คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสนอความเห็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะกรรมการสอบสวนวินัยมีอำนาจเสนอความเห็นให้ดำเนินคดีอาญาได้ หากพบมูลความผิดทางอาญาควบคู่ไปด้วย
ไม่มีข้อความตอนใดในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ห้ามคณะกรรมการสอบสวนมิให้ทำรายงานการสอบสวนว่าการกระทำของข้าราชการที่ถูกสอบสวนทางวินัยมีมูลความผิดทางอาญาด้วย และไม่มีกฎหมายใดระบุ ไว้เช่นนั้นดังนี้ ถ้าในการสอบสวนโจทก์ปรากฏว่ามีมูลความผิดทางอาญาคณะกรรมการสอบสวนก็มีอำนาจที่จะทำความเห็น ให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ได้การที่จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ สอบสวนโจทก์ทางวินัยได้ทำความเห็นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีว่า การกระทำของโจทก์มีมูลความผิดทางอาญาให้พิจารณาสั่งการ ตามที่เห็นสมควรจึงเป็นการเสนอความเห็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีเจตนาร้ายหรือกลั่นแกล้งปรักปรำโจทก์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสอบสวนวินัยเสนอความเห็นดำเนินคดีอาญาได้ หากการกระทำผิดทางวินัยเข้าข่ายความผิดอาญา
ไม่มีข้อความตอนใดในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497ห้างคณะกรรมการสอบสวนมิให้ทำรายงานการสอบสวนว่าการกระทำของข้าราชการที่ถูกสอบสวนทางวินัยมีมูลความผิดทางอาญาด้วยและไม่มีกฎหมายใดระบุ ไว้เช่นนั้น ดังนี้ ถ้าในการสอบสวนโจทก์ปรากฏว่ามี มูลความผิดทางอาญาคณะกรรมการสอบสวนก็มีอำนาจที่จะทำความเห็น ให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ได้การที่จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ สอบสวนโจทก์ทางวินัยได้ทำความเห็นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีว่า การกระทำของโจทก์มีมูลความผิดทางอาญาให้พิจารณาสั่งการ ตามที่เห็นสมควรจึงเป็นการเสนอความเห็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีเจตนาร้ายหรือกลั่นแกล้งปรักปรำโจทก์จำเลยจึงไม่ มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดพนักงานและองค์ประกอบความผิดฐานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเสนอความเห็นตามระเบียบ
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2555 ข้อ 20 กำหนดว่า "การแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน ให้คณะกรรมการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อพิจารณา โดยให้ผู้บริหารสูงสุดเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาด้วย" ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบมีมติเสนอแต่งตั้งให้โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายในเสนอต่อคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์เพื่อพิจารณา จำเลยในฐานะผู้บริหารสูงสุดมีหน้าที่ต้องเสนอความเห็นให้แก่คณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาด้วย หากการเสนอความเห็นของจำเลยเป็นไปโดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง ส่วนปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ครั้งที่ 9/2556 และครั้งที่ 1/2557 ว่าควรเปิดให้มีการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน โดยจำเลยได้ยืนยันต่อที่ประชุมว่าไม่ได้ขัดข้องในเรื่องของตัวบุคคลและยินดีสนับสนุน และข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2555 ข้อ 20 นั้นไม่ได้บังคับไว้ว่า การเสนอความเห็นของผู้บริหารสูงสุดต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ผู้บริหารสูงสุดจึงสามารถที่จะเสนอความเห็นด้วยวาจาต่อที่ประชุมคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้ ดังนั้น การแสดงความเห็นด้วยวาจาของจำเลยดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นการเสนอความเห็นให้แก่คณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์เพื่อประกอบการพิจารณาว่าสมควรแต่งตั้งให้โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายในตามที่คณะกรรมการตรวจสอบเสนอหรือไม่ อันเป็นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2555 ข้อ 20 แล้ว ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์มีมติรับทราบและมอบหมายให้จำเลยรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป มติดังกล่าวย่อมไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยเพราะจำเลยไม่มีอำนาจสั่งให้มีการสรรหาบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายในได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11