พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยระบุเนื้อที่รวม การส่งมอบที่ดินน้อยกว่าสัญญา และการเรียกคืนเงินส่วนต่าง
หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)3 แปลง(น.ส.3)1 แปลง แม้ไม่ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลง แต่ก็ระบุจำนวนเนื้อที่รวมซึ่งเป็นผลบวกของเนื้อที่ดินทั้งสี่แปลง ต่อมามีการโอนสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก. 3 แปลง ส่วนที่ดินตาม น.ส. 3 ไม่ได้โอนสิทธิครอบครองกันเนื่องจากที่ดินไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันจึงมีการเปลี่ยนที่ดิน โดยนำที่ดินที่ติดต่อกับที่ดิน 3 แปลงข้างต้นมาซื้อขายกัน และคิดราคาที่ดินคำนวณเป็นราคาตารางวา โดยผู้ขายต้องใช้เงินคืนแก่ผู้ซื้อเพราะที่ดินแปลงใหม่มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ดินแปลงเดิม ซึ่งราคาที่ดินที่ใช้คืนคำนวณแล้วก็ตรงกับราคาที่ตกลงซื้อขายกันแต่แรก แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยว่าการซื้อขายที่ดินดังกล่าวถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ มิใช่เป็นการขายเหมา เมื่อจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยไปกว่าที่ตกลงกันไว้โดยโจทก์มิได้บอกปัดแต่รับเอาที่ดินไว้และใช้ราคาที่ดินตามส่วนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยเกินไปบางส่วนแล้วมาฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันและจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
จำเลยให้การเพียงว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องและไม่เข้ากฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ กับคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความในเรื่องใด อายุความมีกำหนดเท่าใด ซึ่งเริ่ม นับแต่เมื่อใดและเพราะเหตุใด ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องอายุความ
จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่หายไป เมื่อมีข้อสงสัยว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนั้นขาดจำนวนไป 397 ตารางวาหรือ 297 ตารางวา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ก็คือจำเลยผู้ขายนั่นเอง เพราะมูลหนี้ที่ต้องเสียในคดีนี้เป็นการชำระเงินคืนแก่โจทก์ผู้ซื้อ
จำเลยให้การเพียงว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องและไม่เข้ากฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ กับคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความในเรื่องใด อายุความมีกำหนดเท่าใด ซึ่งเริ่ม นับแต่เมื่อใดและเพราะเหตุใด ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องอายุความ
จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่หายไป เมื่อมีข้อสงสัยว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนั้นขาดจำนวนไป 397 ตารางวาหรือ 297 ตารางวา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ก็คือจำเลยผู้ขายนั่นเอง เพราะมูลหนี้ที่ต้องเสียในคดีนี้เป็นการชำระเงินคืนแก่โจทก์ผู้ซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนลงทุนซื้อที่ดินผิดสัญญา ศาลอนุญาตฟ้องเรียกเงินลงทุนคืนได้ แม้มีข้อตกลงห้ามเรียกคืน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อที่ดินมาค้าหากำไรโดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อซื้อที่ดินมาแล้วหุ้นส่วนทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นร่วมกัน และหุ้นส่วนทุกฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่มีการเรียก เงินลงทุนคืนระหว่างดำเนินการ ต่อมาเมื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว แต่กลับใส่ชื่อจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 แทนที่โจทก์ แล้วนำที่ดินแปลงดังกล่าวจำนอง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระเงินลงหุ้นให้ครบและไม่ยอมจำนองที่ดินพิพาท เท่ากับเป็นการปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินลงหุ้นหรือเงินลงทุนคืนได้
กิจการของหุ้นส่วนในคดีนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงทุนเพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งมาค้าหากำไร ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินลงหุ้นและไม่ปรากฏหนี้สินแต่อย่างใด การที่จะให้ไปดำเนินการฟ้องขอให้ เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย ศาลย่อมพิพากษาให้คืนเงินลงหุ้นไปได้เลย
กิจการของหุ้นส่วนในคดีนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงทุนเพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งมาค้าหากำไร ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินลงหุ้นและไม่ปรากฏหนี้สินแต่อย่างใด การที่จะให้ไปดำเนินการฟ้องขอให้ เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย ศาลย่อมพิพากษาให้คืนเงินลงหุ้นไปได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับบำนาญและผลกระทบจากการกลับเข้ารับราชการใหม่ รวมถึงหน้าที่แจ้งข้อมูลและการเรียกคืนเงิน
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือนที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน290 บาท และสำหรับเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญที่จำเลยรับไปจากโจทก์ระหว่างวันที่ออกจากราชการนั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกตาม พ.ร.ฏ.ช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2523
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกคืนเงินค่าสินค้าผิดพลาด: ไม่ใช่ความรับผิดชำรุดบกพร่อง แต่เป็นเรื่องไม่ชำระหนี้ตามสัญญา
การเรียกคืนเงินส่วนที่ชำระเกินในกรณีโจทก์ส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ หาใช่เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องซึ่งมีอายุความ 1 ปี ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะอายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะจาก พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ และอายุความการเรียกคืนเงิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ ข้อที่ว่าโจทก์รู้หรือไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกัน แต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่น จึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่น ดังนั้น เงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืน เมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง
ที่พิพาทราคา 250,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน 410,000 บาท จึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกัน แต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่น จึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่น ดังนั้น เงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืน เมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง
ที่พิพาทราคา 250,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน 410,000 บาท จึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8108/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินที่ชำระไป
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3)และตามมาตรา 1305 บัญญัติไว้ว่าจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกา จึงไม่อาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับ อ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้น สามารถซื้อขายและโอนกันได้โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณ-สมบัติของแผ่นดินซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และ อ.เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 119 เดิม ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ ขึ้น คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกันนั่นเอง จึงไม่มีกรณีการรอนสิทธิและการส่งมอบทรัพย์สินขาดตก-บกพร่อง แต่อย่างไรก็ตามเงินราคาที่ดินพิพาทที่ อ.รับไปจากโจทก์ทั้งสองเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของอ.จึงต้องคืนเงินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะแล้วถือเสมือนไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากฝ่ายจำเลยโดยอ้างผลแห่งการผิดสัญญา
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะแล้วถือเสมือนไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากฝ่ายจำเลยโดยอ้างผลแห่งการผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8108/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินที่ชำระไป
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) และตามมาตรา1305 บัญญัติไว้ว่าจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกา จึงไม่อาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับ อ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้น สามารถซื้อขายและโอนกันได้โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และ อ. เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิมย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ ขึ้น คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกันนั่นเอง จึงไม่มีกรณีการรอนสิทธิและการส่งมอบทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง แต่อย่างไรก็ตามเงินราคาที่ดินพิพาทที่ อ.รับไปจากโจทก์ทั้งสองเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ อ.จึงต้องคืนเงินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะแล้วถือเสมือนไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากฝ่ายจำเลยโดยอ้างผลแห่งการผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากสัญญาซื้อขายที่ไม่สุจริต
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 419 ว่า ในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน 1 ปี แล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น หรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน 1 ปี แต่ก็พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกัน โจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3 ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรก การกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญา-ซื้อขาย คือวันที่ 15 มกราคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535จึงพ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การฟ้องเรียกคืนเงินที่ถูกละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ
โจทก์มิได้ บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ยึดถือทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิอันจะเป็นเหตุให้โจทก์สามารถใช้ สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438วรรคสอง,1336แต่กลับบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนที่ราชการกำหนดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำนวน310,670.20บาทและจำเลยต้องรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์จึงไม่ใช่การฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนซึ่งไม่มีกำหนดเวลาเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในการ ละเมิดตามมาตรา420ซึ่งอยู่ในบังคับ อายุความ1ปีตามมาตรา448วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6543/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ตัวแทนสมบูรณ์ & สิทธิเรียกคืนเงินค้ำประกัน - โจทก์ไม่อาจบอกเลิกได้เมื่อตัวแทนปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง
จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนในการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์ในชื่อโจทก์ถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบอกเลิกสำหรับการที่จำเลยได้ทำแทนแล้วเสร็จ สมบูรณ์ นั้นได้อีก