พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานนอกเวลางานปกติและการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน การเก็บเงินค่าสินค้าถือเป็นการทำงาน
การเดินทางไปเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าตามหน้าที่ ซึ่งนายจ้างไม่เคร่งครัดต่อการลงเวลาทำงานในแต่ละวันและลูกจ้างได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว ทั้งเวลาที่เดินทางไปและเวลานัดหมายให้ไป รับเงินก็ต่อเนื่องและคาบเกี่ยวกับเวลาเริ่มทำงานปกติ เหมาะสมตามสภาพของงานที่ลูกจ้างจะพึงกระทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่า เป็นการเริ่มทำงานให้นายจ้างแล้ว เมื่อลูกจ้างประสบเหตุทางรถยนต์ ถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปเก็บเงินจึงเป็นการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่และดื่มเบียร์ในเวลางาน: ค่าชดเชยและการจ่ายดอกเบี้ย
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงานถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงาน และจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เฉพาะในวันที่ 16 ตุลาคม 2536 ตั้งแต่เวลา 16.20 นาฬิกา มิใช่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) ลักษณะงานที่โจทก์ทำมิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์มึนเมาเพียงใด แม้ตามข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยก็มิใช่จะต้องถือว่าการทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เคยตักเตือนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การประกอบธุรกิจส่วนตัวในเวลางาน และการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
ข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า พนักงานต้องอุทิศเวลาให้แก่บริษัทฯ ไม่มาสายหรือกลับก่อนเวลาทำงาน หรือหลับในเวลาปฏิบัติงานหรือปฏิบัติงานล่าช้าโดยเจตนาหรือหลีกเลี่ยงการทำงาน ฯลฯ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้เวลาทำงานประกอบธุรกิจส่วนตัวย่อมถือว่าปฏิบัติงานล่าช้าโดยเจตนาและหลีกเลี่ยงการงานอยู่ในตัวแล้ว โจทก์จึงได้ชื่อว่าไม่อุทิศเวลาให้แก่นายจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าการประกอบธุรกิจส่วนตัวของโจทก์เกิดขึ้น ก่อนหรือหลังจากที่จำเลยเพิ่มค่าจ้างให้โจทก์แล้ว จึงไม่อาจถือเอาการเพิ่มค่าจ้างเป็นข้อยกเว้นว่าการประกอบธุรกิจส่วนตัวในเวลาทำงานไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน เพราะการจะพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าการเลิกจ้างนั้นมีสาเหตุอันควรหรือไม่ หากนายจ้างเลิกจ้างโดยปราศจากสาเหตุหรือเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง การเลิกจ้างนั้นจึงจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ใช้เวลาทำงานประกอบธุรกิจส่วนตัวภายในสำนักงาน เป็นเหตุให้พนักงานอื่นต้องหยุดการทำงานเพื่อเลือกสรรเครื่องประดับที่โจทก์นำมาเสนอขายการกระทำของโจทก์ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
การที่โจทก์แนะนำคนรู้จักหรือญาติพี่น้องเข้าสมัครทำงานกับจำเลยแล้วคัดเลือกใบสมัครเฉพาะพรรคพวกของโจทก์ส่งไป ทั้งที่มีผู้สมัครหลายราย แต่โจทก์แจ้งว่ามีผู้สมัครเฉพาะเท่าที่โจทก์ส่งไป เป็นการตัดโอกาสที่จำเลยจะคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมได้ แม้โจทก์จะได้รับความยำเกรงจากผู้ที่ได้รับคัดเลือกและเป็นการสร้างสมบารมีก็ไม่ใช่เป็นผลประโยชน์ในเชิงทรัพย์สินการกระทำของโจทก์หาเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ไม่
โจทก์ใช้เวลาทำงานประกอบธุรกิจส่วนตัวภายในสำนักงาน เป็นเหตุให้พนักงานอื่นต้องหยุดการทำงานเพื่อเลือกสรรเครื่องประดับที่โจทก์นำมาเสนอขายการกระทำของโจทก์ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
การที่โจทก์แนะนำคนรู้จักหรือญาติพี่น้องเข้าสมัครทำงานกับจำเลยแล้วคัดเลือกใบสมัครเฉพาะพรรคพวกของโจทก์ส่งไป ทั้งที่มีผู้สมัครหลายราย แต่โจทก์แจ้งว่ามีผู้สมัครเฉพาะเท่าที่โจทก์ส่งไป เป็นการตัดโอกาสที่จำเลยจะคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมได้ แม้โจทก์จะได้รับความยำเกรงจากผู้ที่ได้รับคัดเลือกและเป็นการสร้างสมบารมีก็ไม่ใช่เป็นผลประโยชน์ในเชิงทรัพย์สินการกระทำของโจทก์หาเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นลูกจ้างชั่วคราวกับการลักทรัพย์นอกเวลางาน ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงและระยะเวลาการจ้าง
ลูกจ้าง การเปนลูกจ้างหรือไม่แล้วแต่ข้อเท็จจริงเปนเรื่อง ๆ ไปวิธีพิจารณาน่าที่นำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วและกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท แม้กระทำนอกเวลางานก็เป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์นำภาพถ่ายเปลือยของหญิงและการร่วมประเวณีระหว่างหญิงดังกล่าวกับโจทก์ที่โจทก์บันทึกไว้ออกเผยแพร่เพื่อประจานหญิงนั้นจนปรากฏเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายช่างของจำเลยย่อมกระทบต่อเกียรติและชื่อเสียงของจำเลย ถือว่าโจทก์ไม่รักษาเกียรติและชื่อเสียงของจำเลย เป็นการประพฤติชั่ว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดี แม้โจทก์กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลาทำงานก็เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง