พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาร่วมรับผิดชอบหนี้: การเสนอร่วมรับผิดชอบและการสนองรับคำเสนอของจำเลยร่วม
การที่จำเลยร่วมที่ 1 ทำหนังสือมีข้อความว่า "ตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้น จำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 20กุมภาพันธ์ 2533 โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์ หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด จำเลยร่วมที่ 1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วม" นั้น เป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่ 1ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมที่ 1 โดยจำเลยร่วมที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาดังกล่าว การที่จำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาว่าราคาวิทยุคมนาคมมีราคาเครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท มิใช่ราคา 97,000 บาท เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยตกลงชำระค่าเช่าวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์และค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลข หากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์ทันทีที่โจทก์บอกเลิกสัญญา โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราดังกล่าว แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์คิดถึงวันฟ้องพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการพิพากษาให้จำเลยร่วมและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคา เป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่า นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติเกษียณก่อนกำหนด: ผู้จัดการโรงงานเสนอ, กรรมการผู้จัดการอนุมัติ
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดได้คือกรรมการผู้จัดการ ดังนั้น ที่ผู้จัดการโรงงานของจำเลยบันทึกลงในคำขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดของโจทก์ว่า เพื่อพิจารณาอนุมัติ จึงเป็นการบันทึกเสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาเท่านั้น หาใช่เป็นการอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอทรัพย์สินเพื่อจูงใจในการเลือกตั้ง: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
แม้จะฟังเป็นความจริงว่าจำเลยพูดปราศรัยให้ประชาชนฟังและแจกจ้างวานให้ผู้สนับสนุนของจำเลยแจกและปิดประกาศใบปลิวแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อจูงใจให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้จำเลยโดยการเสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงิน หรือทรัพย์สินไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่กิจการสาธารณกุศลทั่ว ๆ ไปดังฟ้องก็เป็นกรณีที่จำเลยเสนอจะให้เงินและทรัพย์สินอื่นแก่กิจการสาธารณกุศล เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกจำเลย มิได้ห้ามมิให้เลือกโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ มิใช่กระทำต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเสนอ-สนองที่ไม่สมบูรณ์และการไกล่เกลี่ยที่ไม่ผูกพัน
ประธานอนุกรรมการช่วยเหลือชาวนาชาวไร่เรียกจำเลยทั้งสองมาฝ่ายเดียว ไกล่เกลี่ยให้ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองว่าถ้าโจทก์จะซื้อจำเป็นต้องขายในราคา 40 ,000 บาท จึงได้ทำบันทึกไว้ ต่อมาอีกสามวันประธานอนุกรรมการฯได้เรียกโจทก์ฝ่ายเดียวมาไกล่เกลี่ย โจทก์ตกลงซื้อที่พิพาทในราคา 40 ,000 บาท จึงได้ทำบันทึกไว้อีก บันทึกดังกล่าวทำขึ้นคนละคราว ผู้บันทึกได้ทำบันทึกในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการฯ ไม่ใช่เป็นคู่สัญญาในฐานะตัวแทนของโจทก์หรือจำเลย ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารฉบับแรก มิใช่คำเสนอต่อโจทก์ ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารฉบับหลังมิใช่คำสนอง หากเป็นเพียงคำเสนอ เมื่อจำเลยไม่ยอมขาย คำเสนอของโจทก์ก็ไม่มีการสนองรับ จึงยังไม่เกิดสัญญาขึ้นอันจะบังคับเอาแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075-2079/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงออกเพื่อเสนอบริการทางเพศในที่สาธารณะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี
หญิงมีป้ายหมายเลขติดที่อกเสื้อนั่งคอยในห้องกระจกบ้างนั่งในห้องโถงบ้าง ในโรงแรม เพื่อชายเลือกไปร่วมประเวณี เป็นการแสดงออกด้วยกิริยาในที่สาธารณสถาน เป็นการแนะนำตัวตาม พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทและการเสนอข้อแลกเปลี่ยน ไม่เข้าข่ายกรรโชก
โจทก์จะรื้อบ้านของโจทก์ จำเลยไม่ยอมให้รื้อ อ้างว่าเป็นของจำเลย ถ้ารื้อจะให้ตำรวจจับ แต่จะยอมให้รื้อถ้าโจทก์ให้เงินจำนวนหนึ่งแก่จำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องโต้เถียงกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทในทางแพ่ง จำเลยพูดว่าจะใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและพูดเป็นทำนองเสนอข้อแลกเปลี่ยนเพื่อระงับข้อพิพาท ไม่เป็นการข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้เงินหรือยอมสัญญาจะให้เงินแก่จำเลย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเสนอและสนองที่นำไปสู่การซื้อขายเนื้อที่น้อยลง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่เป็นเงินเท่าใด มีความหมายเพียงไร นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลงเนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง 3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่ ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่าจะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลยทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลงเนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง 3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่ ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่าจะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลยทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นของทั้งสองฝ่าย
ที่ดินของผู้คัดค้านอยู่ในเขตเวนคืนกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับผู้คัดค้านไม่ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ผู้บัญชาการทหารบกผู้ร้อง ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงได้มีหนังสือถึงผู้คัดค้านกำหนดราคาเด็ดขาดสำหรับค่าทดแทนที่ดิน หากผู้คัดค้านไม่สนองรับภายใน 15 วัน ผู้ร้องจะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไป ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบมาภายใน 15 วัน ว่าไม่ยินยอมตกลงตามราคาที่ผู้ร้องกำหนดมา และขอใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน แสดงว่าผู้คัดค้านเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ประสงค์ใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการ และนำเงินค่าทดแทนมาวางศาลเพื่อจะเข้าครอบครองที่ดินหาได้ไม่ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มิได้บังคับว่าการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการจะต้องระบุข้อบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 211 ไว้ด้วย และการดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไปนั้น มิได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายในอันที่จะดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: การเสนอและสนองสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารได้เปิดเพื่อชำระราคาสินค้าของลูกค้าของธนาคารนั้นย่อมถือว่าเป็นคำเสนอ เมื่อได้มีการส่งสินค้ามาตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วก็ย่อมถือได้ว่ามีคำสนองก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9686/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ: โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่าเรือข้อ 21 ที่กำหนดว่า หากจำเลยใช้เวลาในการนำสินค้าบรรทุกลงเรือและขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือเกิน 6 วัน จำเลยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมความล่าช้า (Demurrage) แม้ตามสัญญาเช่าเรือข้อ 24 จะมิได้กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ แต่ปัญหาว่าจำเลยใช้เรือล่าช้าเกินเวลาที่กำหนดอันเป็นผลให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อตกลงในสัญญาเช่าเรือดังกล่าว เมื่อสัญญาข้อ 24 กำหนดให้ระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงต้องเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการก่อน