พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน: สิทธิเรียกหนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัด และการหักเงินจากผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือน รวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนใด อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส.ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ส.ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส. หากไม่สามารถหักได้ส.มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่า ส.ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส.และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่ง ส.จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อ ส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส.ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส.ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินไม่มีกำหนดเวลาชำระ ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกหนี้ได้ทันที
การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 652 ก่อนจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ก่อนฟ้องแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการดูแลเช็ค ทำให้เกิดการปลอมลายมือชื่อและจำเลยมีสิทธิเรียกหนี้ได้
กรรมการของบริษัทโจทก์ได้มอบสมุดเช็คของบริษัทให้ ค. เก็บไว้กับให้ ค. เป็นผู้กรอกข้อความในเช็คมาให้กรรมการลงนามและทุกสิ้นเดือนธนาคารจำเลยจะส่งสำเนาการ์ด บัญชีให้โจทก์ตรวจสอบซึ่งหากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตรวจดู บ้าง โจทก์ย่อมจะทราบว่ามีการปลอมลายมือชื่อกรรมการของโจทก์ลงในเช็คของโจทก์ตั้งแต่ฉบับแรกไปถอนเงิน เพราะปกติโจทก์จะไม่สั่งจ่ายเช็คเงินสดจำนวนมากโจทก์จึงเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคแรกตอนท้าย จำเลยจึงมีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายตามเช็คทั้ง 8 ฉบับมาลงบัญชีของโจทก์ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และประเด็นการทวงถามหนี้
ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ไม่ขอพิสูจน์หนี้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้จากผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดร่วมกับลูกหนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งว่า ข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้องไม่เป็นประเด็น ให้งดสืบพยาน จำเลยโต้แย้งคำสั่งให้งดสืบพยานแต่ไม่โต้แย้ง คำสั่งที่ว่าไม่มีประเด็นเรื่องทวงถาม จำเลยอุทธรณ์เรื่องมีประเด็นว่า โจทก์ไม่ทวงถามไม่ได้
ศาลให้ผู้ค้ำประกันเสียค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ได้ มิใช่กรณีให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ต้องเสียไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684
ศาลชั้นต้นสั่งว่า ข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้องไม่เป็นประเด็น ให้งดสืบพยาน จำเลยโต้แย้งคำสั่งให้งดสืบพยานแต่ไม่โต้แย้ง คำสั่งที่ว่าไม่มีประเด็นเรื่องทวงถาม จำเลยอุทธรณ์เรื่องมีประเด็นว่า โจทก์ไม่ทวงถามไม่ได้
ศาลให้ผู้ค้ำประกันเสียค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ได้ มิใช่กรณีให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ต้องเสียไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกหนี้เมื่อใดก็ได้ การค้ำประกันจึงไม่ผูกพันเมื่อไม่มีกำหนดเวลา
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้. และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น. เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94.
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น. จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่.
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700. แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่.
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย. แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่.และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท. โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้. ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาทที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน. ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329. แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น. ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่.
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์.แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7.
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น. จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่.
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700. แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่.
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย. แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่.และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท. โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้. ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาทที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน. ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329. แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น. ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่.
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์.แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโกงเจ้าหนี้ (ม.350) ต้องมีการใช้สิทธิทางศาลเรียกหนี้แล้ว หรือกำลังดำเนินการ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 นั้น เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิทางศาลให้ชำระหนี้แล้วอย่างหนึ่ง หรือว่าจะใช้สิทธิทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้อีกอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ฉะนั้น เมื่อเจ้าหนี้ยังไม่ได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง หรือการที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญาก็เพียงเพื่อให้ลูกหนี้หาประกันมาให้เจ้าหนี้เป็นที่พอใจแล้วจะไม่เอาเรื่องแก่ลูกหนี้ อันเป็นการแสดงว่าเจ้าหนี้ยังจะไม่ใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว การที่ลูกหนี้โอนที่ดินให้ผู้อื่นไป จึงยังไม่ผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ร่วมเรียกหนี้ได้เต็มจำนวน แม้มีผู้ตาย สัญญาซื้อขายไม่ต้องทำเป็นหนังสือก็ได้
เมื่อสัญญาจะซื้อขายในคดีนี้มีลักษณะเป็นหนี้อันจะแบ่งชำระมิได้และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ร่วม โจทก์คนใดคนหนึ่งก็อาจเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชำระโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 298 แม้ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ที่ 2 ตาย ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 จนเต็มจำนวนได้ ส่วนใครจะได้รับส่วนแบ่งของโจทก์ที่ 2 ที่โจทก์ที่ 1 ได้รับไปนั้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้ว สัญญานั้นก็บังคับกันได้
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้ว สัญญานั้นก็บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ร่วมเรียกหนี้ได้เต็มจำนวน แม้มีเจ้าหนี้ร่วมเสียชีวิต สัญญาซื้อขายไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อสัญญาจะซื้อขายในคดีนี้มีลักษณะเป็นหนี้อันจะแบ่งชำระมิได้ และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ร่วมโจทก์คนใดคนหนึ่งก็อาจเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชำระโดยสิ้นเชิงได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 แม้ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ที่ 2 ตายศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 จนเต็มจำนวนได้ ส่วนใครจะได้รับส่วนแบ่งของโจทก์ที่ 2 ที่โจทก์ที่ 1 ได้รับไปนั้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้วสัญญานั้นก็บังคับกันได้
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้วสัญญานั้นก็บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนกู้ยืมเงินและการฟ้องเรียกหนี้แทนตัวการ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ไม่ทำให้เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นตัวแทนมารดาโจทก์จำเลยไปกู้เงิน ต่อมามารดาตายจำเลยรับมรดกนาไปเสียคนเดียว เป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้หนี้เงินกู้นั้นแทนกองมรดก-ไปขอให้จำเลยใช้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่ตัวแทนฟ้องเรียกเงินที่ต้องชำระหนี้แทนตัวการไปโจทก์มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้จากการจ่ายเช็คสูญหาย ไม่เข้าอายุความ มาตรา 1002
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ แต่เช็คฉบับนั้นหายขอให้จำเลยชำระใหม่ดังนี้ คดีปรับเข้ามาตรา 1002 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ และคดีนี้โจทก์ฟ้องภายหลังออกเช็ค 1 ปี 3 เดือน คดีไม่มีประเด็นว่าหนี้เดิมเป็นหนี้อะไร จะถือว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1002 ไม่ได้