คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลี้ยงดูบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเมื่อถูกขับไล่และไม่เลี้ยงดูบุตร
ภริยาออกจากบ้านพาบุตรกลับไปอยู่กับมารดา เพราะถูกสามีขับไล่ แล้วไม่ส่งเสียเลี้ยงดูตามที่สามารถทำได้เกิน 1 ปี ภริยาฟ้องหย่าได้ สามีไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลยกขึ้นวินิจฉัยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายที่อยู่ของสามีและการเลี้ยงดูบุตร ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การที่จำเลย(สามี) ต้องไปอยู่ต่างจังหวัดเพราะถูกทางราชการย้ายไป และโจทก์(ภรรยา) มิได้ตามไปอยู่ด้วยเพราะมีภาระที่จะต้องดูแลบุตร บ้าน และทำการค้าขาย จะถือว่าจำเลยจงใจจะทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ และแม้หากจะฟังว่าจำเลยไม่เสียกับหญิงอื่น และได้พาหญิงอื่นไปไหว้มารดาจำเลยซึ่งอยู่บ้านเดียวกันกับโจทก์ ก็ยังไม่เป็นพฤติการณ์เพียงพอที่จะถือว่าจำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูบุตรจากความเสียหายโดยตรง
เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเกิดเป็นผลโดยตรงและใกล้ชิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย เช่น ต้องจ้างคนใช้เลี้ยงบุตรโจทก์3 คน ซึ่งมีอายุ 3, 4, 5 ขวบตามลำดับ ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เพราะตัวโจทก์เองไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูบุตรได้ด้วยตนเองเหมือนปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังหย่ามีผลอย่างไร และศาลใดมีอำนาจพิจารณา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน. และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด. สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป.จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: แก้ไขได้หากมีเหตุผลเปลี่ยนแปลง และอาจร้องต่อศาลตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1596
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลกำหนดให้นั้น ต่อไปถ้ามีเหตุอันควรแก้ไขประการใดอาจร้องขอต่อศาลตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1596 ได้.
คดีที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ฎีกาได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 248 ป.ม.วิ.แพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งสินสมรส, ผลพินัยกรรม, ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูบุตร และการหักค่าใช้จ่าย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นเรื่องของการขยายเวลาคือถ้าสิทธิเรียกร้องจะขาดอายุความสั้นกว่า 1 ปีก็ให้ขยายออกไป 1 ปี ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องเกินกว่า 1 ปี ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัตินั้น จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับ โดยย่นเวลาให้สั้นเข้ามานั้นหาได้ไม่
โจทก์จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรมร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรมก็มีผลบังคับเฉพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็เฉพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร
แต่งงานกันตามประเพณีโดยมิได้จดทะเบียน แต่อยู่กินด้วยกันและระคนทรัพย์กันนั้น ทรัพย์ใดที่หามาได้ด้วยทรัพย์หรือแรงงานของฝ่ายใดก็ต้องถือว่าเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อไม่ปรากฏอย่างอื่นก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่งแม้จะแยกกันอยู่ภายหลังโดยมีการเยี่ยมเยียนกันอยู่ก็ไม่พอถือว่าจะไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขและไม่ระคนทรัพย์ต่อกัน
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ