พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินบ้านสร้างไม่เสร็จ จำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่มีกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จไว้ แต่จำเลยผู้จะขายจะต้องก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมโอนกรรมสิทธิ์ภายในเวลาอันสมควร เมื่อนับจากวันที่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลาประมาณ 3 ปี 5 เดือน และจำเลยรับเงินที่โจทก์ผ่อนชำระตามสัญญาไปครบถ้วนเป็นเวลาประมาณ 2 ปี 3 เดือน แต่จำเลยยังมิได้ลงมือก่อสร้างบ้านเลย ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
เหตุที่จำเลยสร้างบ้านให้แก่โจทก์ไม่ได้เป็นเพราะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผิดสัญญากับจำเลยโดยไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่จำเลยตามสัญญา เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยเฉพาะ ไม่ใช่เหตุที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ได้
โจทก์ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์เบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยชอบแล้ว
จำเลยจดทะเบียนสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจำเลยอยู่แห่งหนึ่ง แต่ตามใบเสร็จรับเงินชั่วคราวที่จำเลยออกให้โจทก์ได้ระบุที่ตั้งที่ทำการจำเลยอยู่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลย ถือได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่ง และที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลยถือเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 69 โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังสำนักงานโครงการซึ่งเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งได้
เหตุที่จำเลยสร้างบ้านให้แก่โจทก์ไม่ได้เป็นเพราะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผิดสัญญากับจำเลยโดยไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่จำเลยตามสัญญา เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยเฉพาะ ไม่ใช่เหตุที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ได้
โจทก์ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์เบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยชอบแล้ว
จำเลยจดทะเบียนสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจำเลยอยู่แห่งหนึ่ง แต่ตามใบเสร็จรับเงินชั่วคราวที่จำเลยออกให้โจทก์ได้ระบุที่ตั้งที่ทำการจำเลยอยู่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลย ถือได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่ง และที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลยถือเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 69 โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังสำนักงานโครงการซึ่งเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากสัญญาฝากทรัพย์: สัญญาฝากมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปีตามละเมิด
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์ฝากเงินไว้แก่จำเลย ต่อมามีบุคคลอื่นปลอมลายมือชื่อของโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อยอมให้ถอนเงินไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินจำนวนที่ถูกถอนไปแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืนตามสัญญาฝากทรัพย์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยก็เพื่อแสดงว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะไม่กระทำตามหน้าที่ที่ ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม บัญญัติไว้เท่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ดังที่จำเลยฎีกาไม่ สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้เดิม และอายุความของคดีเรียกเงินคืนจากสัญญาที่เลิกแล้ว
โจทก์เป็นลูกหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ซื้อจากจำเลย ส่วนบริษัท ส. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นลูกหนี้ค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินกับบริษัท ว. บริษัท รก. และบริษัท รพ. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จำเลยตกลงกันให้นำเงินที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้บริษัท ว. กับพวกมาหักชำระเป็นค่าหุ้นที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลย กรณีเช่นนี้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำหนี้ที่ได้ตกลงไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าหุ้นที่จำเลยรับชำระไปแล้วคืนเนื่องจากสัญญาซื้อขายหุ้นเลิกกัน หาใช่เป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหุ้นไม่ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าหุ้นที่จำเลยรับชำระไปแล้วคืนเนื่องจากสัญญาซื้อขายหุ้นเลิกกัน หาใช่เป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหุ้นไม่ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมางาน: ผู้รับเหมาผิดสัญญาเนื่องจากงานไม่เรียบร้อย ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกเงินคืนตามสัดส่วน
ความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 หมายความถึงความชำรุดบกพร่องซึ่งเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 598 , 599 และ 600 อันหมายถึงความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้กับผู้ว่าจ้างครบถ้วนแล้ว มิใช่หมายถึงการไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา
ที่จำเลยฎีกาว่า ว. ตัวแทนโจทก์รับมอบงานก่อสร้างบ้านจากจำเลยโดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 นั้น เห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญา หาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องของงานที่ทำ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญาจริง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยตามสัดส่วนของงานที่ยังไม่ได้ทำให้เรียบร้อยตามสัญญาได้
ที่จำเลยฎีกาว่า ว. ตัวแทนโจทก์รับมอบงานก่อสร้างบ้านจากจำเลยโดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 นั้น เห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญา หาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องของงานที่ทำ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญาจริง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยตามสัดส่วนของงานที่ยังไม่ได้ทำให้เรียบร้อยตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากการซื้อขายทรัพย์สินที่ถูกเพิกถอน และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ต่อมา ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวโดยฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเป็นจำเลย ศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยในคดีดังกล่าว และให้จำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทแก่ ส. พร้อมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ผลของคดีดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์หมดสิ้นไปทันที ทั้งที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ฝ่ายจำเลยผู้ขายไปครบถ้วนแล้ว กรณีจึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของฝ่ายจำเลยผู้ขาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. โจทก์ในคดีดังกล่าวยังมิได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยในคดีดังกล่าวจะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีนั้น หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์คดีนี้ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากจำเลยไม่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา และสิทธิในการเรียกเงินคืน
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไปตรวจสอบสภาพการก่อสร้างตามโครงการแล้ว ปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาไว้กล่าวคือ ยังไม่ได้ติดตั้งโทรศัพท์สายตรงที่ห้องชุด ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง และสระว่ายน้ำ โจทก์ให้จำเลยดำเนินการจัดสร้างให้ครบถ้วนโดยเร็ว แต่จำเลยเพิกเฉย ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้โฆษณาไว้ตามฟ้องโจทก์ ซึ่งเป็นไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญา แต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 369, 387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้อน
การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญา แต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 369, 387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้ที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่เข้าอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
ใบสำคัญรับเงินค่ากระบือมิใช่สัญญาซื้อขายหรือจะซื้อขายใบสำคัญรับเงินดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ใช้บังคับเฉพาะกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานของโจทก์ในตำแหน่งปศุสัตว์จังหวัดซึ่งเบิกเงินทดรองไปจากโจทก์เพื่อจัดซื้อกระบือตามโครงการพระราชดำริ และเมื่อจ่ายค่ากระบือที่ซื้อแล้วมีเงินเหลือให้คืนเงินส่วนที่เหลือแก่โจทก์ อันเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336ไม่มีกำหนดอายุความ
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ใช้บังคับเฉพาะกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานของโจทก์ในตำแหน่งปศุสัตว์จังหวัดซึ่งเบิกเงินทดรองไปจากโจทก์เพื่อจัดซื้อกระบือตามโครงการพระราชดำริ และเมื่อจ่ายค่ากระบือที่ซื้อแล้วมีเงินเหลือให้คืนเงินส่วนที่เหลือแก่โจทก์ อันเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336ไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินคืนและการเพิกถอนสัญญาที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สิทธิเรียกร้องที่เกิดภายหลังฟ้องเดิม
ตามคำฟ้องเพิ่มเติมที่โจทก์ยื่นคำร้องมาเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเงินที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยไปตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2525 พร้อมดอกเบี้ยคืนส่วนตามคำฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามหนังสือฉบับลงวันที่ 29 ธันวาคม 2529 และเรียกเงินที่ได้ชำระไปตามสัญญาดังกล่าวคืน มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องเพิ่มเติมไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และคำฟ้องเพิ่มเติมอีกข้อเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว แม้หากจะฟังว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องคืนจากจำเลย สิทธิของโจทก์ก็เกิดภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่า คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6491/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกเงินคืนจากสัญญาซื้อขายข้าว
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวบางส่วนคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบข้าวน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกัน มิใช่ฟ้องในข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 467 มาบังคับมิได้ การฟ้องเรียกเงินคืนมิได้มีอายุความกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2479/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน: การใช้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงโครงการได้หากเหมาะสม และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนทั้งหมด
สัญญากู้ข้อ 4 ระบุว่า จะใช้เงินกู้เฉพาะวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ปรับปรุงที่ดินขุดบ่อเลี้ยงปลา ขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตรลึก 2.50 เมตร เป็นเงิน 50,000 บาท (2) ปรับปรุงที่ดินทำสวนผลไม้เนื้อที่ 14 ไร่ เป็นเงิน 80,000 บาทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและสัญญาข้อ 11 ให้สิทธิผู้จัดการสาขามีอำนาจลดหรือระงับการจ่ายเงินกู้ที่จะพึงมีต่อไปสำหรับเงินกู้รายนี้เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญา โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกเงินกู้คืนทั้งหมด โจทก์โต้แย้งข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญากู้เงินครั้งที่ 2เท่านั้น มิได้โต้แย้งข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับสัญญากู้ครั้งที่ 1 แต่อย่างใด เพียงแต่โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับสัญญากู้เงินครั้งที่ 1จึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญากู้ครั้งที่ 1 นั้น ไม่ชอบอย่างไร จึงไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249.