คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกสัญญาเช่าซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ การคืนสภาพสู่ฐานะเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์สิน
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ทั้งปรากฏตามหลักฐานใบรับรถซึ่งจำเลยเป็นฝ่ายอ้างส่งว่า โจทก์ได้รับรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ดังนั้น จึงต้องฟังว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ดังนั้น คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายจากจำเลยได้ เมื่อพิจารณาถึงสภาพรถที่เช่าซื้อซึ่งเป็นรถใหม่ และการนำรถไปใช้บรรทุกดินเพื่อรับจ้างของจำเลยแล้ว เห็นควรกำหนดค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายแก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ในแต่ละเดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผลของการชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนด และการเรียกร้องค่าเสียหายหลังเลิกสัญญา
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันและถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันในครั้งใดมิให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันในครั้งอื่นด้วยก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดระยะเวลาตลอดมาและครั้งสุดท้ายชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาและไม่ครบจำนวนโจทก์ยินยอมรับไว้โดยไม่ทักท้วงพฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาและจำนวนเงินค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญดังนั้นหากโจทก์ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387ก่อน การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์จากการที่จำเลยที่1ไม่ส่งมอบรถคืนรวมทั้งค่าเช่าซื้อที่หักจากราคารถที่ขายไปยังขาดอยู่แก่โจทก์ภายใน7วันตามสัญญาก็เป็นเพียงหนังสือทวงถามถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาโดยจำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งพฤติการณ์ถือว่าคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยเหตุอื่นเพราะคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันมิใช่เลิกกันโดยผลของสัญญาเพราะเหตุที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไปโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาข้อ9ซึ่งระงับไปแล้วไม่ได้แต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายแก่โจทก์ในการที่จำเลยใช้รถของโจทก์ในระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบคืนรถแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาเพียงให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดเกินกว่าค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ส่วนที่เกินจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อเดิมแล้ว ไม่ปรากฏหนี้ค้าง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้เลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่เลิกสัญญาจำเลยที่ 1มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ส่วนสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อคนใหม่จะสมบูรณ์หรือไม่ใช้บังคับได้เพียงใดไม่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากการที่ผู้เช่าซื้อคนใหม่ผิดสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อ: การคืนเงินค่าเช่าซื้อหลังการยึดทรัพย์ และการหักค่าประโยชน์ที่ได้รับ
กรณีที่ถือได้ว่าผู้เช่าและเจ้าของทรัพย์สินมีเจตนาเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เงินที่ผู้เช่าชำระให้แก่เจ้าของทรัพย์สินเป็นค่าเช่าไปแล้วนั้น ต้องหักค่าที่ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อออกเสียก่อน ที่เหลือจึงคืนแก่ผู้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทน & เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ไม่ได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ด้วย การที่ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ทั้งขณะที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงทำบันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะไม่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยนั้น ผู้รับมอบอำนาจช่วงได้มอบหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฝ่ายจำเลยแล้วด้วย กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะทำให้จำเลยควรเชื่อว่า ผู้รับมอบอำนาจช่วงกระทำการแทนโจทก์ภายในขอบเขตอำนาจของตัวแทนอันมีผลทำให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยเสมือนผู้รับมอบอำนาจช่วงเป็นตัวแทนโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบ มาตรา 821
สัญญาเช่าซื้อมีข้อกำหนดว่า เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทันที แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญา ต้องถือว่าขณะที่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืน สัญญายังไม่เลิกกัน แต่เมื่อโจทก์ยึดรถคืนโดยจำเลยไม่โต้แย้งพฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายตั้งแต่วันยึดรถจำเลยจึงต้องรับผิดเฉพาะค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพย์เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายอื่นโจทก์ไม่อาจเรียกร้องได้ เพราะกรณีนี้มิใช่การเลิกสัญญาเพราะเหตุจำเลยผิดสัญญา ส่วนที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์ต้องนำสืบว่าโจทก์มีสิทธิเรียกได้โดยอาศัยสิทธิใด มิฉะนั้นศาลกำหนดให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224