พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158-6220/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าโรงงานและเลิกกิจการ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดเนื่องจากสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างจำเลยกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้ใบอนุญาตการผลิตและจำหน่ายสุราของจำเลยสิ้นสุดไปด้วย จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ จึงต้องเลิกกิจการและส่งมอบโรงงานคืนแก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างพนักงานของจำเลยทุกคน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย สำนักงานทนายความเลิกกิจการแล้ว
หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้อง ของ จำเลยที่ 1 และที่ 2ว่าสำนักงานของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนั้นได้เลิกประกอบกิจการไปนานแล้ว ไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ในสำนักงานดังกล่าว ซึ่งพนักงานเดินหมาย ก็ทราบดี จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อาจทราบเรื่องหมายนัด ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการ ไต่สวนให้ได้ความว่าการส่งหมายนัดดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ชอบแล้วหรือไม่ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการและการปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง มิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา(1) ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงาน ค.ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงาน ค.ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการ ไม่ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หากปฏิบัติตามข้อตกลงและกฎหมาย
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1)ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากการเลิกกิจการ ไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หากปฏิบัติตามข้อตกลงและจ่ายเงินครบถ้วน
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1)ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาขายทรัพย์สินในกรณีเลิกกิจการและการขายต่ำกว่าราคาตลาด โดยมีเหตุผลสมควร และการไม่ต้องเสียภาษีการค้าอสังหาริมทรัพย์
บริษัทโจทก์ประสบปัญหาต่าง ๆ เช่นผู้ถือหุ้นเดิมต้องการถอนหุ้นคืน มีคนร้ายขู่เรียกค่าคุ้มครองจนผู้จัดการบริษัทโจทก์ลาออก ในที่สุดที่ประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมการของโจทก์จึงมีมติให้เลิกกิจการและขายทรัพย์สินของโจทก์ทั้งหมด โดยเฉพาะทรัพย์สินรายการที่สองซึ่งเป็นโรงงานนั้นตั้งอยู่บนที่ดินที่เช่ามาจากบริษัท ล.ซึ่งสัญญาเช่าที่ดินจะสิ้นสุดลงในวันสิ้นปีนั้นเอง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หาคนซื้อทรัพย์สินรายการที่สองได้ยาก เพราะไม่มีความแน่นอนว่าผู้ให้เช่าที่ดินจะให้เช่าต่อหรือไม่ โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่มีอำนาจต่อรองราคากับผู้ซื้อ จึงตกลงขายทรัพย์สินตามรายการที่สองถึงที่ห้าให้แก่บริษัท ย.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์อยู่ด้วย โดยตกลงขายทรัพย์สินรายการที่สองถึงห้าให้ในลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งมีทั้งรายการที่ขายต่ำกว่าราคาทุนและรายการที่ขายสูงกว่าต้นทุนมาก เช่นทรัพย์สินตามรายการที่สี่ เครื่องมือเครื่องใช้ขายไปในราคา7,793,000 บาท ราคาต้นทุน 2,438,762.29 บาท สูงกว่าราคาต้นทุนถึง5,354,237.71 บาท สำหรับการขายโรงงานซึ่งเป็นทรัพย์สินตามรายการที่สองนั้นโจทก์ขายให้บริษัท ย.ในราคา 13,149,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องรับคนงานทั้งหมดของโจทก์เข้าไปทำงานด้วยทำให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงินจำนวนประมาณ 7,000,000 บาท เมื่อเทียบจำนวนเงินที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายดังกล่าวและราคาที่โจทก์ขายทรัพย์สินรายการที่สี่ได้สูงกว่าราคาต้นทุนดังกล่าวแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ขายทรัพย์สินตามรายการที่สองไปต่ำกว่าราคาต้นทุนหรือราคาตลาดโดยมีเหตุผลอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบที่จะประเมินราคาขายอาคารโรงงานดังกล่าวใหม่ โดยถือราคาต้นทุนทางบัญชีของโจทก์จำนวน 20,008,058.47 บาท เป็นราคาตลาดตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ได้
แม้ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรหรือเป็นทางการค้ามาก่อน ทั้งปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์ไปเพราะเลิกกิจการ การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
แม้ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรหรือเป็นทางการค้ามาก่อน ทั้งปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์ไปเพราะเลิกกิจการ การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าจากการขายทรัพย์สินเพื่อเลิกกิจการ ศาลยืนตามคำวินิจฉัยเดิม
บริษัทโจทก์ประสบปัญหาต่าง ๆ เช่นผู้ถือหุ้นเดิมต้องการถอนหุ้นคืน มีคนร้ายขู่เรียกค่าคุ้มครองจนผู้จัดการบริษัทโจทก์ลาออก ในที่สุดที่ประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมกรรมของโจทก์จึงมีมติให้เลิกกิจการและขายทรัพย์สินของโจทก์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์สินรายการที่สองซึ่งเป็นโรงงานนั้นตั้งอยู่บนที่ดินที่เช่ามาจากบริษัทล.ซึ่งสัญญาเช่าที่ดินจะสิ้นสุดลงในวันสิ้นปีนั้นเอง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หาคนซื้อทรัพย์สินรายการที่สองได้ยาก เพราะไม่มีความแน่นอนว่าผู้ให้เช่าที่ดินจะให้เช่าต่อหรือไม่ โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่มีอำนาจต่อรองราคากับผู้ซื้อ จึงตกลงขายทรัพย์สินตามรายการที่สองถึงที่ห้าให้แก่บริษัทย. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์อยู่ด้วย โดยตกลงขายทรัพย์สินรายการที่สองถึงห้าให้ในลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งมีทั้งรายการที่ขายต่ำกว่าราคาทุนและรายการที่ขายสูงกว่าต้นทุนมาก เช่นทรัพย์สินตามรายการที่สี่ เครื่องมือเครื่องใช้ขายไปในราคา7,793,000 บาท ราคาต้นทุน 2,438,762.29 บาท สูงกว่าราคาต้นทุนถึง 5,354,237.71 บาท สำหรับการขายโรงงานซึ่งเป็นทรัพย์สินตามรายการที่สองนั้นโจทก์ขายให้บริษัท ย.ในราคา 13,149,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องรับคนงานทั้งหมดของโจทก์เข้าไปทำงานด้วยทำให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงินจำนวนประมาณ7,000,000 บาท เมื่อเทียบจำนวนเงินที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายดังกล่าวและราคาที่โจทก์ขายทรัพย์สินรายการที่สี่ได้สูงกว่าราคาต้นทุนดังกล่าวแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ขายทรัพย์สินตามรายการที่สองไปต่ำกว่าราคาต้นทุนหรือราคาตลาดโดยมีเหตุผลอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบที่จะประเมินราคาขายอาคารโรงงานดังกล่าวใหม่ โดยถือราคาต้นทุนทางบัญชีของโจทก์จำนวน20,008,058,47 บาท เป็นราคาตลาดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ(4) ได้ แม้ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็ตามแต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรหรือเป็นทางการค้ามาก่อน ทั้งปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์ไปเพราะเลิกกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 11การค้าอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะจากการเลิกกิจการและการขายทรัพย์สิน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1(8)(ฉ) "ขาย" หมายความว่าจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณวันเลิกประกอบกิจการ ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการตามมาตราดังกล่าวซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการการที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการไปเป็นเงิน 305,500 บาทนั้น ถือว่าเป็นการขายตามมาตราดังกล่าวแล้ว จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ทั้งนี้แม้ว่ากิจการของโจทก์ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามป.รัษฎากร มาตรา 81(1)(ข) ก็ตาม แต่เมื่อการขายทรัพย์สินดังกล่าวของโจทก์เป็นการขายทรัพย์สินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3(5) ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนั้น การขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3(5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่พ.ร.ฎ.ดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้น การขายเช่นนี้โจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3(5) ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนั้น การขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3(5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่พ.ร.ฎ.ดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้น การขายเช่นนี้โจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มและธุรกิจเฉพาะจากการเลิกกิจการและการขายทรัพย์สิน รวมถึงข้อยกเว้นสำหรับที่ดินเกษตรกรรม
ประมวลรัษฎากรมาตรา77/1(ข)(ฉ)"ขาย"หมายความว่าจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการณวันเลิกประกอบกิจการด้วยโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการณวันเลิกประกอบกิจการตามมาตราดังกล่าวเพราะถือว่าเป็นการขายแล้วซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการแม้กิจการของโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา81(1)(ข)แต่ทรัพย์สินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)มาตรา3(5)ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการแต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรการขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา3(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้นไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้นโจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น จึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้
ป.พ.พ. มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง