คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลื่อนการขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การเลื่อนการขาย, จำนวนผู้สู้ราคา, และอำนาจของผู้คัดค้าน
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ แต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอ การที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไป จึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่
การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า ต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้ แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา 2 คน และทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาด ผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้ สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด และเมื่อมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจปรับด้วยป.วิ.พ. มาตรา 309

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าควรเลื่อนการขายเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ขาย
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามคำสั่งศาลนั้นกฎหมายมีเจตนารมณ์ ว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขาย แล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงสุดซึ่งสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่ราคาดังกล่าวหาใช่เป็นการประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจคำนวณราคาท้องตลาดได้โดยอาศัยวงเงินที่โจทก์รับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะ รับจำนองในวงเงินที่ต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง ทั้งกรณีเป็นการประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก เจ้าพนักงานบังคับคดีพอจะเห็นได้ว่า ราคาซึ่งโจทก์เสนอสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอโดยต่ำกว่าวงเงินที่โจทก์รับจำนอง ฉะนั้น หากถอนทรัพย์จากการขายทอดตลาดในครั้งนี้แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่ อาจได้ราคาสูงกว่าที่โจทก์เสนอ ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายทรัพย์แก่โจทก์จึงเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 308.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนการขายทอดตลาดหลังศาลอนุญาตแล้ว และการที่ศาลไม่ไต่สวนราคาประมูลที่ไม่สมเหตุสมผล
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป เพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต
ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนการขายทอดตลาดและการยกข้ออ้างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปเพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้วจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนการขายทอดตลาดหลังศาลอนุญาตแล้ว และการที่ศาลไม่ต้องไต่สวนหากเหตุขอเลื่อนมิใช่การกระทำผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป เพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลื่อนการขายทอดตลาดและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อความเป็นธรรม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง โดยวิธีให้ศาลขายทอดตลาด เมื่อขายได้เงินแล้วแบ่งกันคนละครึ่ง ต่อมาในวันขายทอดตลาด จำเลยแถลงว่าราคายังต่ำอยู่ควรประกาศขายใหม่โจทก์คัดค้านว่าราคาสูงแล้วศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกันและมีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปตามที่คู่ความตกลงกันดังนี้การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคู่ความเรื่องที่ว่าควรจะเลื่อนการขายทอดตลาดหรือไม่ก็เพื่อที่จะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ
เมื่อคู่ความได้ตกลงกันต่อหน้าศาลและข้อตกลงนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานกระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยดี และไม่มีทนายความ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งหรือร้องขอต่อศาลเพื่อจัดหาล่าม และรายงานกระบวนพิจารณาก็ไม่ปรากฏเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์หลงผิดเพราะไม่เข้าใจภาษาไทยโจทก์เป็นตัวความย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเองได้โดยลำพัง เพียงแต่โจทก์ไม่มีทนายความ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้กระบวนพิจารณาเสียไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลื่อนการขายทอดตลาดและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อความเป็นธรรมได้
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง โดยวิธีให้ศาลขายทอดตลาด. เมื่อขายได้เงินแล้วแบ่งกันคนละครึ่ง. ต่อมาในวันขายทอดตลาด จำเลยแถลงว่าราคายังต่ำอยู่ควรประกาศขายใหม่โจทก์คัดค้านว่าราคาสูงแล้ว. ศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกันและมีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปตามที่คู่ความตกลงกันดังนี้. การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคู่ความเรื่องที่ว่าควรจะเลื่อนการขายทอดตลาดหรือไม่. ก็เพื่อที่จะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ.
เมื่อคู่ความได้ตกลงกันต่อหน้าศาลและข้อตกลงนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน.กระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย. การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยดี และไม่มีทนายความ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งหรือร้องขอต่อศาลเพื่อจัดหาล่าม และรายงานกระบวนพิจารณาก็ไม่ปรากฏเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์หลงผิดเพราะไม่เข้าใจภาษาไทย. โจทก์เป็นตัวความย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเองได้โดยลำพัง เพียงแต่โจทก์ไม่มีทนายความ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป.กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนได้.