คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวลาเดินทาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงและการยกเว้นการนับเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติมิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7และเมื่อคดียังไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง และข้อยกเว้นการนับเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การพิจารณาข้อยกเว้นเรื่องเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกิน 72 ชั่วโมง ต้องไต่สวนเวลาเดินทางของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อล่วงเลยระยะเวลา 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายมิให้นับเวลาเดินทางปกติที่นำผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการพนักงานสอบสวนขึ้นวินิจฉัยด้วย ยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ศาลชั้นต้นต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความก่อนว่าระยะเวลาที่กฎหมายยกเว้นมิให้นำมานับรวม เข้าดังกล่าวใช้เวลาเท่าใด แล้วจึงมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนด 72 ชั่วโมง: ศาลต้องพิจารณาเวลาเดินทางจากที่จับกุม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อล่วงเลยระยะเวลา 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายมิให้นับเวลาเดินทางปกติที่นำผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการพนักงานสอบสวนขึ้นวินิจฉัยด้วย ยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7ศาลชั้นต้นต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความก่อนว่าระยะเวลาที่กฎหมายยกเว้นมิให้นำมานับรวมเข้าดังกล่าวใช้เวลาเท่าใด แล้วจึงมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาและการหักลบเวลาเดินทางตามกฎหมาย
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา แม้โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.55 น. ซึ่งนับแต่เวลาจับกุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.10 น. โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง 45 นาที ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาปรากฏว่า หลังจากจำเลยถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.30 นาฬิกา แล้ว ในวันเดียวกันเวลา 15.40 นาฬิกา จำเลยจึงถูกควบคุมตัว แสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้เวลาในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบกับยังมีระยะเวลาที่ต้องใช้ในการนำตัวจำเลยพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลคลองสานมายังที่ทำการของพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอีกด้วย เมื่อรวมระยะเวลาที่ใช้ไปในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวทั้งหมดแล้วเชื่อว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง เมื่อกฎหมายมิให้นับเวลาเดินทางตามปกติดังกล่าวเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ เห็นได้ว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงตามกฎหมาย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ประทับฟ้องด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่ชอบ