คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกบริษัท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังเลิกบริษัท: ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทนบริษัทหลังจดทะเบียนเลิกบริษัท
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด มี ว. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทวันที่ 18 มิถุนายน 2541 มี ว. เป็นผู้ชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ดังนี้ เมื่อโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทและมีการตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจในการฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่ผู้ชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 โจทก์ฟ้องคดีนี้โดย ว. ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อมเฉพาะระบุสั่งจ่าย: สัญญาขายลดและสลักหลังหลังเลิกบริษัทเป็นโมฆะ
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะระบุสั่งจ่ายเงินให้แก่บริษัท ฐ. มิใช่เช็คผู้ถือ ดังนั้นบริษัท ฐ. ซึ่งเป็นผู้ทรง เท่านั้นที่จะทำสัญญาขายลดและสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาขายลดเช็ค เอกสารหมาย จ.3 กระทำขึ้นหลังจากที่บริษัท ฐ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคสอง อันถือได้ว่า บริษัท ฐ. ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว สัญญาขายลดเช็คดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งการที่ ธ. และ ส. ลงลายมือชื่อสลักหลังและประทับตราบริษัท ฐ. จำกัด ในเช็คพิพาทให้ แก่โจทก์ ก็เป็นการสลักหลังโอนโดยปราศจากอำนาจ ย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้เลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงเป็น ผู้ที่ได้รับเช็คพิพาทมาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 904, 905 จำเลยทั้งสามในฐานะผู้สั่งจ่ายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ชำระบัญชีต่อเจ้าหนี้: การละเว้นการชำระหนี้ภาษีหลังเลิกบริษัท
หากจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ได้กระทำหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 , 1270 ประกอบกับ ป. รัษฎากร มาตรา 72 ย่อมจะต้องทราบถึงหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะพิสูจน์ได้ว่าแม้ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีโดยครบถ้วนตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็มิอาจทราบได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรต่อโจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1264 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงินไม่เกินที่จำเลยที่ 1 มีเหลืออยู่ในวันเลิกกิจการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของบันทึกเลิกบริษัท: ข้อตกลงจัดการหนี้สินยังไม่ผูกพันจนกว่าจะจดทะเบียนเลิกบริษัท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับ ย. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงกันเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และมีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระความรับผิดต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่ง กับ ย. ฝ่ายหนึ่ง โดยระบุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับภาระในการชำระหนี้การค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว บันทึกดังกล่าวจึงถือเป็นข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินตามบันทึกจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ และบันทึกเลิกบริษัทดังกล่าวไม่ถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ มาตรา 374 โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงในบันทึกเลิกบริษัทนั้นบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเลิกบริษัทกับบุคคลภายนอก: ผลบังคับใช้เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท
บันทึกตกลงเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สินและภาระความรับผิดชอบต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่งกับ ย. อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ บันทึกตกลงเลิกบริษัทจึงไม่อาจถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอาศัยข้อตกลงในบันทึกดังกล่าวบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796-2801/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินที่ได้รับหลังเลิกบริษัทไม่ใช่เงินปันผล แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการชำระบัญชี
ประมวลรัษฎากรฯ มิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า "เงินปันผล" ไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ทั้งหกได้รับจากผู้ชำระบัญชีของบริษัท ข. เป็นเงินปันผลหรือไม่ จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับเงินปันผลและเงินสำรองของบริษัทจำกัดไว้ตั้งแต่มาตรา 1200 ถึงมาตรา 1205 จากบทบัญญัติของกฎหมายแสดงให้เห็นว่า เงินปันผลที่บริษัทจำกัดจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่บริษัทได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้ และเพื่อป้องกันมิให้บริษัทนำผลกำไรที่ได้รับมาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดจนขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการต่อไป มาตรา 1202 จึงบังคับให้บริษัทต้องจัดสรรกำไรที่ได้รับจากการประกอบกิจการส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองทุกคราวที่จ่ายเงินปันผล
เมื่อบริษัทเลิกกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติถึงการชำระบัญชีของบริษัทไว้ในมาตรา 1249 ให้ถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ในมาตรา 1250 ว่าหน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทนั้น โดยในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจที่จะกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 เพื่อชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี ส่วนทรัพย์สินของบริษัทนั้นจะแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทเท่านั้นตามมาตรา 1269
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 72 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่า วันที่จดทะเบียนเลิกบริษัทเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และให้ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีตามแบบและภายในกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 68 และ 69 โดยอนุโลม หากไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ มาตรา 72 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก และอธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปอีกด้วยก็ได้ ดังนั้น ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีแต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินของบริษัทและดำเนินกิจการต่าง ๆ หลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้ว หรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ที่ 1ถึงที่ 4 ภริยา โจทก์ที่ 5 และโจทก์ที่ 6 ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วจำนวนดังกล่าว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรฯ แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัท ข. เลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรฯ เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัทดังกล่าว โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796-2801/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินที่ได้รับหลังเลิกบริษัท ไม่ใช่เงินปันผล แต่เป็นผลประโยชน์จากการเลิกบริษัท ไม่อาจขอเครดิตภาษีได้
ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า "เงินปันผล" ไว้โดยเฉพาะการพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจากผู้ชำระบัญชีของบริษัท ข. เป็นเงินปันผลหรือไม่จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับเงินปันผลและเงินสำรองของบริษัทจำกัดไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ22 หมวด ส่วนที่ 3 ข้อ 5 ตั้งแต่มาตรา 1200 ถึงมาตรา 1205
ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี แต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินและดำเนินการต่าง ๆหลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้วหรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัทเลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัท โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทและการชำระบัญชี: ศาลสั่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลังถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
บริษัท น.จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาบริษัท น.หยุดประกอบกิจการ เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและได้ประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้บริษัท น.เป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย และเมื่อเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีของบริษัท น.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 เพื่อให้ผู้ชำระบัญชีเข้ามาจัดการงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สิน ชำระหนี้คืนทุนแบ่งกำไรหรือขาดทุน และทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี การที่ผู้ร้องในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท น.ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี จึงมิใช่เป็นการข้ามขั้นตอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1246 (6) เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้สั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนบริษัท ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี กรณีบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
บริษัท น. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาบริษัท น. หยุดประกอบกิจการ เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและได้ประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษาแล้วทำให้บริษัท น. เป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย และเมื่อเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีของบริษัท น. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 เพื่อให้ผู้ชำระบัญชีเข้ามาจัดการงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สิน ชำระหนี้คืนทุนแบ่งกำไรหรือขาดทุน และทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี การที่ผู้ร้องในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท น. ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี จึงมิใช่เป็นการข้ามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้สั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนบริษัท ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี
บริษัท น. ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษา บริษัท น. จึงเป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย อันเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลายซึ่งต้องมีการชำระบัญชีของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 ผู้ร้องในฐานะกรรมการของบริษัท น. จึงมีอำนาจขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้
of 6