,000,000 บาท สองเดือนต่อมาได้จดทะเบียนลดทุน 87,000,000 บาท
รายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. ที่อนุมัติให้เพิ่มทุนและลดทุนเป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันไม่ปรากฏเหตุผลว่าบริษัท ส. มีความจำเป็นในทางการค้าหรือแผนการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างไร โจทก์เป็นผู้รับรู้และยินยอมให้บริษัท ส. ดำเนินการดังกล่าว โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อราคาหุ้นที่โจทก์ได้ลงทุนไว้ การที่โจทก์ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมด การเพิ่มทุนและลดทุนในบริษัท ส. ย่อมเป็นการเพิ่มทุนและลดทุนเฉพาะในส่วนของโจทก์เกือบทั้งจำนวนทำให้ต้นทุนต่อหุ้นของเงินลงทุนในบริษัท ส. ของโจทก์สูงขึ้นจากราคาที่ซื้อมาราคาหุ้นละ 75 บาท เป็นราคาหุ้นละ 520.94 บาท เมื่อรอบระยะเวลาบัญชี 2546 โจทก์ขายหุ้นดังกล่าวให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันในราคาหุ้นละ 151 บาท ทำให้โจทก์ขาดทุนจากการขายเงินลงทุนในหุ้นดังกล่าว 22,510,855.26 บาท และนำเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ทั้งที่ภายหลังจากการเพิ่มทุนและลดทุนดังกล่าวว่า บริษัท ส. มีความสามารถในการทำกำไรหรือมีผลประกอบการดีขึ้นเรื่อย ๆ โจทก์ย่อมต้องหวังผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวในอนาคต แต่โจทก์กลับขายหุ้นดังกล่าว อันเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของการลงทุน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีเจตนาสร้างขั้นตอนการเพิ่มทุนและลดทุนในบริษัท ส. เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงที่จะให้ความช่วยเหลือในลักษณะเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือเพื่อให้เงินซื้อหุ้นเพิ่มที่บริษัท ส. ได้รับจากโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินหรือรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการซึ่งบริษัท ส. จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ส่วนโจทก์ก็เลี่ยงจากการให้เงินช่วยเหลือหรือเงินให้เปล่าแก่บริษัท ส. มาเป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อลดหนี้ของบริษัท ส. โดยนำเงินที่ได้เพิ่มทุนไปชำระหนี้ที่โจทก์เคยให้บริษัท ส. กู้ยืม ส่งผลให้โจทก์ไม่ต้องมีรายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ทั้งยังสามารถนำผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ดังนั้น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการขายเงินลงทุนในบริษัท ส. ให้บริษัท พ. จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)