คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลือกรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งคุ้มครองแรงงานได้ทางเดียว สละสิทธิประโยชน์จากอีกหน่วยงาน
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ต่างมีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน โดย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้ลูกจ้าง ที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธินำคำร้องกล่าวหานายจ้างไปยื่นต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 124 เพื่อให้ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยและออกคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือจ่ายค่าเสียหาย หรือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ในกรณีที่การเลิกจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 41 (4) และมาตรา 125 ส่วน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงาน ตรวจแรงงานเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 123 และมาตรา 124 ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้ ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เมื่อลูกจ้างเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างสละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16-17/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้าง: เลือกรับเงินบำเหน็จไม่สละสิทธิค่าชดเชย และค่าชดเชยถือเป็นหนี้ผิดนัดเมื่อเลิกจ้าง
เมื่อโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชย การที่ จำเลยให้โจทก์ขอรับเงินได้ประเภทเดียวเป็นการปฏิเสธจ่ายเงินอีก ประเภทหนึ่งโจทก์จึงต้องขอรับเงินบำเหน็จซึ่งมีจำนวนสูงกว่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ย