คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เรียกเก็บภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยทำเอกสารปลอมทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้ โจทก์ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหายได้
การที่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บค่าภาษีอากรเนื่องมาจากโจทก์หลงเชื่อว่าบริษัท ส. จำกัด ได้ส่งผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ตามเอกสารที่จำเลยเป็นผู้ทำปลอมและเท็จขึ้น แม้ต่อมาโจทก์ตรวจสอบพบว่าบริษัทดังกล่าวปฏิบัติผิดเงื่อนไข เป็นผลให้โจทก์สามารถเรียกเก็บภาษีอากรจากบริษัทดังกล่าวได้หรือสิทธิในการเรียกเก็บภาษีอากรของโจทก์จากบริษัทดังกล่าวยังมิได้หมดสิ้นไป แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์แจ้งให้บริษัทดังกล่าวนำเงินค่าภาษีอากรมาชำระ แต่บริษัทดังกล่าวเพิกเฉยซึ่งจำเลยก็ไม่นำสืบให้เห็นได้ว่าโจทก์สามารถเรียกเก็บภาษีจากบริษัทดังกล่าวหรือจากธนาคารที่ออกหนังสือค้ำประกันแทนการชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวได้ การที่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีอากรดังกล่าวได้จึงมีผลมาจากการกระทำโดยจงใจของจำเลยโดยตรงที่กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายและทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: คดีเพิกถอนการประเมินภาษีค้างพิจารณา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเก็บภาษี
โจทก์โดยเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระภาษีให้โจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จึงฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามที่มีการประเมินไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมิน อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตรวจสอบหลักฐานประกอบการขออนุญาตขนส่งถูกต้อง การเรียกเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังไม่ชอบ
รถยนต์โดยสารของโจทก์มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เปลี่ยนสี ไม่มีหมายเลขตัวถังรถ ไม่ปรากฎเลขแชชชีเดิมประกอบกับรายละเอียดน้ำหนักรถและจำนวนที่นั่งผู้โดยสารในใบคู่มือ จดทะเบียนรถยนต์กับใบรับรองการตรวจสภาพรถแตกต่างกันมาก กองวิศวกรรมการขนส่งของจำเลยที่ 4จึงออกหมายเลขตัวถังรถให้ใหม่และหมายเหตุเรื่องการเปลี่ยนแปลงไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ ต่อมาโจทก์ขอชำระภาษีรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวที่กรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่อันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นพร้อมกับคำขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลของโจทก์ จึงมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการอันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆเหล่านั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการทำหลักฐานทางทะเบียนปลอมหรือมีการนำรถซึ่งได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาขอรับใบอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร ประกอบกับความจำเป็นในการตรวจสอบหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีข้อที่น่าสงสัยหลายประการ อันเป็นการจำเป็นที่จำเลยต้องใช้เวลาในการตรวจสอบไปยังหน่วยราชการอื่น ๆ หลายแห่งเป็นเวลานานพอสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 เป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และได้กระทำไปไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ มาตรา 167 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯมีความหมายแต่เพียงว่า รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้ว และยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เท่านั้น ไม่มีข้อความให้อำนาจจำเลยที่ 4เรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้เลย ที่จำเลยที่ 4 เรียกเก็บภาษีรถยนต์ของโจทก์ที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ก่อนที่โจทก์จะนำรถมาจดทะเบียนต่อจำเลยที่ 4 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนประกอบการขนส่งและขอชำระภาษีเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกักของของศุลกากรเพื่อเรียกเก็บภาษีค้างชำระ แม้ไม่ใช่สินค้าเดียวกัน
มาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจกักของในกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกค้างชำระค่าอากรเพื่อประโยชน์ในอันที่จะจัดเก็บภาษีอากรได้รวดเร็วสมความมุ่งหมาย แม้จะไม่ใช่สินค้ารายเดียวกันกับที่ยังค้างชำระค่าอากรอยู่ก็ตามดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บเพิ่มสำหรับสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาครั้งก่อนและรับของไปแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมชำระ จำเลยจึงไม่ยอมรับตรวจสอบรับรองตามระเบียบพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้ารายใหม่ที่โจทก์นำเข้า เพื่อโจทก์จะได้เสียภาษีอากรที่ยังไม่ได้ชำระในส่วนที่ขาดไปสำหรับการนำเข้าครั้งก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีรถยนต์กรณีจดทะเบียนขนส่ง: การยกเว้นภาษีตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก และการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
โจทก์นำรถยนต์มาจดทะเบียนประกอบการขนส่งและเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 รถยนต์ของโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์คงต้องเสียภาษีรถยนต์ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวส่วนคำว่ารถที่จดทะเบียนใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา86 วรรคสองนั้นหมายถึงรถยนต์ที่นำมาจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่งทางบกเป็นครั้งแรกมิได้หมายความต้องเป็นรถยนต์ใหม่ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนมาก่อนและตามมาตรา 167 วรรคแรกที่บัญญัติว่ารถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้นั้นมีความหมายเพียงว่ารถยนต์ที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วและยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกเท่านั้น ไม่มีข้อความให้อำนาจกรมการขนส่งทางบกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคัดค้านการจัดประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี โดยยังไม่มีการเรียกเก็บภาษี
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์ได้สั่งสินค้าเครื่องอัดสำเนา'เทอร์โมแฟกส์' จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายโดยโจทก์เห็นว่ามิใช่เครื่องถ่ายภาพหรือเอกสารอันต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามกฎหมาย โจทก์ได้มีหนังสือสอบถามไปยังกรมสรรพากร จำเลยๆ ได้แจ้งมายังโจทก์ว่าเครื่องอัดสำเนาดังกล่าวเป็นโภคภัณฑ์ประเภทที่ 5(ข) ซึ่งต้องเสียภาษีโภคภัณฑ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ได้มีหนังสือทักท้วงจำเลยไปหลายครั้ง จำเลยก็คงยืนยันความเห็นเดิมโจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าเครื่องอัดสำเนาดังกล่าวไม่ใช่โภคภัณฑ์อันจะต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามประมวลรัษฎากรดังนี้ ถือว่า ฟ้องเช่นนี้ไม่ได้ว่ามีมูลโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เพราะจำเลยยังมิได้เรียกเก็บหรือสั่งให้โจทก์เสียภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีไม้ขีดไฟ: เจ้าพนักงานมีอำนาจเรียกเก็บตามอัตราใหม่ แม้จะเสียภาษีเก่าแล้ว หากยังไม่ได้นำออกจากโรงงาน
ซึ่งทำในพระราชอาณาเขตต์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 คำสั่งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์ ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2474 แลวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2475 กฎหมายใหม่กับกฎหมายเก่าขัดกัน ไม้ขีดไฟที่ได้เสียภาษีแล้วตามอัตราในพระราชบัญญัติเก่าในวันที่ใช้พระราชบัญญัติใหม่แล้ว และยังมิได้นำไม้ขีดไฟออกจากโรงอุตสาหกรรม เจ้าพนักงานมีอำนาจเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมตามอัตราในกฎหมายใหม่ได้