คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสาเข็ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งคืนที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหลังเลิกสัญญาเช่า สิทธิในการรื้อถอนเสาเข็ม
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ถูกต้องบางส่วน แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ไม่ถูกต้องมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้บังคับคดีแก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามคำฟ้องโจทก์ได้ และจำเลยจะยกเอาความไม่ถูกต้องในคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาอ้างเพื่อลบล้างคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ถูกต้องหาได้ไม่
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ในสภาพที่ได้รับมา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 561 และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด รวมทั้งเสาเข็มของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าด้วย เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งระบุว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยยืนยันไม่ประสงค์จะใช้สิทธิรื้อถอนเสาเข็ม โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยได้และพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรื้อถอนเสาเข็มใต้ดินนั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้บังคับคดีแก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามคำฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าเสาเข็มจากการก่อสร้างอาคารเรียน จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนหากโจทก์ทำงานตามแบบ
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างอาคารเรียน จำเลยได้รับมอบงานตอกเสาเข็มซึ่งเป็นงานในงวดที่ 1 และจ่ายค่าจ้างตามงวดเรียบร้อยแล้วโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งว่าโจทก์ทำงานไม่ถูกต้อง นอกจากนั้นจำเลยรับมอบงานก่อสร้างทั้งหมด เพียงแต่หักเงินค่าเสาเข็มเมื่อจ่ายเงินค่าจ้างงวดที่ 4 เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าเสาเข็ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของจำเลยร่วมจากการขุดเจาะลงเสาเข็ม และอายุความการฟ้องละเมิด
โจทก์ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญศาลและต่อมาได้ขอส่งรายงานของ ณ.ตามคำแถลงของ ณ.โดยจำเลยที่ 3 มิได้คัดค้านว่า ณ.มิใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญศาล จึงต้องถือว่า ณ.ได้ลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียก ณ. ย่อมถือโดยปริยายว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 99 แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญซ้ำซ้อนอีก และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะแต่งตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกคู่ความมาตกลงให้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 129 (1)
ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของ ณ.ย่อมรับฟังได้
จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2กระทำ โดยจำเลยที่ 3 ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้ แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกัน ซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายเสาเข็มและการชดใช้ค่าเสียหายจากการตอกเสาเข็มผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม 2 ขนาด จำนวน 14 ต้น จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วย แต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป 10 ต้น เป็นเพราะความผิดของโจทก์ โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีก เสาเข็มจำนวน10 ต้น ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก 4 ต้น จำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก 29 ต้น จำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่ 4 ต้น โจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลย จึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็ม แม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วย แต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเอง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน 10 ต้น นั้น เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้ เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทน ส่วนอีก 4 ต้น ที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้น และเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม สัญญาซื้อขายเสาเข็ม การตอกเสาเข็มผิดพลาด และการชำระค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม2ขนาดจำนวน14ต้นจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่งซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วยแต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป10ต้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีกเสาเข็มจำนวน10ต้นที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก4ต้นจำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก29ต้นจำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่4ต้นโจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลยจึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ยจะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็มแม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วยแต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเองเมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน10ต้นนั้นเนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทนส่วนอีก4ต้นที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้นและเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034-5039/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเสาเข็มในสัญญาจ้างก่อสร้าง: เจตนาของสัญญาและการหักเงินค่าจ้าง
การก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาจำเลยตามแบบแปลนและสัญญาต้องมีการเจาะสำรวจชั้นดินก่อน การก่อสร้างจะใช้เสาเข็มขนาดไหน จำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับผลการสำรวจ ตามรายการต่อท้ายสัญญาระบุว่า "การก่อสร้างฐานราก ของอาคารใดต้องใช้เสาเข็มชนิดที่สามารถรับน้ำหนักได้ตามกำหนดในแบบแปลน แต่เสาเข็มนั้นเป็นขนาดเล็กหรือจำนวนน้อยกว่าเกณฑ์ที่ผู้ว่าจ้างกำหนดเป็นมาตรฐานราคากลาง ในการนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินค่าจัดหารวมค่าตอกเข็มของอาคารนั้นออกเท่ากับจำนวนที่คำนวณได้จากสูตรที่กำหนดในเงื่อนไขการหักค่าเข็ม" ข้อสัญญานี้หมายความว่าถ้าผลสำเร็จในคุณภาพของงานที่จำเลยจะได้รับนั้นเท่าเดิมโดยโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่าย น้อยลงไปในการทำการงานส่วนนี้แล้ว ค่าจ้างจะต้องลดลงตามส่วนโดยคำนวณตามสูตรที่กำหนดไว้ ปรากฏว่าดินในที่ก่อสร้างเป็นดินแข็ง หากใช้เสาเข็มรูปตัวทีตามแบบเดิมเสาเข็มจะหัก โจทก์ต้องใช้เสาเข็มตัน และขนาดใหญ่กว่าแบบเดิม แต่มีจำนวนต้นน้อยกว่าโดยโจทก์จำเลยเห็นชอบแล้ว ทั้งราคาและค่าใช้จ่ายในการตอก เสาเข็มตัน ต่อต้นสูงกว่าเสาเข็มรูปตัวที การเปลี่ยนเสาเข็มดังกล่าวไม่เป็นกรณีทำให้ผลงานของจำเลยลดคุณภาพและทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ทำงานน้อยลงไป กรณีจึงไม่อยู่ในเจตนารมณ์ของข้อสัญญาดังกล่าว
สูตรหักค่าเข็มคือ x =y - abel x คือ จำนวนเงินค่าเข็มที่จะหักออก a คือ จำนวนเสาเข็ม b คือ ความยาวเส้นรอบรูป c คือค่าที่กำหนดในตาราง 1 สูตรดังกล่าวต้องอยู่ภายในเงื่อนไข 2 ประการคือ โจทก์ต้องใช้เสาเข็มจำนวนเท่าเดิมและชนิดเดิม แต่ขนาดเล็กกว่าประการหนึ่ง หรือโจทก์ใช้เสาเข็มชนิดและขนาดเท่าเดิม แต่จำนวนต้นน้อยกว่าที่ระบุไว้แต่เดิมในสัญญาอีกประการหนึ่ง กรณีของโจทก์นั้นเสาเข็มที่ใช้เป็นเสาเข็มตัน และขนาดใหญ่กว่า เป็นการแตกต่างกันทั้งชนิดและขนาด เมื่อตอก แล้วจะรับน้ำหนักได้มากกว่าเดิมจากที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่อาจจะนำเอาข้อกำหนดในรายการต่อท้ายสัญญาและสูตรหักค่าเข็มมาหักเงินค่าจ้างจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทจากการขนส่งเสาเข็มโดยรถลากจูง และความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อลูกจ้าง
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาในเวลากลางคืนลากจูงรถพ่วงบรรทุกเสาเข็มคอนกรีตยาวประมาณ 25 เมตรมาด้วย 2 ต้น ไม่มีสัญญาณไฟตามแนวความยาวของเสาเข็ม เมื่อรถลากจูงเลี้ยวขวาจากถนนหนึ่งเข้าอีกถนนหนึ่งไปแล้ว ตัวรถพ่วงเสาเข็มยังทะแยงขวางถนนอยู่ เป็นเหตุให้รถจี๊ปตรวจการณ์ปะทะกับส่วนกลางของเสาเข็มถูกลากติดไปกับส่วนหน้าของรถพ่วงและอัดติดอยู่ใต้เสาเข็มผู้ตายซึ่งนั่งมาในรถจี๊ปถึงแก่ความตายทันที ดังนี้เป็นความประมาทของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากรถลากจูงบรรทุกเสาเข็มโดยประมาท และความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาในเวลากลางคืนลากจูงรถพ่วงบรรทุกเสาเข็มคอนกรีตยาวประมาณ 25 เมตรมาด้วย 2 ต้นไม่มีสัญญาณไฟตามแนวความยาวของเสาเข็ม เมื่อรถลากจูงเลี้ยวขวาจากถนนหนึ่งเข้าอีกถนนหนึ่งไปแล้ว ตัวรถพ่วงเสาเข็มยังทะแยงขวางถนนอยู่เป็นเหตุให้รถจี๊ปตรวจการณ์ปะทะกับส่วนกลางของเสาเข็มถูกลากติดไปกับส่วนหน้าของรถพ่วงและอัดติดอยู่ใต้เสาเข็มผู้ตายซึ่งนั่งมาในรถจี๊ปถึงแก่ความตายทันที ดังนี้เป็นความประมาทของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาเข็ม: การเพิ่มจำนวนเสาเข็มและขอบเขตของสัญญาเดิม
สัญญาซื้อเสาเข็มระบุว่าจำนวนเสาเข็มคอนกรีตอันแท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด ให้ถือเอาจำนวนที่วิศวกรของผู้ซื้อจะกำหนดเมื่อทำการก่อสร้าง หมายถึงอาจเพิ่มหรือลดจำนวนที่ตกลงกัน 600 ต้น ได้ในงานคราวเดียวกัน จำเลยสั่งซื้ออีก 500 ต้น หลังเวลานานถึง 1 ปี มิใช่เสาเข็มที่ระบุในสัญญา แต่เป็นการสั่งซื้อใหม่ ผู้ขายไม่ส่งเสาเข็มจำนวนนี้ ไม่เป็นผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาเข็ม: หน้าที่ผู้ซื้อในการเตรียมพื้นที่และผลกระทบต่อความล่าช้า
สัญญาซื้อขายเสาเข็มกำหนดให้ผู้ขายตอกเข็มด้วย โดยผู้ซื้อต้องเตรียมสถานที่ให้พร้อมที่จะตอกได้ ต้องเตรียมทางให้รถยนต์บรรทุกเสาเข็มเข้าถึงได้ เป็นหน้าที่ผู้ซื้อตัดเสาเข็มที่ตอกจมดินไม่ได้ ผู้ซื้อไม่รื้อถอนรากฐานเก่าไม่ทำทางให้รถเข้าได้สะดวก ไม่ตัดหัวเสาเข็มทำให้การตอกเข็มสำเร็จล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อต้องรับผิดใช้ราคาเสาเข็มที่ซื้อ
of 2