คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวลาทำการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฟ้องเครื่องหมายการค้าเกินเวลาทำการ ศาลต้องรับฟ้องได้หากมีสิทธิฟ้องคดีอยู่
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แต่โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ และไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันใดวันหนึ่งหลังวันที่ 12 กันยายน 2544 โดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลขยายระยะเวลาในการยื่นคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 12 กันยายน 2544 แต่โจทก์นำมายื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในวันที่ 13 กันยายน 2544 พร้อมกับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ขอให้ส่งรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 เพราะโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลในวันดังกล่าว แต่ไปถึงศาลเมื่อเวลา 16.32 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ไม่รับอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว กรณีที่ 2 หากศาลเห็นว่าไม่สมควรรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ขอให้ถือว่าคำร้องนี้เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ศาลขยายระยะเวลาให้โจทก์ยื่นฟ้องในวันนี้ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องในวันที่ 12 กันยายน 2544 เมื่อพ้นเวลาราชการจึงไม่อาจมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้ได้นั้นชอบแล้ว แต่เมื่อโจทก์อาจยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันถัดไปวันใดวันหนึ่งก็ได้แม้คำฟ้องจะลงวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ต้องถือว่ายื่นคำฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กันยายน 2544 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791-793/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความอุทธรณ์และการยื่นฟ้องนอกเวลาทำการ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการรับฟ้องหลังเวลาทำการยังถือว่าไม่ขาดอายุความ
ประกาศเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2482 จำเลยต้องขังอยู่ในเรืองจำได้นำฟ้อง อุทธรณ์ไปยื่นต่อ+เรือนจำในวันสุดท้าย++อายุความอุทธรณ์ซึ่งเป็นวันเสาร์เวลา 15.00 น.+เรือนจำรับฟ้อง อุทธรณ์ขั้นส่งต่อศาลดังนี้ ถือว่าฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งนอกเวลาทำการ: การตีความบทบัญญัติที่คลุมเครือ
ทำการโฆษนาการเลือกตั้งภายในปริมณฑลสามสิบเมตร์แห่งที่ทำการเลือกตั้ง หากมิใช่ในเวลาวันทำการเลือกตั้งแล้ว ก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์เกินเวลาทำการแต่มีเหตุผลสมควร ศาลรับอุทธรณ์ได้
แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์เวลา 16.45 นาฬิกา ของวันสุดท้ายที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยล่วงเลยเวลาเปิดทำการของศาลซึ่งตามปกติจะเปิดทำการถึง 16.30 นาฬิกา ก็ตาม แต่ก็ได้ความจากรายงานของเจ้าหน้าที่ที่เสนออุทธรณ์ของจำเลยต่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ติดต่อเพื่อยื่นอุทธรณ์เมื่อเวลา 15.40 นาฬิกา ซึ่งยังอยู่ในเวลาเปิดทำการของศาลก่อนแล้วและขอเวลาจัดเรียงเอกสารเพื่อยื่นประกอบอุทธรณ์ โดยจำเลยได้นั่งจัดเรียงเอกสารอยู่ที่หน้าแผนกรับฟ้องจนเสร็จ แล้วยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำเสนอผู้พิพากษาเพื่อมีคำสั่งในวันเดียวกันนั้น โดยปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยบรรยายข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีรายละเอียดยืดยาว มีการอ้างอิงเอกสารประกอบอุทธรณ์จำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการจัดเรียงเอกสารและตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยตามสมควร ทั้งจำเลยยื่นอุทธรณ์เลยเวลาทำการของศาลเพียง 15 นาที เท่านั้น กรณีจึงมีเหตุผลสมควรเมื่อเจ้าหน้าที่รับอุทธรณ์โดยศาลยังไม่ปิดทำการ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยถือว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยถือว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาทำการของศาลจึงชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ