พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีที่ได้รับคืนไปโดยไม่มีสิทธิ: ลาภมิควรได้และอายุความ 1 ปี
จำเลยเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายน้ำมัน เมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันเพื่อเติมแก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว จำเลยย่อมขอรับคืนค่าภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต มาตรา 102 (4) ต่อมาปรากฏว่า แท้จริงมิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไป แม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน การรับเงินภาษีดังกล่าวคืนจึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905-4927/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยโดยไม่ชอบตามกฎหมายและอายุความการฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจรับโอนจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างประจำฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ มาเป็นพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 ต่อมาโจทก์ออกข้อบังคับสถาบันการบินพลเรือนว่าด้วยสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชยของพนักงาน พ.ศ. 2539 ให้มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่จำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยมีบทเฉพาะกาลว่าพนักงานที่รับโอนมาจากกรมการบินพาณิชย์ เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยโดยนับระยะเวลาการทำงานต่อเนื่อง การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยที่ครบเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายน 2536 โดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิได้รับตามข้อบังคับข้างต้นซึ่งโจทก์เชื่อว่าเป็นระเบียบข้อบังคับที่ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งที่แท้จริงแล้วจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเพราะการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 ไม่มีผลใช้บังคับ จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับค่าชดเชยเนื่องจากโจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงเป็นการได้รับมาในฐานลาภมิควรได้ ไม่ใช่กรณีจำเลยยึดถือค่าชดเชยไว้โดยไม่มีสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิติดตามเอาค่าชดเชยคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกเอาค่าชดเชยคืนจากจำเลยได้ตามมาตรา 406 โดยโจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตามมาตรา 419 เมื่อผู้ว่าการของโจทก์ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รับทราบหนังสือกระทรวงการคลังในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 แจ้งว่าข้อบังคับสถาบันการบินพลเรือนฉบับข้างต้นประกาศใช้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 ไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้รับ ถือได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเอาค่าชดเชยคืนจากจำเลยตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย แม้เป็นโมฆะ แต่การชำระโดยสมัครใจไม่อาจเรียกคืนหรือหักชำระหนี้ได้
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 200,000 บาท โดยตกลงคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน จำเลยได้ชำระ ดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้โจทก์ไปแล้ว 80,000 บาท แม้การกระทำของโจทก์ที่คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 อันมีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อจำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยความสมัครใจตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้ จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407, 411 จำเลยจะเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวคืน หรือนำมาหักชำระต้นเงิน 200,000 บาท หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่การยกให้ สิทธิในการฟ้องเรียกคืนการให้จึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์กับ ช. เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช. ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิ ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่ง เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช. ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรม ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ 1 ปี สัญญาขนส่ง: ไม่ครอบคลุมกรณีเรียกคืนสินค้าที่ยังไม่สูญหาย/บุบสลาย
อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 ใช้บังคับแก่ความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าเนื่องจากการขนส่งอันเป็นความรับผิดตามสัญญาขนส่ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าของโจทก์ส่งไปถึงสำนักงานของจำเลยที่กรุงเทพ แต่ติดต่อผู้รับสินค้าไม่ได้จึงเก็บสินค้าของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน 1 ปี หลังจากนั้นได้ส่งสินค้าไปที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยซึ่งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต แสดงว่าสินค้าของโจทก์มิได้สูญหายหรือบุบบสลายอันเนื่องมาจากการขนส่ง เมื่อผู้รับสินค้าแจ้งว่าไม่ได้รับสินค้าจากจำเลย โจทก์ได้ให้พนักงานติดตามสินค้าไปยังจำเลย จำเลยรับจะตรวจสอบสินค้าให้ เมื่อไม่ได้สินค้าคืนจึงฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยส่งมอบสินค้าคืน ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา โจทก์หาได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนมัดจำสินค้าชำรุด: อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ป.พ.พ.มาตรา 193/34 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องชำรุดบกพร่องไว้ ทั้งฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องเรียกมัดจำคืนเพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการเป็นธุระจัดหาสินค้าดินสอสีรายพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน แต่จำเลยส่งมอบสินค้าไม่มีคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าคืนแล้ว อันถือได้ว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ กรณีต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา378 (3) หาใช่เรื่องฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไม่ ฉะนั้นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ามัดจำค่าสินค้าหรือเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าบางส่วนคืนนี้เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกใหม่ในการเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ที่เคยเป็นผู้จัดการมรดกเดิม
แม้ทรัพย์มรดกของ จ.เคยมี ห.เป็นผู้จัดการมรดกและได้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของ จ.ไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็ตาม แต่ ห.ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ต่อมาเมื่อศาลได้ตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในอันที่จะต้องจัดการทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาโฉนดที่ดินมรดกจากจำเลยได้เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย จำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยึดถือเอาโฉนดที่ดินมรดกไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ การริบเงินมัดจำไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์จองซื้อห้องชุดเป็นจำนวนมากถึง38ห้องมีราคาทั้งสิ้นถึง15,124,000บาทในลักษณะทำมาหาประโยชน์ทางธุรกิจโจทก์ย่อมจะต้องเสนอเงื่อนไขต่างๆเพื่อรักษาสิทธิของตนให้จำเลยเห็นชอบเสียก่อนโจทก์จึงจะลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปได้เมื่อมีรายละเอียดของข้อความแห่งสัญญาที่โจทก์ยังตกลงกับจำเลยไม่ได้หลายข้อดังกล่าวแล้วซึ่งโจทก์แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญและโจทก์จำเลยมีความประสงค์ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันต่อไปอีกแต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ตกลงกันให้ถูกต้องเรียบร้อยทุกข้อและยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาจึงไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดตามความต้องการของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวที่จำเลยริบเงินมัดจำจองห้องชุดที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกคืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7076/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ คดีไม่มีกฎหมายกำหนดเฉพาะ ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกให้ อ. อ.ตกลงว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในความอารักขาแล้วจะคืนให้โจทก์ หากเสียหายจะชดใช้ราคาให้เมื่อข้าวเปลือกที่ฝากขาดหายไป และผู้ฝากได้ฟ้องเรียกราคาข้าวเปลือกคืนจากผู้รับฝากเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนทรัพย์ฝากไม่ขาดอายุความ ตราบเท่าที่ทรัพย์ยังเป็นของเจ้าของ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นการใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่ฝาก โจทก์ก็มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ที่ฝากยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ