คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เรียกเก็บเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7589/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเรียกเก็บเช็คพิพาท ทำให้โจทก์เสียหาย
พนักงานของจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงโจทก์ มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า การเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทต้องใช้เวลาเรียกเก็บประมาณ 1 เดือน ถึง 3 เดือน ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่เอกสารของพนักงานของจำเลยมีถึงโจทก์และมิได้ปฏิเสธว่าข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่ประการใด แสดงว่า การเรียกเก็บเงินในลักษณะเดียวกันกับเช็คพิพาทตามปกติจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จว่าเรียกเก็บเงินได้หรือไม่ได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือไม่เกินวันที่ 20 สิงหาคม 2537 และจำเลยต้องแจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยไม่แจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ให้โจทก์ทราบภายในระยะเวลาอันสมควรโดยปล่อยให้เวลาล่วงเลยจากวันที่ 20 สิงหาคม 2537 ออกไปอีกประมาณ 6 เดือน ถือได้ว่าจำเลยในฐานะผู้มีวิชาชีพเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทแทนโจทก์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือเช็คมีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้จะมอบให้ผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยฝากเช็คไว้กับ ป.เพื่อมอบให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับมอบเช็คจาก ป.แล้วโจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินย่อมเป็นผู้ถือเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 ประกอบมาตรา 988 (4) แม้โจทก์จะมอบให้ผู้อื่นนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทน และถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ผู้อื่นนั้นแล้ว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ทรงเช็คพิพาท: การนำเช็คเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีบุคคลอื่นไม่กระทบสิทธิการฟ้อง
การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคาร แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชี ของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าว จึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุ ให้ศาลยกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้องคดีเช็คแม้จะนำเช็คเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีบุคคลอื่น การนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้องไม่ถึงขนาดต้องยกฟ้อง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้า บัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดย อาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็น ผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็คเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียก เก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็น เพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็น เหตุให้ศาลยกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจมิชอบเรียกเก็บเงินจากผู้ขับรถ แม้ไม่มีความผิด เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148/149
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ถ้าจำเลยที่ 1เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหน จากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งป.อ.มาตรา 148 และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6614/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คต้องเรียกเก็บเงินได้ การนำสืบการชำระหนี้ต้องมีหลักฐานตามกฎหมาย
การชำระหนี้ด้วยเช็คนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเช็คนั้นเรียกเก็บเงินได้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคท้าย เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้หนี้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในเช็คจึงยังไม่ระงับ การที่จำเลยทั้งสองจะนำสืบว่าได้มีการชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวแล้วโดยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือได้เวนคืนเอกสารแห่งการกู้หรือแทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
จำเลยมิได้ให้การไว้ว่า โจทก์ได้หักเงินจำนวน 48,000 บาทจากการขายฝากเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการชำระหนี้เงินกู้ยืมเลย จำเลยทั้งสองจึงนำสืบการหักเงินจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ให้การไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คต้องเรียกเก็บเงินได้ การนำสืบการชำระหนี้ต้องมีหลักฐานตามกฎหมาย
การชำระหนี้ด้วยเช็คนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเช็คนั้นเรียกเก็บเงินได้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคท้าย เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้หนี้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในเช็คจึงยังไม่ระงับ การที่จำเลยทั้งสองจะนำสืบว่าได้มีการชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวแล้วโดยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือได้เวนคืนเอกสารแห่งการกู้หรือแทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
จำเลยมิได้ให้การไว้ว่า โจทก์ได้หักเงินจำนวน 48,000 บาทจากการขายฝากเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการชำระหนี้เงินกู้ยืมเลย จำเลยทั้งสองจึงนำสืบการหักเงินจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ให้การไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากหน่วยงานรัฐกับการเรียกเก็บเงินตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะ
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐเรียกเก็บเงินตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจึงมิใช่บุคคลที่ทางราชการได้ตั้งแต่หรืออนุญาตให้จัดกิจกรรมเฉพาะบางอย่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(15) ซึ่งมีกำหนด อายุความ 2ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกเก็บเงินแทนแร่ดีบุก: โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐตาม พ.ร.บ.ควบคุมแร่ดีบุก ไม่เข้าข่ายอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(15)
กรมทรัพยากรธรณีโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐเรียกเก็บเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยเพื่อชำระเข้ามูลภัณฑ์กันชนระหว่างประเทศจากจำเลยตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุกพ.ศ.2514มาตรา24โจทก์จึงมิใช่บุคคลที่ทางราชการได้ตั้งแต่งหรืออนุญาตให้จัดกิจการเฉพาะบางอย่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(15)ซึ่งจะมีกำหนดอายุความ2ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คหลังเรียกเก็บเงินจากธนาคาร และผลกระทบต่ออายุความฟ้องร้อง
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็คไม่ปรากฎว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฎิบัติ มา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ
of 4