คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เรียกคู่ความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความ: หลักเกณฑ์การใช้สิทธิไล่เบี้ยและผลกระทบต่อความรับผิด
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุผลว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยทั้งสองนั้นได้ความว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ผ. ต่อมาบริษัท ผ. ได้สลักหลังโอนให้โจทก์ ดังนั้นหากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท ผ. ผู้สลักหลังได้ กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคู่ความเข้ามาในคดี: เหตุผลความจำเป็นต้องแสดงความสัมพันธ์ทางสิทธิและการใช้สิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนอาคารพาณิชย์พร้อมสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา และยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ตามคำร้องระบุเพียงว่าจำเลยให้การว่าวัดเจ้าของที่ดินมอบสิทธิการเช่าที่ดินและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แก่จำเลยร่วม กรณีไม่สามารถทราบได้ชัดแจ้งว่าเจ้าของที่ดินมอบสิทธิให้แก่ผู้ใด จึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าโจทก์อาจฟ้องหรือถูกจำเลยร่วมฟ้องได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าศาลพิจารณาให้จำเลยร่วมแพ้คดี เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดตัวและการเรียกคู่ความเพิ่มเติม: ศาลไม่อนุญาตเรียกจำเลยร่วมเมื่อไม่มีนิติสัมพันธ์กัน และควรฟ้องคดีใหม่
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์นั่ง ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าของรถยนต์บรรทุกและเป็นนายจ้างของ ส. และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุก โดยมิได้ฟ้อง ส. คนขับรถยนต์บรรทุกผู้กระทำละเมิด ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์เพิ่งเทราบว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและเป็นนายจ้างของ ส. จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนี้ จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องเดิมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน รูปคดีเป็นเรื่องฟ้องผิดตัว โจทก์จะขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 (3) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกบุคคลภายนอกเป็นคู่ความต้องแสดงเหตุผลความล่าช้า หากไม่ทำ ศาลย่อมยกคำร้องได้
การยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความภายหลังยื่นฟ้องหรือคำให้การแล้ว จำต้องชี้แจงเหตุผลประกอบให้ปรากฏด้วยว่าเหตุใดจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอหมายเรียกเสียเมื่อแรกยื่นฟ้อง ทั้งนี้ เพื่อศาลจะได้พิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะให้ออกหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความด้วยหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นโจทก์ด้วย โดยอ้างแต่เหตุเพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของตนแต่ประการเดียว ส่วนเหตุผลที่มายื่นคำร้องล่วงเลยล่าช้า ไม่ได้กล่าวอ้างไว้เลย เช่นนี้ ศาลก็ต้องสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้นเสีย (อ้างฎีกาที่ 706/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกคู่ความแทนที่จำเลยเสียชีวิตและการไม่ถือว่าทอดทิ้งคดีภายในกำหนดเวลา
จำเลยตายก่อนฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเรียกภรรยาจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนภายในกำหนด 1 ปี แต่ปรากฏว่าภรรยาจำเลยไม่ได้รับมฤดก เนื่องจากจำเลยทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่บุตรทั้งสิ้น โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุตรจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย แม้จะยื่นคำร้องตอนหลังนี้เกินกำหนด 1 ปี แล้วนับแต่จำเลยตายก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทอดทิ้งคดีของตนเสีย และจะถือว่าโจทก์ไม่มีคำขอภายใน 1 ปี ตามมาตรา 42 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคู่ความเข้าสู่คดี: ตัวแทนต้องแสดงเหตุผลการไล่เบี้ยจากตัวการจึงจะเรียกได้
ตามคำให้การและคำร้องที่ขอให้เรียก ย. ม. และบุคคลอื่นเข้ามาเป็นจำเลยร่วม จำเลยอ้างเพียงว่า เพื่อให้จำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นเพียงตัวแทนของ ย. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งที่แท้จริง โดยจำเลยไม่ได้แสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยอาจฟ้องหรือถูกบริษัทดังกล่าวฟ้องได้เพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน และไม่มีกฎหมายบังคับให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)
ที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่า หากศาลให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทนต่อโจทก์ จำเลยมีสิทธิไล่เบี้ยและได้รับค่าสินไหมทดแทนจาก ย. และ ม. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 นั้น เห็นว่า มาตราดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทนจัดทำกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตัวแทนและเป็นเหตุให้ตัวแทนต้องเสียหาย โดยมิใช่ความผิดของตัวแทน ตัวแทนเรียกค่าสินไหมทดแทนจากตัวการได้ แต่ตามคำให้การจำเลยมิได้จัดทำกิจการอันใดแทน ย. ที่จำเลยอ้างว่าเป็นตัวการ จึงเป็นการยกข้อกฎหมายไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคำให้การ แต่ยกขึ้นอ้างเพื่อให้เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิไล่เบี้ยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ข้างต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาท: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้โอนและการเรียกคู่ความเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุและเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ราชพัสดุดังกล่าวโดยซื้อมาจาก จ. เดิมจำเลยเป็นผู้เช่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจาก จ. แต่ จ. ยกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยสละสิทธิการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เดิมจำเลยกู้ยืมเงินจาก จ. มีสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่ จ. ตลอดมาจนประมาณเดือนมิถุนายน 2559 จำเลยขอชำระเงินต้นคืน แต่ จ. ไม่ยอมรับเงินและไม่ยอมไถ่ถอนหลักประกัน และนำสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทไปโอนต่อให้แก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่เคยผิดนัดตามสัญญากู้ยืมเงิน การกระทำของ จ. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ในฐานะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่างโจทก์กับ จ. ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ จึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เมื่อฟ้องแย้งจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอน และขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่าง จ. กับโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ จ. โต้แย้งสิทธิของจำเลยในการบังคับหลักประกันตามสัญญากู้ยืมเงินด้วย จึงเห็นสมควรเรียก จ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข)