คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวลาเกิดเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8066/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติดต้องระบุเวลาเกิดเหตุชัดเจน และไม่จำเป็นต้องอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุขหากกฎหมายได้ระบุประเภทของยาเสพติดไว้แล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติให้บรรยายรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ระบุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าเกิดการกระทำความผิดในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 เวลาประมาณ 6 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่ชัดแจ้งและทำให้จำเลยเข้าใจได้ดียิ่งกว่าบรรยายว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนเสียอีก จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาแห้งอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายซึ่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (5) ได้บัญญัติไว้แล้วว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จึงไม่จำเป็นต้องอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องการระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาเวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ในเวลากลางคืน แม้จำเลยรับสารภาพ หากโจทก์มิได้นำสืบพิสูจน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงถึงวันที่ 13 เมษายน 2548 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์หลายรายการรวมราคา 65,100 บาท ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถาน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลและทรัพย์ แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้เห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์ไม่นำสืบเวลาเกิดเหตุ ศาลฎีกายกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2536 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 22 เมษายน 2536 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักเลื่อยโซ่ยนต์ของผู้เสียหายไป...แม้คำบรรยายของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่า วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาล เห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืนจึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์: จำเลยต้องได้รับการยกประโยชน์เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์เวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนติดต่อกันวัน เวลาใดไม่ปรากฏชัด จำลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักทรัพย์แผ่นอะลูมิเนียมของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) นั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษลักทรัพย์: จำเลยได้รับประโยชน์จากข้อสงสัยเรื่องเวลาเกิดเหตุ
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษลักทรัพย์ ต้องพิจารณาเวลาเกิดเหตุ หากไม่ปรากฏชัดต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำผิดของจำเลยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดแม้พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจรเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้ถูกจับพร้อมกัน เหตุเกิดต่างเวลากัน
โจทก์ฟ้องคดีทั้งสามสำนวนข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายว่าระหว่างเวลาที่ทรัพย์ถูกลักไปซึ่งแตกต่างกัน จนถึงวันที่เจ้าพนักงานจับจำเลยได้วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยรับของโจรจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน เพราะว่าเวลาที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานรับของโจรแตกต่างกัน แม้จำเลยทั้งสองจะถูกจับพร้อมรถจักรยานยนต์ทั้งสามคันในขณะเดียวกัน ก็หาทำให้การกระทำดังที่โจทก์บรรยายฟ้อง กลายเป็นความผิดกระทงเดียวและกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สมัคร ส.ส. ต้องมีฐานะเป็นผู้สมัคร ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความในพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 93 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครต้องมีสถานะเป็นผู้สมัคร ณ เวลาเกิดเหตุ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2535จำเลยได้มอบเงินให้แก่วัดบ้านบัวบกสะดำ เพื่อจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนหรืองดเว้นมิให้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครอื่นทำให้โจทก์เสียหาย ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์ไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวาที่บัญญัติว่า ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครต้องมีสถานะ ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความใน พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 6