คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิ่มเติมคำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4675/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้อง: ขอบเขตและข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179
ป.วิ.พ. มาตรา 179 มิได้ห้ามการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมโดยการเพิ่มสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับหรือข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่อย่างใด คำว่า เพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ มิได้หมายความว่าคำฟ้องเดิมมีความบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ ซึ่งโจทก์อาจขอเพิ่มเติมคำฟ้องเพียงเพื่อให้คำฟ้องเดิมถูกต้องและสมบูรณ์ แต่มีความหมายเพียงว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่โจทก์ขอเพิ่มเติมจากคำฟ้องเดิมนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ แม้จะเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาขึ้นใหม่ต่างหากจากคำฟ้องเดิม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ถือเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตามมาตรา 179 (2) และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องเดิมและตามคำร้องขอแก้ไข คำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นภายหลังเกี่ยวเนื่องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกบุตรคืน – ผู้ใช้อำนาจปกครอง – การเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาพ้นกำหนด
บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร
จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย ย่อมไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องจำเลยขึ้นอยู่กับการเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก่อน การเพิ่มเติมคำฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยหลังฟ้องไม่อาจบังคับได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 หมายความว่า คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดเพราะตราบใดคำวินิจฉัยดังกล่าวยังไม่ถูกเพิกถอน ต้องถือว่าคำวินิจฉัยยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายดังนี้ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้เช่าไม่ฟ้อง คชก.จังหวัด เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์ซื้อที่ดินที่เช่าจากจำเลยทั้งสามในราคาไร่ละ 250,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินที่เช่าให้ขายให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยขอเพิ่มคำขอท้ายฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดด้วยนั้นเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับตามคำขอได้ ศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้องกรณีเคยต้องโทษจำคุกรอการลงโทษ ศาลต้องสอบถามจำเลยก่อนรับฟังการรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาลักทรัพย์ จำเลยให้การรับสารภาพระหว่างนัดฟังคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องโดยขอให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในในอีกคดีหนึ่งมาบวกด้วยศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและสำเนาคำร้องให้จำเลย แต่ไม่ปรากฏว่ามีการสอบถามจำเลยและส่งสำเนาคำร้องให้จำเลย ดังนี้ข้อที่จำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษและรอการลงโทษในอีกคดีหนึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่แยกได้ต่างหากจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความตามคำร้อง หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ยังไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลสอบจำเลยเพิ่มเติมหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการอย่างใดจนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วจะอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่ชอบหาได้ไม่ คดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584-1585/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้อง, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และอำนาจการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาล
แม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำแถลงโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์ไว้โดยตรง แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษาคดีในครั้งแรกจำเลยได้กล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยชัดแจ้งว่า จำเลยขอโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง เช่นนี้เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่และมีการดำเนินคดีต่อมาย่อมถือว่า จำเลยได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) แล้วจำเลยจึงหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาได้
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องในรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ ว่าที่ในสัญญาเช่าท้ายฟ้องระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 2622 นั้นผู้เขียนสัญญาเขียนผิดไปความจริงเป็นการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2662 ตามคำฟ้องเดิมนั้นเองมิใช่ที่ดินแปลงอื่นทั้งนี้เพื่อให้คำฟ้องเดิมของโจทก์มีความชัดแจ้งบริบูรณ์ขึ้นโจทก์ย่อมขอเพิ่มเติมได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้องขัดแย้งกับคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หรือไม่ และผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
เดิมโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทุจริตแสดงตัวเป็นโจทก์ขอรับโอนมรดกที่ดินแล้วโอนขายให้จำเลย ขอให้เพิกถอนการรับโอนมรดกและการซื้อขายภายหลังขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยทำสัญญายอมความ โดยจำเลยยอมโอนคืนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ชำระเงินที่ผู้อื่นเป็นลูกหนี้จำเลยให้จำเลย 200บาทเมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้ให้โจทก์แล้วจึงขอให้ศาลพิพากษาตามสัญญายอมความนี้ ถือว่าเป็นคนละลักษณะกับฟ้องเดิมคำขอบังคับก็ขัดกันเท่ากับขอเลิกฟ้องเดิมแล้วเอาใหม่ไม่ใช่เพิ่มเติมฟ้องกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งบัญญัติห้ามไว้ไม่ให้กระทำ ศาลชอบที่จะยกเสียตาม มาตรา 180โจทก์จะได้ไปฟ้องเป็นคดีใหม่
ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้โดยลงชื่อรับผิดไว้แก่เขาแต่ฝ่ายเดียวแล้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเขาย่อมฟ้องให้รับผิดตามสัญญาที่ตนลงลายมือชื่อไว้ได้ โดยไม่เป็นปัญหาว่าเขาได้ตั้งตัวแทนให้ทำสัญญากับจำเลยหรือไม่ ซึ่งต่อมาเขาได้รับรองสัญญานั้นแล้วด้วย
ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ถ้าศาลชั้นต้นไม่สั่งแต่มาในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นพิพากษาให้ แสดงว่าได้อนุญาตให้เพิ่มเติมคำฟ้องนี้ เรื่องได้ผ่านมาจนเช่นนี้และไม่มีฝ่ายใด ร้องฎีกาขึ้นมาจึงไม่สมควรที่ศาลฎีกาจะรื้อฟื้นแก้เป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์ขอดำเนินการทางสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะให้จำเลยรับผิดตามสัญญานั้น ไม่ติดใจที่จะเอาตามมูลคดีเดิมที่ฟ้องไว้ จำเลยไม่ได้ฎีกาเถียงสัญญานี้ว่าใช้ไม่ได้ด้วยประการใด เป็นแต่ว่าทนายโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญานั้น ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าทนายโจทก์ทำได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญานั้นหรือไม่จึงพิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้องอาญาที่ขาดรายละเอียดสถานที่เกิดเหตุ จำเลยยังไม่ได้หลงข้อต่อสู้
ฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุสถานที่เกิดเหตุ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมในวันเดียวกับที่จำเลยยื่นคำให้การ ยังไม่ทันลงมือสืบพะยาน โดยกล่าวว่าโจทก์พิมพ์ฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพราะความหลงลืม ดังนี้ ไม่มีเหตุจะว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในคดีเรื่องสถานที่เกิดเหตุแต่ประการใด โจทก์ย่อมขอเพิ่มเติมฟ้องได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2492

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้องที่ขาดรายละเอียดสถานที่เกิดเหตุ หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลอนุญาตได้
ฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุสถานที่เกิดเหตุ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในวันเดียวกับที่จำเลยยื่นคำให้การยังไม่ทันลงมือสืบพยาน โดยกล่าวว่าโจทก์พิมพ์ฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพราะความหลงลืม ดังนี้ ไม่มีเหตุจะว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในคดีเรื่องสถานที่เกิดเหตุแต่ประการใด โจทก์ย่อมขอเพิ่มเติมฟ้องได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่20/2492)