คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลื่อนตำแหน่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์นอกประเด็น & การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเลื่อนตำแหน่งไม่ขัดต่อระเบียบลาของพนักงาน
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในคำฟ้อง แม้ชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และศาลแรงงานกลางรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคารออมสินเป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดยระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเลื่อนตำแหน่งโดยอิงวันลา ไม่ขัดต่อระเบียบและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในคำฟ้องแม้ชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและ ศาลแรงงานกลาง รับวินิจฉัยให้ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคาร ออมสิน เป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดย ระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 180.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิลูกจ้างจากหนังสือแจ้งผลการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง ศาลรับฟ้องได้หากมีผลต่อสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อ พ.ศ. 2523 โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่ 30/2529 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่ โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายใน พ.ศ. 2530 และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่ สอ.912/2529 แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบ ฯ เพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามาก ซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าว ดังนี้ หนังสือที่ สอ.912/2529 เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน เป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง หากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายใน พ.ศ. 2530 ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่ 30/2529 นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใด เพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึง พ.ศ.2530 หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ ฯ ตามหนังสือที่ สอ.912/2529 ไม่เป็นความจริง โจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่ 30/2530 อยู่ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุจริตการสอบเลื่อนตำแหน่งเป็นความผิดร้ายแรง สิทธิของนายจ้างในการปลดออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นเข้าสอบเลื่อนตำแหน่งแทน เป็นการทุจริตในการสอบซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงอยู่ในตัว จึงถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินับอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิปลดโจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตลอดจนค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ที่ไม่ถือเป็นการโยกย้ายตามมาตรา 31 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ หากเป็นการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งนิติกร 4 แผนกการตลาดเมื่อปรากฏว่าหัวหน้าแผนกการตลาดเป็นพนักงานระดับ 5 ส่วนหัวหน้าคณะที่ปรึกษาเป็นพนักงานระดับ 6 คณะที่ปรึกษาเป็น ผู้ให้คำปรึกษาแก่จำเลยในเมื่อมีปัญหาจากทุกแผนก รวมทั้ง แผนกการตลาดนิติกร 4 ของคณะที่ปรึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งกว่านิติกร 4 แผนกการตลาดการที่จำเลยออกคำสั่งแต่งตั้ง โจทก์เป็นนิติกร 4 คณะที่ปรึกษาจึงเป็นการเลื่อนตำแหน่ง หน้าที่การงานของโจทก์ให้สูงขึ้นถือไม่ได้ว่าเป็นการ โยกย้ายหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ .2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งข้าราชการเป็นการเลื่อนตำแหน่ง ไม่ใช่โยกย้ายหน้าที่ หากตำแหน่งใหม่มีความสำคัญสูงกว่า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งนิติกร 4 แผนกการตลาดเมื่อปรากฏว่าหัวหน้าแผนกการตลาดเป็นพนักงานระดับ 5 ส่วนหัวหน้าคณะที่ปรึกษาเป็นพนักงานระดับ 6 คณะที่ปรึกษาเป็น ผู้ให้คำปรึกษาแก่จำเลยในเมื่อมีปัญหาจากทุกแผนก รวมทั้ง แผนกการตลาดนิติกร 4 ของคณะที่ปรึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งกว่านิติกร 4 แผนกการตลาดการที่จำเลยออกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนิติกร4คณะที่ปรึกษาจึงเป็นการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์ให้สูงขึ้นถือไม่ได้ว่าเป็นการ โยกย้ายหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้าย vs. เลื่อนตำแหน่ง: ข้อห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา 31 ไม่ครอบคลุมการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่ห้ามมิให้นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจานั้น หมายถึงการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานตามปกติ มิได้หมายถึงกรณีการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการห้ามโยกย้ายลูกจ้างช่วงเจรจา: การเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบ ไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามกฎหมาย
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่ห้ามมิให้นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจานั้นหมายถึงการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานตามปกติ มิได้หมายถึงกรณีการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเลื่อนตำแหน่งขัดต่อระเบียบและข้อตกลงสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงาน
การบรรจุ แต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งพนักงานรัฐวิสาหกิจ ย่อมมุ่งหมายให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่แน่นอนชัดเจนเมื่อข้อบังคับการสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกเป็นไปตามที่ผู้ว่าการกำหนด และผู้ว่าการได้วางระเบียบไว้แล้วว่าบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบคัดเลือกใหม่และประกาศผลแล้ว ดังนั้น การยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ทุกคราวต้องเป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ ย่อมไม่ใช่ความมุ่งหมายของข้อบังคับและระเบียบดังกล่าวที่จะให้ผู้ว่าการมากำหนดวิธียกเลิกบัญชีเฉพาะการสอบคราวใดคราวหนึ่งให้ผิดแผกไปจากระเบียบที่วางไว้และยังใช้บังคับอยู่ ฉะนั้นผู้ว่าการจึงไม่มีอำนาจที่จะกำหนดว่าบัญชีผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทใช้ได้มีกำหนด 2 ปีนับแต่วันประกาศผลการสอบคัดเลือก
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องต่างก็เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 แห่งกฎหมายดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมย่อมเป็นการทำสัญญาจ้างแรงงานตามบทบัญญัตินี้ด้วย เมื่อความผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมผลการสอบคัดเลือกให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบใหม่และประกาศผลแล้ว แต่ข้อกำหนดที่ออกภายหลังตามประกาศผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทระบุว่าผลการสอบใช้ได้เพียง2 ปีจึงไม่เป็นคุณแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 20 จึงใช้บังคับไม่ได้ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเลื่อนตำแหน่งขัดต่อระเบียบและ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การบรรจุ แต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งพนักงานรัฐวิสาหกิจย่อมมุ่งหมายให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่แน่นอนชัดเจนเมื่อข้อบังคับการสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกเป็นไปตามที่ผู้ว่าการกำหนดและผู้ว่าการได้วางระเบียบไว้แล้วว่าบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบคัดเลือกใหม่และประกาศผลแล้วดังนั้น การยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ทุกคราวต้องเป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ ย่อมไม่ใช่ความมุ่งหมายของข้อบังคับและระเบียบดังกล่าวที่จะให้ผู้ว่าการมากำหนดวิธียกเลิกบัญชีเฉพาะการสอบคราวใดคราวหนึ่งให้ผิดแผกไปจากระเบียบที่วางไว้และยังใช้บังคับอยู่ฉะนั้นผู้ว่าการจึงไม่มีอำนาจที่จะกำหนดว่าบัญชีผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทใช้ได้มีกำหนด 2 ปีนับแต่วันประกาศผลการสอบคัดเลือก
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องต่างก็เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 แห่งกฎหมายดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมย่อมเป็นการทำสัญญาจ้างแรงงานตามบทบัญญัตินี้ด้วย เมื่อความผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมผลการสอบคัดเลือกให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบใหม่และประกาศผลแล้ว แต่ข้อกำหนดที่ออกภายหลังตามประกาศผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทระบุว่าผลการสอบใช้ได้เพียง2 ปีจึงไม่เป็นคุณแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 20 จึงใช้บังคับไม่ได้ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตามที่โจทก์ขอ
of 2