พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ในเวลากลางคืน หากโจทก์มิได้นำสืบ ศาลต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงถึงวันที่ 13 เมษายน 2548 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์หลายรายการรวมราคา 65,100 บาท ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถาน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลและทรัพย์ แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้เห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ในเวลากลางคืน แม้จำเลยรับสารภาพ หากโจทก์มิได้นำสืบพิสูจน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงถึงวันที่ 13 เมษายน 2548 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์หลายรายการรวมราคา 65,100 บาท ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถาน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลและทรัพย์ แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้เห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์ไม่นำสืบเวลาเกิดเหตุ ศาลฎีกายกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2536 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 22 เมษายน 2536 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักเลื่อยโซ่ยนต์ของผู้เสียหายไป...แม้คำบรรยายของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่า วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาล เห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืนจึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์: จำเลยต้องได้รับการยกประโยชน์เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์เวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนติดต่อกันวัน เวลาใดไม่ปรากฏชัด จำลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักทรัพย์แผ่นอะลูมิเนียมของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) นั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ มีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7)(8)
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันลักมือหมุนเครื่องยนต์รถไถนา 1 อัน และนอตขันแท่นเครื่องยนต์ 3 ตัว ของผู้เสียหายไป โดยเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืนในเคหสถานทรัพย์ที่ลักเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมและเป็นการกระทำผิดโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์ที่ถูกลักนั้นไป จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ
โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 335 วรรคสาม ไม่ได้
โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 335 วรรคสาม ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ทำงานของจำเลย
สถานที่เกิดเหตุที่จำเลยเข้าไปลักเอาสายไฟฟ้าของโจทก์ร่วมเป็นสำนักงานประปาสงขลา อันเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมิใช่สถานที่ราชการจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ แต่เมื่อจำเลยลักทรัพย์ดังกล่าวในเวลากลางคืนจึงยังคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วมเป็นคำขอในส่วนคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ซึ่งประเด็นนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วมเป็นคำขอในส่วนคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ซึ่งประเด็นนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ในเวลากลางคืนและพยานหลักฐานที่ไม่ชัดเจนเพียงพอต่อการลงโทษ
เหตุเกิดในเวลากลางคืน คนร้ายอยู่รวมกลุ่มจำนวนมากถึง 5 คน ซึ่งพยานทั้งสองไม่เคยเห็นหน้าคนร้ายมาก่อน แม้จะมีแสงสว่างจากไฟฟ้าชนิดโคมกลมที่มีแสงสีขาวคล้ายแสงจากหลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ก็ตาม แต่โคมไฟดังกล่าวอยู่เยื้องไปด้านหลังและด้านข้างของกลุ่มคนร้าย ทั้งเหตุการณ์ขณะที่กลุ่มคนร้ายอยู่บริเวณขอบสระน้ำก็อยู่ในสภาวะของการใช้ขวดสุรากับไม้ขว้างปาซึ่งพยานทั้งสองต้องคอยหลบหลีกอาวุธดังกล่าวและขณะที่กลุ่มคนร้ายตามลงไปทำร้ายผู้เสียหายในสระน้ำแล้วจับหน้าผู้เสียหายกดน้ำจนผู้เสียหายดิ้นนั้น ก็เป็นเวลาที่สั้นและอยู่ในสภาวะชุลมุนและน่าตกใจกลัว ย่อมทำให้โอกาสและความสามารถของพยานทั้งสองที่จะสังเกตและจดจำหน้าคนร้ายทั้ง 5 คน ได้อย่างแม่นยำน่าจะเป็นไปได้น้อยมาก ประกอบกับพยานทั้งสองไม่ได้แจ้งลักษณะรูปพรรณของคนร้ายให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบหลังเกิดเหตุแต่อย่างใดและผู้เสียหายชี้ตัว ป. ที่ถูกจับในคืนเกิดเหตุก็โดยอาศัยเสื้อผ้า ป. ที่เปียกน้ำ นอกจากนี้การที่ร้อยตำรวจเอก ส. เบิกความว่าผู้เสียหายดูรูปถ่ายจำเลยกับ จ. แล้วยืนยันว่าเป็นคนร้าย แต่ผู้เสียหายไม่ได้เบิกความถึงเลยว่าได้ดูรูปถ่ายจำเลย พยานโจทก์จึงไม่สอดคล้องต้องกัน ส่วนการที่พยานทั้งสองชี้ตัวและชี้รูปถ่ายจำเลยได้ถูกต้องภายหลังจำเลยถูกจับเป็นเวลานานถึง 9 เดือน หลังเกิดเหตุก็น่าระแวงสงสัยเช่นกันว่าพยานทั้งสองจะจำหน้าจำเลยได้แม่นยำจริงหรือไม่ ดังนั้น การจับและกล่าวหาจำเลยจึงสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดของ ป. ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะข้อเท็จจริงรับฟังยุติแล้วว่าจำเลยมิได้เป็นคนร้ายปล้นทรัพย์ โจทก์คงมีเพียงพยานบอกเล่าคือสำเนาบันทึกการจับกุม บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย แต่พยานดังกล่าวได้มาโดยไม่ชอบ เพราะเจ้าพนักงานตำรวจนำกระดาษเปล่ามาให้จำเลยเซ็น พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายและทำให้เสียความสามารถในการขัดขืน การกระทำผิดเวลากลางคืน
จำเลยลอบใส่ยานอนหลับผสมลงในสุราให้ผู้เสียหายทั้งสองดื่มจนหลับหมดสติเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองตกอยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในความครอบครองของ ส. ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไปถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ โจทก์มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดมาในฟ้อง จึงลงโทษจำเลยในข้อหาชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีชิงทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยมีพยานจำได้จากไฟส่องสว่างและไม่มีเหตุโกรธเคือง
เหตุเกิดเวลากลางคืนมีไฟนีออนเปิดสว่าง โจทก์ร่วมและจำเลยรู้จักกันดี ขณะโจทก์ร่วมนอนอยู่เห็นจำเลยปีนหน้าต่างเข้ามาแล้วใช้ไม้ตีโจทก์ร่วมเอาสร้อยคอทองคำไปแล้วตีซ้ำอีก 2 ที เมื่อโจทก์ร่วมฟื้นขึ้นมาได้พบ ค.ซึ่งเป็นบิดาก็ได้บอกค. ว่าคนร้ายคือจำเลย ค. ได้รีบไปแจ้งความและนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยได้ ค. พยานโจทก์ก็ได้เบิกความยืนยันรับรองข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์ร่วมและจำเลยไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันไม่มีข้อน่าระแวงว่า โจทก์ร่วมจะเบิกความใส่ร้ายจำเลยพยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงเชื่อถือได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง