คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เรือนจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกในเรือนจำต่างจังหวัด
แม้เรือนจำกลางบางขวางเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดนนทบุรีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลจังหวัดนนทบุรีจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เมื่อเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดภูเก็ตและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ตเป็นผู้สอบสวนคดี ไม่ได้ความว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ต ที่โจทก์อ้างว่าการย้ายจำเลยทั้งสองไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตจะไม่ปลอดภัยในการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการย้ายนั้น เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจป้องกันและแก้ไขได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลจังหวัดนนทบุรีรับชำระคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การรับสารภาพ และดุลพินิจศาลในการลดโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจำ
ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำให้การได้อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีแล้ว จำเลยจึงได้ให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อไว้โดยโจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดเจนในข้อ ก. ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเป็นจำนวนเท่าใด และมีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่กระทำผิด และในคำฟ้องข้อ ข. บรรยายว่า จำเลยได้นำยาเสพติดให้โทษอันเป็นของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
สิ่งของต้องห้ามที่จำเลยนำเข้าไปในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการเป็นยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นภัยต่อสังคมโดยรวมและกระทำในขณะต้องขังคดีอื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีสำนึกและความรับผิดชอบทั้งไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง การที่จำเลยมีบิดามารดาที่ชราแล้ว มีบุตรที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนนั้น ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลล่างที่ไม่ลดโทษและรอการลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวระหว่างส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่ถือเป็นการจำคุก และการยกกระบวนการบังคับคดี
การที่จำเลยถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างการพิจารณาคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2534มาตรา 10 ที่ให้สั่งขังจำเลยไว้ มิใช่สั่งจำคุก จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 เรือนจำจึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่าโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีคบคิดกันฉ้อฉลแกล้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหาย จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296วรรคสอง ซึ่งจะต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืน(สถิตย์ ไพเราะ - ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์ - ศุภชัย ภู่งาม)ศาลจังหวัดมีนบุรี นายศุภมิตร บุญประสงค์ศาลอุทธรณ์ นายวีระพล ตั้งสุวรรณ
นายกีรติ กาญจนรินทร์ - ตรวจ
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
พัชรินทร์ พิมพ์/ทาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับไปยังเรือนจำของผู้ต้องขังคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน และการยื่นคำคัดค้านการบังคับคดีเกินกำหนด
การที่จำเลยถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างการพิจารณา คำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่ให้สั่งขังจำเลยไว้ มิใช่ สั่งจำคุก จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษา ถึงที่สุดของศาล หรือถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 เรือนจำ จึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่าโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีคบคิดกันฉ้อฉลแกล้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณี ที่จำเลยยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดี ทั้งปวง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองซึ่งจะต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบการฝ่าฝืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุก: คำพิพากษาไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาที่เรือนจำ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่ เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีนั้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุก: จำคุกตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาที่เรือนจำ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันกล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีนั้นจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวแต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการระงับเหตุร้ายแรงในเรือนจำ: การกระทำของเจ้าพนักงานที่ไม่เป็นละเมิด
ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายพาตัวประกันที่ถูกมัดไว้เป็นคู่ ๆ เดินออกมาโดยมีผู้ต้องขังคนหนึ่งถือลูกระเบิดมือพร้อมกับพูดขู่และชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังกองอำนวยการที่จำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ห่างเพียง 4 - 5 เมตร จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงผู้ต้องขังดังกล่าวโดยก่อนมีคำสั่งได้ประชุมตกลงกันว่าให้ยิงได้ทีละนัดพร้อมทั้งกำหนดให้เจ้าพนักงานแต่ละคนยิงผู้ต้องขังเป็นรายตัวไป มิใช่ว่าให้ยิงสุ่มเข้าไปในกลุ่มผู้ก่อเหตุร้าย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบเพื่อความปลอดภัยของตัวประกันอย่างดีที่สุด และจำเป็นต้องสั่งการโดยฉับพลันเนื่องจากผู้ต้องขังชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังจำเลยที่ 2 กับพวก การที่ลูกระเบิดมือของผู้ต้องขังเกิดระเบิดขึ้นและถูกตัวประกันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 17 (1) (3), 21เจ้าพนักงานเรือนจำไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตนทั้งทางแพ่งหรือทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตและการกระทำนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหมวด 4 ไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นก็ตาม ฉะนั้นแม้ตัวประกันถึงแก่ความตายเพราะการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้งสิบก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ที่อยู่ของจำเลยคือถิ่นฐานสำคัญ ไม่ใช่เรือนจำชั่วคราว
"ที่อยู่" ตามนัยมาตรา 22(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายถึงถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37การที่จำเลยถูกขังอยู่ที่เรือนจำในคดีอื่นซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และในระหว่างพิจารณาจำเลยอาจได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือในที่สุดศาลอาจพิพากษายกฟ้องปล่อยตัวจำเลยก็ได้ เรือนจำดังกล่าวจึงมิใช่ที่อยู่ของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดโดยจงใจในคดีแพ่ง แม้จำเลยถูกจำคุกอยู่เรือนจำ แต่มีผู้พักอาศัยที่ภูมิลำเนา
เจ้าพนักงานศาลได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ที่ภูมิลำเนาของจำเลยโดยชอบ ในระหว่างนั้นจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำแต่ภรรยาและบุตรของจำเลยคงอยู่ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยน่าเชื่อว่าจำเลยได้ทราบถึงการถูกฟ้องและการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจและเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208,209.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: 'ที่อยู่' ของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) คือถิ่นที่อยู่จริง ไม่ใช่เรือนจำ
คำว่า "จำเลยมีที่อยู่" ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22(1) หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยในขณะที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหาตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนไว้ ซึ่งอาจเป็นภูมิลำเนาหรือมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยที่จะได้รับความสะดวกในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ เรือนจำจังหวัด ปราจีนบุรี ตามที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยทั้งสอง โดยเป็นเพียงสถานที่ที่จำเลยที่ถูกคุมขังไว้หลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีอื่นแล้ว และจำเลยที่ 2ถูกคุมขังตามคำสั่งของกรมราชทัณฑ์เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นที่อยู่ของจำเลยทั้งสองตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1).
of 4