คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวลาพักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงาน: แม้เวลาพักแต่ละช่วงไม่ครบ 20 นาที แต่หากรวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ไม่ถือว่าลูกจ้างถูกบังคับทำงานเกินเวลา
ศาลแรงงานกลางได้พิพากษายกฟ้องของโจทก์ที่ 14 แล้วจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งหมด อุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ที่ 14 จึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยจัดเวลาพักให้แก่ลูกจ้างเป็น 3 ช่วง คือ10-11.10 นาฬิกา 12.15-16 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกาแม้เวลาพักช่วง 10-10.10 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกาจะเป็นการพักน้อยกว่าครั้งละ 20 นาที ไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคสองแต่เวลาทั้งสองช่วงดังกล่าวจำเลยกำหนดไว้ให้ลูกจ้างได้หยุดพักและอยู่ในระหว่างเวลาทำงาน จึงต้องนับเป็นเวลาพักด้วย เมื่อรวมกับเวลาพักช่วง 12.15-13 นาฬิกา แล้วจำเลยกำหนดเวลาพักให้โจทก์แต่ละคนวันละ 1 ชั่วโมง 5 นาทีไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 6 วรรคหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยกำหนดเวลาพักไม่ถูกต้อง ก็หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดให้โจทก์เรียกค่าจ้างเพราะเหตุดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงาน: นายจ้างต้องจัดเวลาพักให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน การกำหนดเวลาพักน้อยกว่าถือเป็นการขัดกฎหมาย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 และข้อ 2 นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะให้มีเวลาพักเป็นหลายครั้งก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาพักแล้วจะต้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเวลาพักจะต้องเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงานด้วย การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานระหว่างเวลา 8.00 นาฬิกา - 16.00 นาฬิกา และระหว่างเวลา 16.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกาโดยให้มีเวลาพักกะละครึ่งชั่วโมง จึงเป็นการกำหนดเวลาพักที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงาน: นายจ้างต้องจัดเวลาพักระหว่างวันทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง การทำงานช่วงพักเป็นเวลาทำงานปกติ ไม่ใช่เวลาล่วงเวลา
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6และข้อ 2 นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะให้มีเวลาพักเป็นหลายครั้งก็ได้แต่เมื่อรวมเวลาพักแล้วจะต้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเวลาพักจะต้องเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงานด้วย การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานระหว่างเวลา 8.00 นาฬิกาถึง 16.00 นาฬิกาและระหว่างเวลา 16.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา โดยให้มีเวลาพักเพียงกะละ ครึ่งชั่วโมง จึงเป็นการกำหนดเวลาพักที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: การกำหนดเวลาพักต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน และเป็นช่วงเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงาน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 และข้อ2 นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะให้มีเวลาพักเป็นหลายครั้งก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาพักแล้วจะต้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเวลาพักจะต้องเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงานด้วย การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานระหว่างเวลา 8.00 นาฬิกา -16.00 นาฬิกา และระหว่างเวลา 16.00 นาฬิกา ถึง24.00 นาฬิกาโดยให้มีเวลาพักกะละครึ่งชั่วโมง จึงเป็นการกำหนดเวลาพักที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น.