พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของเรือประมงรู้เห็นเป็นใจกับการลักลอบขนน้ำมัน จึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของเรือประมงของกลางที่ถูกศาลสั่งริบในความผิดฐานลักลอบซื้อขายน้ำมันหลีกเลี่ยงภาษีได้ความว่า ก่อนนำเรือพิพาทออกให้เช่าผู้ร้องจัดทำถังน้ำมันจำนวนมากถึง 20 ถัง บรรทุกอยู่บริเวณหน้าเครื่องบรรจุน้ำมันได้ถึง 40,000 ลิตร ซึ่งโดยปกติเรือประมงทั่วไปจะมีถังน้ำมันที่ห้องเครื่องห้องละ 1 ถัง มีปริมาตรไม่เกิน 10,000 ลิตร นอกจากนี้เรือดังกล่าวยังมีเครื่องสูบถ่ายน้ำมันที่สามารถถ่ายน้ำมันออกไปสู่เรือลำอื่นได้ แสดงจุดประสงค์หรือเจตนาของผู้ร้องว่าจะใช้เรือดังกล่าวสำหรับบรรทุกน้ำมันเพื่อถ่ายให้เรือลำอื่นด้วย พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันเรือ ความรับผิดตามสัญญา และการค้ำประกัน
ส.เจ้าของเรือของกลางทำสัญญาประกันเรือต่อโจทก์ขอรับเรือของกลางไปเก็บรักษาไว้ในระหว่างคดี โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ส.ต่อโจทก์สัญญาประกันเรือทำขึ้นที่กรุงเทพมหานคร และ ส.รับเรือของกลางไปจากท่าเทียบเรือกรมศุลกากรที่กรุงเทพมหานคร เมื่อโจทก์เรียกให้ส่งมอบเรือของกลาง ส.และจำเลยจะต้องนำเรือของกลางไปส่งมอบยังที่ที่เรือของกลางจอดอยู่ในขณะทำสัญญาประกันเรือคือท่าเทียบเรือกรมศุลกากร จำเลยจะขอส่งมอบเรือของกลางแก่โจทก์ที่จังหวัดภูเก็ตโดยโจทก์ไม่ยอมรับไม่ได้
สัญญาประกันเรือมีข้อตกลงว่า ระหว่างที่ผู้ประกันนำเรือของกลางไปเก็บรักษา ถ้าเกิดการชำรุดเสียหายหรือสูญหายไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ในสภาพเดิม ผู้ประกันยินยอมชดใช้เงินจนเต็มราคาที่ประกันไว้คือ 1,000,000 บาทซึ่งเงินจำนวน 1,000,000 บาท ดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่ประกันไว้ มิใช่ราคาเรือของกลาง เมื่อ ส.ผิดสัญญาประกันเรือจึงต้องใช้เงินตามที่ประกันไว้แก่โจทก์จำนวน 1,000,000 บาท มิใช่ใช้ตามราคาเรือของกลาง จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันส.โดยยอมรับผิดเช่นเดียวกับ ส.ผู้ประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ 1,000,000 บาทด้วย
สัญญาประกันเรือมีข้อตกลงว่า ระหว่างที่ผู้ประกันนำเรือของกลางไปเก็บรักษา ถ้าเกิดการชำรุดเสียหายหรือสูญหายไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ในสภาพเดิม ผู้ประกันยินยอมชดใช้เงินจนเต็มราคาที่ประกันไว้คือ 1,000,000 บาทซึ่งเงินจำนวน 1,000,000 บาท ดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่ประกันไว้ มิใช่ราคาเรือของกลาง เมื่อ ส.ผิดสัญญาประกันเรือจึงต้องใช้เงินตามที่ประกันไว้แก่โจทก์จำนวน 1,000,000 บาท มิใช่ใช้ตามราคาเรือของกลาง จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันส.โดยยอมรับผิดเช่นเดียวกับ ส.ผู้ประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ 1,000,000 บาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดเรือของกลางในคดีศุลกากร: การเรียกร้องคืนภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาเมื่อมีฟ้องคดี
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2497 มาตรา 3 บัญญัติว่า 'สิ่งใดๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจยึดในเวลาใดๆ และ ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้.
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด. ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ. และให้ตกเป็นของแผ่นดิน' นั้น. ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น. หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง 'นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด' ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก. หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก.
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย.เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น. ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ.เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย. ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32. ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36.
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน. ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512).
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด. ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ. และให้ตกเป็นของแผ่นดิน' นั้น. ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น. หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง 'นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด' ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก. หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก.
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย.เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น. ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ.เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย. ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32. ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36.
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน. ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือของกลางเมื่อเจ้าของมิได้รู้เห็นการกระทำผิดฐานขนย้ายข้าวออกนอกเขตจังหวัด
คดีหาว่า ขนย้ายข้าวเพื่อออกนอกเขตต์จังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง พาหนะที่ใช้ในการบันทุกข้าว เมื่อปรากฎว่ามิใช่เป็นของผู้กระทำผิด ความจริงเป็นของผู้อื่นที่มิได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยนั้น ต้องคืนให้แก่เจ้าของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือของกลางในคดีขนย้ายข้าวออกนอกเขตจังหวัด เมื่อเจ้าของเรือมิได้รู้เห็น
คดีหาว่า ขนย้ายข้าวเพื่อออกนอกเขตจังหวัดหนึ่ง ไปอีกจังหวัดหนึ่งพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกข้าว เมื่อปรากฏว่ามิใช่เป็นของผู้กระทำผิดความจริงเป็นของผู้อื่นที่มิได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยนั้น ต้องคืนให้แก่เจ้าของ