คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวลาราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนา แม้ไม่ใช่นเวลาราชการก็ชอบด้วยกฎหมาย
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องส่งในเวลาราชการเท่านั้นจึงจะชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 284 ถนนพญาไม้ แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ตรงกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง แม้จะมิได้ส่งในเวลาราชการก็หาทำให้การกระทำของพนักงานเดินหมายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใดไม่ ศาลจึงมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง พนักงานเดินหมายไม่ต้องส่งในเวลาราชการก็ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานเดินหมายต้องไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยในเวลาราชการจึงจะชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 แม้พนักงานเดินหมายจะมิได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในเวลาราชการก็หาทำให้ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเด็กในความดูแล: หน้าที่ควบคุมดูแลนอกเวลาราชการมีผลต่อการรับโทษ
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์ เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้านพ.และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแล ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับเวลาราชการต่อเนื่องหลังลาออกและกลับเข้ารับราชการใหม่: การปฏิบัติตามมาตรา 30 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
แม้การขอกลับเข้ารับราชการใหม่กับการบอกเลิกรับบำนาญจะเป็นคนละเรื่องกันแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองดังกล่าวพร้อมกันทั้งตามบทบัญญัติในมาตรา30วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494ก็ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใดการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับการยื่นหนังสือขอกลับเข้ารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการใหม่เสียก่อนก็หาขัดต่อมาตรา30วรรคสี่ไม่ มาตรา30วรรคห้าบัญญัติเพียงว่าการบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังโดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วโจทก์จึงได้ปฏิบัติตามมาตรา30วรรคห้าแล้วจำเลยทั้งสองจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการที่ลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่อาจนำเวลาราชการก่อนหน้ามารวมคำนวณได้
โจทก์เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2487 และลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2500 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 13 ปี 7 เดือน 17 วัน ต่อมาโจทก์เข้ารับราชการอีกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2504 แล้วลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2526 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครั้งหลัง 26 ปี 10 เดือน 3 วัน ดังนี้ เมื่อกรณีของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30 (3) แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ แล้ว โจทก์จึงจะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งหลังเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญหาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ มาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ: เวลาราชการก่อน-หลังลาออกไม่อาจรวมกันได้
คำว่า "ออกจากราชการ" ใน พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯหมายถึงการที่ข้าราชการพ้นจากราชการ ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพ้นจากราชการเพราะลาออกด้วย โจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30(3) แห่ง พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯดังนั้น เมื่อโจทก์เข้ารับราชการใหม่ จึงต้องคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญเฉพาะ การรับราชการครั้งใหม่เท่านั้น จะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งใหม่หาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการที่ลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่อาจนำเวลาราชการเดิมมารวมคำนวณได้
โจทก์เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2487 และลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2500 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 13 ปี 7 เดือน 17 วัน ต่อมาโจทก์เข้ารับราชการอีกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2504 แล้วลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 24มีนาคม 2526 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครั้งหลัง26 ปี 10 เดือน 3 วัน ดังนี้ เมื่อกรณีของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30(3) แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ แล้ว โจทก์จึงจะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งหลังเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญหาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯมาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยไม่ผูกพันตามกฎหมาย และสิทธิในการเรียกคืนเงินบำเหน็จกรณีพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการ
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519 ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมา ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลย ทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้น จึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอน เมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับนักเรียนนายร้อยสำรองที่อายุเกินเกณฑ์
โจทก์เป็นนักเรียนนายร้อยสำรองเมื่ออายุเกินกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ พ้นระยะเวลาการเป็นนักเรียนทหารที่ต้องขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ แล้ว จึงมีฐานะเป็นนักเรียนทหาร มิใช่ทหารประจำการหรือนายทหาร สัญญาบัตรประจำการ ทั้งโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนจากทางราชการ จึงไม่มีสิทธินับเวลาราชการระหว่างที่เป็นนักเรียนนายร้อยสำรองสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเวลาราชการสำหรับบำนาญ: เวลาราชการจริงรวมเวลาราชการทวีคูณ และการนับเศษปีเป็นปี
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 14 วรรคสอง มิได้ใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า "เวลาราชการ" แต่ใช้คำว่า "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" ซึ่งมีความหมายกว้างว่า เพราะ "เวลาราชการ" นั้น หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ ส่วน "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ รวมทั้งเวลาราชการที่ไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ ด้วย เช่นมาตรา 24 วรรคสองให้นับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้รับประกาศให้กฎอัยการศึกเป็นทวีคูณเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ด้วยเหตุนี้มาตรา 14 วรรคสอง จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" แต่ใช้ว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" เพื่อให้มีความหมายกว้างและเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการผู้ลาออกจากราชการนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเวลาราชการจริง ๆ 17 ปี 10 เดือน 30 วัน และมีเวลาราชการทวีคูณในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกอีก 6 ปี 9 เดือน 27 วัน หักวันลากิจ ลาป่วยระหว่างเวลาราชการทวีคูณแล้ว รวมเป็นเวลาราชการทั้งสิ้น 24 ปี 7 เดือน 18 วัน อันเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามนัยดังกล่าว แต่โดยที่มาตรา 4 ประกอบด้วยมาตรา 29 วรรคแรก บัญญัติให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญแต่จำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
ซึ่งโจทก์มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญที่เป็นเศษของปีถึงครึ่งปี คือ 7 เดือน 18 วัน จึงต้องนับเป็นหนึ่งปีเมื่อรวมกัน 24 ปีแรกจึงเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิได้รับบำนาญซึ่งขณะยื่นฟ้องไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้แน่นอนโดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใดจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
of 2