พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา: การเลือกใช้สิทธิ และผลของการอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยมิใช่คนยากจน หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวจำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนหรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019-1021/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาที่เป็นคุณแก่จำเลย: เลือกใช้บทลงโทษที่เบากว่า แม้กฎหมายเดิมมีโทษขั้นต่ำ
จำเลยปลอมหนังสือในหน้าที่ตน มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิด แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทลงโทษ และในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์: เลือกใช้บทลงโทษเบากว่าเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คน สมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา ม.335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 294 (4) ไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ 535/2500)
แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2ประการคือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งประมวลกฎหมาย ม. 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญา ม.335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 (1) และ (11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2ประการคือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งประมวลกฎหมาย ม. 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญา ม.335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 (1) และ (11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184-1185/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกใช้บทลงโทษที่เบากว่าเดิมได้ หากมีกฎหมายหลายบทบัญญัติครอบคลุมความผิดเดียวกัน และศาลใช้ดุลพินิจลงโทษ
โทษตาม กฎหมายลักษณะอาญามี 3 สถาน สถานหนึ่งปรับไม่เกิน 50 บาท สถานหนึ่งจำไม่เกิน 10 วัน อีกสถานหนึ่งทั้งปรับทั้งจำแต่โทษตามประมวลกฎหมายอาญาในความผิดเดียวกันนั้นมีแต่โทษปรับสถานเดียว ไม่เกิน500 บาท เช่นนี้ ต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญาบังคับแก่คดี เพราะถือได้ว่าเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย และในคดีนี้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา ปรับ 50 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักการใช้กฎหมายอาญาที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา และการเลือกใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 นั้น ต้องพิจารณาทั้งโทษสูงและโทษต่ำ เช่น ถ้าจะลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสถ้าจะลงโทษจำคุกเกิน 7 ปี ซึ่งจะลงได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เช่นนี้ ต้องใช้ มาตรา 256 เพราะลงโทษจำคุกได้ไม่เกิน 7 ปี แต่ถ้าจะลงโทษต่ำกว่า 2 ปีลงมา (ถึง 6 เดือน) ต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297เพราะบัญญัติให้ทำได้
แต่ถ้าการวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญาก็ได้หรือใช้ประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายลักษณะอาญา อันเป็นกฎหมายในขณะทำผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)
แต่ถ้าการวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญาก็ได้หรือใช้ประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายลักษณะอาญา อันเป็นกฎหมายในขณะทำผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายบท: เลือกใช้บทกฎหมายที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุด
การใช้บทกฎหมายที่อาญาหนักลงโทษความผิดที่ละเมิดกฎหมายหลายบทนั้น ต้องถืออัตราโทษจำคุกสูงสุดที่ศาลอาจวางกำหนดลงโทษแก่จำเลยสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำลงได้นั้นเป็นสำคัญ มิใช่ถืออัตราโทษปรับมากน้อยหรือต้องลงโทษทั้งจำทั้งปรับ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร นั้น ความผิดฐานพยายามมีโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ เมื่อความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายาม พ.ร.บ.ศุลกากร จึงเป็นบทหนักกว่า พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร นั้น ความผิดฐานพยายามมีโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ เมื่อความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายาม พ.ร.บ.ศุลกากร จึงเป็นบทหนักกว่า พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: เลือกโทษหนักกว่าเมื่อมีความผิดหลายกระทง
ความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรถ 3 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ 4) พ.ศ.2477 มาตรา 7 นั้น กำหนดโทษไว้หนักกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรค 3 แล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60 ด้วยหรือไม่
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรค 3 แล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60 ด้วยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ: เลือกใช้บทโทษหนักได้เพียงทางเดียว
การที่จำเลยกะทำผิดซ้ำครั้งเดียวต้องด้วยบทกดหมายที่ไห้เพิ่มโทส 2 ทาง สาลต้องเลือกเพิ่มตามกดหมายที่เปนโทสหนักจะเพิ่ม 2 ทนไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14921/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทลงโทษอาญา: เลือกใช้กฎหมายที่มีโทษปรับสูงกว่า แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับ
ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท ส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แม้ความผิดทั้งสองฐานจะมีระวางโทษจำคุกเท่ากัน แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ดังนี้ ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงมีระวางโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองก็ตาม เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายบทที่มีโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก ศาลจึงต้องใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดปรับบทลงโทษแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 90