พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการประกอบกิจการโรงงานสร้างความเดือดร้อน – สิทธิในการเยียวยาและบังคับตามคำพิพากษา
จำเลยทั้งสองประกอบกิจการโรงงานส่งเสียงดังและมีการพ่นสีส่งกลิ่นเหม็นเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายแก่อนามัยและเดือดร้อนรำคาญอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 นอกจากนี้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป โดยไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนตามมาตรา 1337 อีกด้วย แต่จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของโรงงานย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอยโรงงานอันเป็นทรัพย์สินของตนได้ เพียงแต่ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น หากจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลที่ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเดือนร้อนรำคาญแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอให้บังคับคดีได้ ซึ่งย่อมทำให้ความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญระงับสิ้นลง การตั้งโรงงานของจำเลยแม้จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.โรงงานฯ แต่เป็นการกระทำผิดต่อรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองย้ายโรงงานไปอยู่ที่อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับขี่และการเยียวยาความเสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน โดยพิจารณาค่าเสียหายที่เหมาะสม
ขณะเกิดเหตุ เด็กชาย ด. บุตรโจทก์ขับรถจักรยานยนต์เปลี่ยนช่องเดินรถจากช่องเดินรถที่ 2 เป็นช่องเดินรถที่ 1 และอยู่ห่างจากสี่แยกประมาณ 30 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่รถจะเลี้ยวขวาจะต้องชิดทางด้านขวาสุดของทางเดินรถตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ หากจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถมาในช่องทางเดินรถที่ 1 ได้ชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงเหมือนกับรถคันอื่นก็จะไม่เกิดเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่แล่นอยู่ข้างหน้า เพราะสามารถหยุดรถได้ทัน หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ให้ความช่วยเหลือ ไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นพฤติการณ์ของผู้ที่รู้ว่าตนกระทำความผิดแล้วหลบหนีไป เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
ค่าขาดประโยชน์ที่มารดาของเด็กชาย ด. ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาเด็กชาย ด. มิใช่ค่าเสียหายที่เด็กชาย ด. พึงเรียกร้องได้ในกรณีที่มีผู้ทำละเมิดต่อเด็กชาย ด. ทำให้เด็กชาย ด. ได้รับความเสียหายแก่กายหรืออนามัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 444, 445 และ 446
ค่าขาดประโยชน์ที่มารดาของเด็กชาย ด. ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาเด็กชาย ด. มิใช่ค่าเสียหายที่เด็กชาย ด. พึงเรียกร้องได้ในกรณีที่มีผู้ทำละเมิดต่อเด็กชาย ด. ทำให้เด็กชาย ด. ได้รับความเสียหายแก่กายหรืออนามัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 444, 445 และ 446
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งเยียวยาการเลิกจ้าง: ลูกจ้างเลือกรับค่าชดเชยจากพนักงานตรวจแรงงาน สละสิทธิจากคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาแก่ลูกจ้างไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายคนละฉบับแต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องได้ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างจึงยื่นคำร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในส่วนให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อีก
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างจึงยื่นคำร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในส่วนให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5751/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ การเยียวยาความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ รวมถึงค่าทดแทนความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 9 มีหน้าที่ขนส่งผู้โดยสารเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางตามที่ตกลงไว้กับผู้โดยสาร เมื่อไม่สามารถส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นต่อไปได้ เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้า จำเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง อันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 608, 609 และ พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 9 (7) จำเลยที่ 9 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยสารทางรถยนต์รับขนถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟของจำเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและบุคคลภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทำแทนจำเลยที่ 9 นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 จึงอยู่ในฐานะตัวการและตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิด จำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาล หรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากสภาพทางร่างกายและอาการของโจทก์ ซึ่งต้อง ผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี และต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของ บาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต ทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวาดังนี้ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ที่โจทก์ชอบจะเรียกร้องได้
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิด จำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาล หรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากสภาพทางร่างกายและอาการของโจทก์ ซึ่งต้อง ผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี และต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของ บาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต ทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวาดังนี้ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ที่โจทก์ชอบจะเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้เสพยาเสพติด: หลักนิติธรรมและการเยียวยามากกว่าการลงโทษก่อนก่ออาชญากรรม
ในกรณีเป็นผู้เสพยาเสพติดนั้น ย่อมเกิดผลร้ายแก่ตัวผู้เสพซึ่งพึงต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขเป็นเบื้องต้นส่วนปัญหาที่โจทก์อ้างว่าเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมนั้นเป็นเพียงแนวโน้มซึ่งมิได้เป็นจริงทุกกรณี ตราบใดที่ผู้เสพติดยังมิได้กระทำการใดขึ้นเป็นการก่ออาชญากรรมการลงโทษรุนแรงไว้ก่อนย่อมเป็นดังการลงโทษล่วงหน้าสำหรับความผิดที่ยังมิได้เกิด เป็นการลงโทษที่ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นนโยบายการป้องกันที่ผิดและสร้างปัญหาให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงแห่งคดีไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำที่เป็นส่วนแห่งการก่ออาชญากรรม หรือมีส่วนสนับสนุนแพร่กระจายยาเสพติด เหตุผลต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างในฎีกาจึงเป็นการสรุปที่ให้ผลร้ายแก่จำเลยที่ เกินเหตุไม่อาจรับฟังเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลล่างทั้งสอง ที่ให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน และการจ่ายเงินเยียวยาโดยไม่มีผลบังคับ
พ.และ ค.ลูกจ้างของจำเลยที่ 4 และที่ 5 นำรถยนต์กระบะของนายจ้างออกไปนอกสถานที่ทำการจนกระทั่งถึงที่เกิดเหตุรถชนกัน โดยก่อนเกิดเหตุ1 วัน พ.ได้ขอยืมรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจากหัวหน้าช่างของจำเลยที่ 4 ออกไปข้างนอกเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวรับประทาน การรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพให้มีชีวิตอยู่มีกำลังในการทำงาน ถึงแม้จำเลยที่ 4 มีระเบียบว่า เมื่อเลิกงานแล้วคนงานจะออกไปจากที่ก่อสร้างไม่ได้และผู้มีหน้าที่ขับและเก็บรักษารถจะนำรถไปใช้หลังจากเลิกงานแล้วไม่ได้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่ 4กับพนักงาน การที่ พ.กับพวกซื้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ จึงได้ไปรับประทานอาหารในเขตจังหวัด 1 ชั่วโมง ต่อจากนั้นจึงได้พากันไปที่บ้าน ว. ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง60 กิโลเมตร จึงยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบของการอนุญาตของหัวหน้าช่างผู้มีสิทธิอนุญาตให้นำรถไปใช้แทนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นนายจ้าง อันถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมรู้เห็นในการให้ พ.นำรถออกไปใช้ดังกล่าวด้วย การที่ พ.นำรถออกไปใช้ดังกล่าวเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 5 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดอันเกิดจากการนำรถไปกระทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย
โจทก์ได้จ่ายเงินให้บิดามารดาของผู้ตายไปคนละ 3,000 บาทรวม 6,000 บาท เป็นการจ่ายให้ไปเพื่อมนุษยธรรม จึงเป็นเรื่องการจ่ายให้เปล่าไม่ต้องการผลตอบแทน กรณีจึงเป็นเรื่องให้โดยเสน่หาของโจทก์เองมิใช่เป็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินในส่วนนี้จากผู้กระทำละเมิด
โจทก์ได้จ่ายเงินให้บิดามารดาของผู้ตายไปคนละ 3,000 บาทรวม 6,000 บาท เป็นการจ่ายให้ไปเพื่อมนุษยธรรม จึงเป็นเรื่องการจ่ายให้เปล่าไม่ต้องการผลตอบแทน กรณีจึงเป็นเรื่องให้โดยเสน่หาของโจทก์เองมิใช่เป็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินในส่วนนี้จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งเยียวยาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ไม่ขอรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยถ้าปรากฏต่อศาลแรงงานว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายใดไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่เคยได้รับในขณะที่ถูกเลิกจ้างแต่ ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานก็มีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทน การรับกลับเข้าทำงานและตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอนในการที่ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้ การที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวในเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างอาจทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไปได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปด้วยนั้น หาใช่เป็นเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์พอใจในการที่ถูกเลิกจ้างแล้วและจะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งเยียวยาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ไม่ขอรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยถ้าปรากฏต่อศาลแรงงานว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายใดไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่เคยได้รับในขณะที่ถูกเลิกจ้างแต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานก็มีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทนการรับกลับเข้าทำงานและตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอนในการที่ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้ การที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวในเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างอาจทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไปได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปด้วยนั้น หาใช่เป็นเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์พอใจในการที่ถูกเลิกจ้างแล้วและจะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขคุมความประพฤติในการเยียวยาโจทก์ต้องชัดเจนและเป็นไปได้ กรณีคดีเช็ค
จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (2) และ (5) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้รอการกำหนดโทษและคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้ มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วม โดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลารอการกำหนดโทษ โดยให้ชำระทุก 3 เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไป โดยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นหรือโดยวิธีการที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคสอง (10) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ระบุว่าจำนวนยอดหนี้ตามเช็คพิพาทที่ค้างชำระอยู่เป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นการยากที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ ทั้งจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งมาโดยตลอดว่าได้มีการชำระหนี้เงินต้นบางส่วนแก่โจทก์ร่วมแล้ว โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมหลายครั้งตามเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 แม้ศาลล่างทั้งสองจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ต้นเงิน แต่จำนวนยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ร่วมมีเพียงใดนั้น โจทก์ร่วมจะต้องไปฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งต่างหาก ซึ่งในการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีนี้อันเป็นคดีอาญา เนื่องจากการฟ้องร้องคดีแพ่งดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 แต่อย่างใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คดีแพ่งดังกล่าวมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับบัญญัติมาตรา 46 แห่ง ป.วิ.อ. การกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติในการเยียวยาโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นไปตามควรแก่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2047/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเยียวยาค่าปรับจากการดำเนินคดีรถยนต์ผิดกฎหมาย: การคืนเงินค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยและรถยนต์
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 8 วรรคสอง กำหนดให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย แม้ตามคําร้องของจำเลยทั้งสองขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ มีคําขอท้ายคําร้องเพียงว่าขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่และพิพากษายกฟ้อง มิได้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องนี้ด้วย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้รับคําร้องของจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจึงเพิ่งยื่นคําร้องขอเงินค่าปรับคืนจากศาลพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็พออนุโลมได้ว่า จำเลยทั้งสองประสงค์จะขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนดังกล่าวและระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว และตามมาตรา 14 (2) ตอนแรกที่บัญญัติว่า "ถ้าต้องรับโทษปรับและได้ชําระค่าปรับต่อศาลแล้ว ให้ได้รับเงินค่าปรับคืน..." เป็นการบังคับว่าต้องให้ได้รับเงินค่าปรับคืน จะใช้ดุลพินิจไม่ให้ได้รับเงินค่าปรับคืนไม่ได้ ส่วนตอนท้ายที่บัญญัติว่า "…โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับ จนถึงวันที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้" เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสํานวนว่าสมควรจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ หาใช่ว่าศาลต้องคิดดอกเบี้ยให้โดยศาลคงใช้ดุลพินิจคิดดอกเบี้ยให้เพียงถึงวันใดเท่านั้น
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย