คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลตเตอร์ออฟเครดิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องหนี้สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราประกาศ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ต้องผูกพันโดยตรงต่อผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับรวมทั้งเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อนจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) การฟ้องร้องให้รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปขอรับสินค้าก่อนแล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามกำหนด หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมิใช่เป็นหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 วรรคหนึ่ง หมายความว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกิน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป ดอกเบี้ยที่ค้างชำระส่วนที่ยังไม่เกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารโจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของโจทก์เป็นระยะ ๆ ดังน้นหากนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปโจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 13.50 ต่อปี จะทำให้การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าประกาศของโจทก์ในช่วงนั้นได้ ศาลฎีกาจึงกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในช่วงหลังวันฟ้องในอัตราลอยตัวคือ ในอัตราเงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทรัสต์รีซีทต่อเนื่องจาก L/C ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หนี้เดิมไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
การที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้าขนส่งมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อนได้ทันที จำเลยที่ 1 จึงขอทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ด้วยการขอรับสินค้าไปก่อนแล้วจะชำระราคาภายในวันที่กำหนดไว้ ซึ่งสินค้าตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวก็คือสินค้าที่ขอให้โจทก์ชำระเงินแทนตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั่นเอง สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นเรื่องที่คู่สัญญาตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทำความตกลงกันในรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต อันถือว่าสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาที่ทำต่อเนื่องจากคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นเรื่องที่คู่สัญญามีเจตนาจะก่อหนี้ขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในมูลหนี้เดิมแต่อย่างใด คงเป็นมูลหนี้ในประเภทและจำนวนเดียวกัน มูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงไม่ระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ค่าซื้อสินค้าที่โจทก์ชำระแทนจำเลยที่ 1 ไปตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและต่อมาทำสัญญาทรัสต์รีซีทไว้ ในฐานะที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทรัสต์รีซีทไม่ระงับหนี้เดิมจาก L/C: มูลหนี้ต่อเนื่องจากเดิม
การที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อนได้ จึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ ซึ่งสินค้าตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวก็คือสินค้าตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั่นเอง สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นเรื่องที่คู่สัญญาตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทำความตกลงกันในรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นเรื่องที่คู่สัญญามีเจตนาจะก่อหนี้ขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในมูลหนี้เดิมแต่อย่างใด คงเป็นมูลหนี้ในประเภทและจำนวนเดียวกัน ดังนั้น มูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท: ศาลแก้ไขจำนวนเงินชำระตามสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน
มูลหนี้ตามฟ้องเป็นเรื่องเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท ไม่ใช่การจัดการงานแทนและทดรองจ่ายเงินแทน เมื่อไม่มีบมบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และในสัญญาข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด แม้สัญญาข้อ 4 จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก์ ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น ฉะนั้น กรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดสัญญามีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุกในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ระบุให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าตกอยู่แก่ธนาคารโจทก์ ก็เพื่อให้โจทก์มีสิทธิอยู่ในฐานเจ้าหนี้มีประกันเหนือสินค้านั้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หาได้เป็นการตกลงโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนการชำระหนี้ไม่ จำเลยที่ จึงยังต้องผูกพันชำระหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท
บริษัท ส. ผู้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมีเอกสารแนบท้ายคำร้องแสดงฐานะของผู้ร้อง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องหนังสือโอนกรรมสิทธิ์เรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง แม้เอกสารแนบท้ายจะเป็นเพียงภาพถ่ายก็เป็นเพียงภาพถ่ายจากต้นฉบับ และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารเหล่านี้ จำเลยทั้งสองเพียงแต่โต้แย้งว่า ไม่เคยได้รับแจ้งหรือให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเท่านั้น ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ก็เป็นไปตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตรวจสอบเอกสารท้ายคำร้อง คำแถลงคัดค้านของจำเลยทั้งสองและบทบัญญัติในพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมิได้ไต่สวนพยานหลักฐานอื่นอีก จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลตเตอร์ออฟเครดิต: ผู้ซื้อมีสิทธิไม่ชำระเงินหากผู้ขายส่งมอบเอกสารไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไข
สินค้าเครื่องจักรที่ผู้ขายส่งมอบให้จำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำไปใช้ผลิตสินค้าตามวัตถุประสงค์ที่สั่งซื้อได้ ซึ่งเกิดจากในการแสดงเอกสารเพื่อขอรับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต ผู้ขายมิได้ส่งมอบเอกสารแสดงคุณลักษณะทางเทคนิคของอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์กับเอกสารแบบระบบไฟฟ้าและคู่มือแนะนำการใช้งานรวมทั้งชิ้นส่วนอะไหล่ให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ในประเทศไทยตามเงื่อนไขแห่งเลตเตอร์ออฟเครดิต ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถประกอบติดตั้งส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรเข้าด้วยกันและเดินเครื่องจักรผลิตสินค้าได้ แม้โจทก์และธนาคารตัวแทนของโจทก์จะไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าในตู้สินค้า แต่ก็มีหน้าที่จะต้องตรวจสอบเอกสารตามที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ถูกต้องครบถ้วนตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 การที่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายโดยไม่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนตามเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงเป็นการชำระเงินไปโดยผิดจากคำสั่งของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ตกลงด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหน้าที่จะต้องชดใช้เงินที่ธนาคารตัวแทนของโจทก์หรือโจทก์จ่ายไปโดยผิดจากคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาทรัสต์รีซีทมาด้วย แต่หนี้ตามสัญญาดังกล่าวมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ชำระเงินแก่ผู้ขายตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยตรง และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ก็โดยมีวัตถุประสงค์ขอรับเอกสารการส่งสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยออกมาก่อน โดยยังไม่ชำระเงินค่าสินค้าคืนให้แก่โจทก์ในวันนั้นแต่จะชำระคืนให้ในภายหลังและมีข้อตกลงว่าสินค้านั้นยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ สัญญาทรัสต์รีซีทจึงไม่มีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งมีมูลหนี้เดิมมาจากสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตด้วย รวมทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหลักประกันของหนี้รายนี้ด้วย และเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นไม่จำต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำฟ้องแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมไม่จำต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำฟ้องแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ธนาคารภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต: การตรวจสอบเอกสารและสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์เป็นผู้ขายสินค้าและรับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตมีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในกาส่งสินค้าและรวบรวมเอกสารการส่งสินค้าให้ตรงตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อยืนยันและขอรับตามเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยเป้นธนาคารผู้แจ้งเครดิตและตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยได้รับการแต่งตั้งให้กระทำการแทนในการจ่ายเงินหรือการรับซื้อตั๋วเงินและเอกสารด้วยจำเลยจึงปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวในฐานะตัวแทนของธนาคารผู้เปิดเครดิตกับธนาคารผู้ยืนยันเครดิตดังกล่าว หากจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารซึ่งเป็นตัวการ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบต่อตัวการ แต่ความผิดชอบในการตรวจเอกสารตามยูซีพี 500 มิใช่หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ต้องตัดหาเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนมาแสดงเองโดยตรง จึงเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารการส่งสินค้าต่อโจทก์
จำเลยไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการตรวจสอบเอกสารส่งสินค้าออกให้แก่โจทก์และสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยจัดส่งเอกสารการส่งสินค้าออกไปให้ธนาคารผู้ยืนยันเครดิตโดยจำเลยมิได้สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าแต่ละงวด และเอกสารการส่งสินค้าออกมีข้อความไม่ตรงตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเหตุให้ผู้ซื้อปฏิเสธไม่รับสินค้าของโจทก์ และธนาคารผู้ยืนยันเครดิตปฏิเสธไม่จ่ายเงินค้าสินค้า โดยแจ้งสาเหตุว่าการสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยมิได้เป็นไปตามคำสั่งของธนาคารผู้เปิดเครดิตและใบตราส่งสินค้าระบุค่าใช้จ่ายอื่นด้วยนอกเหนือจากค่าระวางเรือจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญาค่อโจทก์หรือความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำของจำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีหน้าที่หากไม่มีข้อตกลงพิเศษ
ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุให้จำเลยเป็นธนาคารผู้แจ้งเครดิตและเป็นธนาคารที่ได้รับการแต่งตั้งให้กระทำการแทนธนาคารผู้ยืนยันเครดิตในการรับ ตรวจสอบ และส่งต่อเอกสารและการส่งสินค้าออกของโจทก์เท่านั้น และไม่ปรากฎข้อความที่เป็นเงื่อนไขพิเศษให้จำเลยต้องสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยต่อการสลักหลังของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย ทั้งข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับสินค้าก็สอดคล้องตรงกับเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต การที่ผู้ซื้อปฏิเสธไม่รับสินค้าและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตไม่จ่ายเงินค่าสินค้าของโจทก์โดยอ้างว่า การสลักหลังกรมธรรม์มิได้เป็นไปตามคำสั่งของธนาคารผู้เปิดเครดิต เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าธนาคารจำเลยทราบอยู่แล้วว่าต้องสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย แล้วจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อมิได้สลักหลังกรมธรรม์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยต้องมีหน้าที่สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยในเอกสารของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีหน้าที่และความรับผิดในการตรวจสอบเอกสารการส่งสินค้าออกให้แก่โจทก์และมีหน้าที่สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยดังที่โจทก์อ้าง การที่จำเลยจัดส่งเอกสารการส่งสินค้าไปให้ธนาคารผู้ยืนยันเครดิตโดยจำเลยมิได้สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าแต่ละงวดและเอกสารการส่งสินค้าออกมีข้อความไม่ตรงตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นเหตุให้ผู้ซื้อปฏิเสธสินค้าของโจทก์และธนาคารผู้ยืนยันเครดิตปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าสินค้าโดยแจ้งสาเหตุว่า การสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยมิได้เป็นไปตามคำสั่งของธนาคารผู้เปิดเครดิต และใบตราส่งสินค้าระบุค่าใช้จ่ายอื่นด้วยนอกจากค่าระวางเรือ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญาต่อโจทก์หรือความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำของจำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีเลตเตอร์ออฟเครดิต-ทรัสต์รีซีท แม้คู่สัญญาทั้งสองอยู่ในไทย
กรณีที่ประธานศาลฎีกาจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศหรือไม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 นั้น จักต้องเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่า คดีนั้นเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่ง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (1) ถึง (11) เมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยแจ้งชัด จึงอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (5), (6) ไม่มีปัญหาอันต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: คดีเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ในการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาททางทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่งโดยทั่วไป ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯมาตรา 7(1) ถึง (11) ได้บัญญัติเป็นการเฉพาะเจาะจงว่ามีคดีประเภทใดบ้างที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ดังนั้น หากคำฟ้องและคำให้การเห็นได้ชัดว่าเป็นคดีประเภทที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ถึง (11) แล้ว ก็ต้องอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่วนกรณีตามมาตรา 9นั้น เป็นเรื่องที่มีปัญหาสงสัยไม่ชัดแจ้งว่าคดีนั้นเป็นคดีประเภทใดหรือสงสัยในเนื้อหาของข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือไม่ จึงจะเสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยชัดแจ้ง ซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7(6) กรณีจึงไม่จำต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป บวก 0.25%
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์ไม่ได้ระบุจำกัดว่าให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น จึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ และเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 และมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน โดยย่อมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วย
of 5