คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสรีภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยถูกข่มขู่: โมฆียะตามกฎหมาย
พฤติการณ์ที่โจทก์ถูกจำเลยใช้กำลังข่มขู่บังคับจากจังหวัดสมุทรปราการให้จำต้องมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ตลอดเวลา 12 วันและถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ขณะจดทะเบียนสมรสก็ยังอยู่ในความควบคุมของจำเลยเช่นนี้ โจทก์เพียงลำพังย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้าน จะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตนตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังไม่จำกัดระยะเวลา หากทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพ ถือเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังตาม ป.อ. มาตรา 310 นั้นไม่ได้กำหนดว่าผู้กระทำผิดจะต้องหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเป็นเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นความผิด หากการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังนั้นทำให้ผู้อื่นต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายแล้วก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 310 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระทำอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขัง: การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศและการลิดรอนเสรีภาพ
จำเลยกอดคอผู้เสียหายและจับแขนผู้เสียหายลากเพื่อจะพาเข้าห้องพักในโรงแรม เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ มีความผิดฐานกระทำอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ผู้เสียหายนั่งรถยนต์ไปกับจำเลย ผู้เสียหายขอลงจากรถตั้งแต่ตอนถึงตลาดแล้ว แต่จำเลยบ่ายเบี่ยงเป็นว่าจะไปธุระกับเพื่อนก่อน เมื่อถึงหน้าโรงแรม ผู้เสียหายรู้ตัวว่า จำเลยคิดมิดีมิร้ายจึงพูดขอลงและจะเปิดประตูรถ แต่จำเลย ไม่ยอมให้ลงโดยล็อกประตูรถไว้ ดังนี้จำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายไม่ให้ลงจากรถจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760-2761/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยไม่สมเหตุผล แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจไปด้วย และการกระทำความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยพาผู้เสียหายที่2ไปในที่ต่างๆโดยผู้เสียหายที่1ซึ่งเป็นมารดาของผู้เสียหายที่2ไม่ทราบว่าผู้เสียหายที่2ไปไหนเป็นเวลาหลายชั่วโมงย่อมเป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายที่1แม้ผู้เสียหายที่2จะสมัครใจไปด้วยและจำเลยมิได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่2ก็เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาเรื่องค่าเสียหายจากการถูกจำกัดเสรีภาพ – ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งห้าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าอาหาร ค่าที่พักค่าใช้จ่ายในการติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศสิงคโปร์ และค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ อับอายขายหน้า สูญเสียเวลานัดหมายและธุรกิจแต่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า การที่จำเลยห้ามไม่ให้โจทก์ที่ 1 ขึ้นเครื่องบินของจำเลยเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้โจทก์ทั้งห้าจำยอมอยู่ในประเทศสิงคโปร์ไม่สามารถเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาตามเจตนาได้ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพ จำเลยต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนในการทำให้โจทก์ทั้งห้าเสียเสรีภาพ เป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ทำให้โจทก์ทั้งห้าเสียเสรีภาพ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องนอกคำฟ้อง: การอ้างเสียเสรีภาพเกินขอบเขตคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งห้าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่พนักงานของจำเลยสั่งห้ามเดินทางทางเครื่องบินของจำเลยเป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายในการติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศสิงคโปร์ และค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ อับอายขายหน้าสูญเสียเวลานัดหมายและธุรกิจ แต่ฎีกาของโจทก์ทั้งห้าที่ว่า การที่จำเลยห้ามไม่ให้โจทก์ที่ 1 ขึ้นเครื่องบินของจำเลยเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพ นั้นเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ทำให้โจทก์ทั้งห้าเสียเสรีภาพก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานและการกระทำความผิดต่อเสรีภาพ – การใช้อำนาจโดยมิชอบเพื่อข่มขืนใจและยึดทรัพย์
การกระทำอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 นั้นในส่วนของการกระทำจะต้องเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ แต่ถ้าใช้นอกตำแหน่งก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายได้ทั่วราชอาณาจักร ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งแกล้งกล่าวหาผู้เสียหายว่ากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ในขณะที่ผู้เสียหายกำลังเลื่อยไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มี น.ส.3 ของตนเอง ซึ่งถือว่ามีสิทธิกระทำได้โดยชอบ ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้เสียหายขัดขวางในการที่จำเลยกับพวกจะยึดเอาเลื่อยยนต์ของผู้เสียหายไป เป็นการกระทำที่ข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมมอบทรัพย์สินให้แก่จำเลยกับพวก จึงเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการกระทำความผิดต่อเสรีภาพ: การแบ่งหน้าที่และสนับสนุนการหลบหนีถือเป็นตัวการ
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 และ ห.มาที่บ้านโจทก์ร่วมระหว่างที่จำเลยที่ 1 และ ห.ขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2กลับรถหันหน้าออกถนนใหญ่และติดเครื่องยนต์ไว้ตลอดเวลา เมื่อจำเลยที่ 1 และ ห.กระทำความผิดแล้ววิ่งออกจากบ้านมาขึ้นรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 จอดคอยอยู่แล้วหลบหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และ ห.วางแผนกระทำผิดว่าเมื่อจำเลยที่ 1 และ ห.ฉุดคร่าโจทก์ร่วมลงจากบ้านแล้ว จำเลยที่ 2 รับหน้าที่คอยพาตัวโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 กับ ห.หลบหนีไปเช่นนี้ ถือได้ว่า เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ และร่วมกระทำความผิดด้วยกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการกระทำผิดต่อเสรีภาพด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องพิจารณาความจริงตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของลูกหนี้
การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2463 ว่าคดีมีเหตุควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาคดีจะไม่มีประเด็นโต้เถียงโดยตรงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 90,000บาท จริงหรือไม่ ศาลก็มีอำนาจพิจารณาไปถึงประเด็นดังกล่าวได้เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง8,000 บาท จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 9(2) ที่แก้ไขแล้ว
of 4