คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสาไฟฟ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินตกเป็นทางสาธารณะ การไฟฟ้านครหลวงวางเสาไฟฟ้าไม่ละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เลขที่77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนน และที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล.เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่น การแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้ โดย ล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลง รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล.ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304 (2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ & การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์: การวางเสาไฟฟ้าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ การที่โจทก์ไปขอใช้เงินแก่เจ้าของที่ดินจำเลยคนก่อนแต่เขาไม่ยอมก็ดีหรือโจทก์ขอให้ผลมะพร้าวให้จำเลยแล้วผิดข้อตกลงกันก็ดี เมื่อเป็นเรื่องโจทก์เสนอให้ค่าตอบแทนเพื่อโจทก์จะทำถนนได้กว้างขึ้นเท่านั้น จึงไม่ทำให้ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมอยู่แล้วกลายเป็นไม่เป็นภารจำยอมหรือภารจำยอมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด แม้ทางพิพาทจะตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่การปักเสาไฟฟ้าการวางสายไฟฟ้าในที่ดินจำเลยที่เป็นภารจำยอมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ทำให้เกิดภารเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ให้ค่าทดแทนและไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยโจทก์จึงหามีสิทธิปักเสาพาดสายไฟฟ้าตามทางพิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเสาไฟฟ้า, ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยประเด็นสำคัญ, ฎีกาวินิจฉัยเองได้
การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าเสาไฟฟ้าเป็นของโจทก์นั้นเป็นการฟังข้อเท็จจริงมาจากคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยมิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยให้ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ทั้ง ๆ ที่เป็นประเด็นที่จำเลยที่ 3 ให้การและอุทธรณ์ต่อสู้ไว้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเสาไฟฟ้าไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 142 แห่ง ป.วิ.พ. ประเด็นดังกล่าวนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการไฟฟ้าต่อความเสียหายจากเสาไฟฟ้าล้มเนื่องจากไฟไหม้หญ้า
กระแสไฟฟ้าที่จำเลยจัดให้มีขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นของที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ ผู้ครอบครองต้องรับผิดถ้าเกิดความเสียหายขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง เมื่อจำเลยยอมรับว่าเสาไฟที่หักเป็นทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยจะพ้นผิดก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์ผู้เสียหายเองหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย
ข้อเท็จจริงได้ความว่าเสาไฟที่หักเป็นเสาไม้เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 คืบขึงสายไฟแรงสูง 10,000โวลท์ 3 เส้นบนหัวเสา ปักอยู่ในทุ่งหญ้ามาตั้งแต่ปีพ.ศ.2511 ทุกปีจะมีไฟไหม้ทุ่งหญ้า เสาไฟต้นที่ปักถัดไปเคยถูกไฟไหม้หักมาแล้ว หญ้าในทุ่งเต็มมาถึงโคนเสาไฟ ไม่เคยมีใครเข้าไปถางหญ้าโคนเสา ไฟไหม้หญ้าเป็นทางมาถึงโคนเสาที่หักเช่นนี้ เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยควรรู้ได้เป็นอย่างดีว่าบริเวณนั้นมีไฟไหม้หญ้ามาติดเสาไฟซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ถ้าใช้ความระมัดระวังไม่ปล่อยให้มีหญ้าขึ้นอยู่เต็มที่โคนเสาไฟก็อาจป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก จึงอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะป้องกันได้ อันตรายที่เกิดขึ้นถือไม่ได้ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย ข้อความในหนังสือสัญญาแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการ ใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงานแม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่สั่งลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจท์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บ ภาษีจากโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ใช้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายข้อความในหนังสือสัญญาให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงาน แม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะของทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่ลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตาม มาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทกืไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในความเสียหายจากการชนเสาไฟฟ้า และขอบเขตค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ รวมถึงค่าแรงซ่อมแซมและค่าเครื่องมือที่ใช้
การที่คนงานของโจทก์ต้องหยุดงานอื่นที่ต้องทำตามปกติ ไปทำการซ่อมแซมเสาไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าของโจทก์ ซึ่งเสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าแรงงานแก่คนงานที่ไปทำงานเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปฏิบัติงานตามปกติ และโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าเมื่อคนงานของโจทก์ต้องหยุดงานอื่นที่ต้องทำงานตามปกติ โจทก์เสียหายไปเพียงใด คงได้ความเพียงว่าโจทก์จ่ายเงินค่าจ้างประจำให้เท่านั้นเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับค่าแรงดังกล่าว
รายการครุภัณฑ์ยานพาหนะของโจทก์ที่ใช้สำหรับทุ่นแรง หัว ยก และลำเลียงเสา ตลอดจนรถวิทยุบริการติดต่อกับศูนย์สั่งการ ที่จะทำการตัดไฟตามจำนวนที่ต้องการค่ารถชนหินทรายเพื่อนำไปหล่อฐานเสาคอนกรีตที่เสียหายและเก็บหินทรายไปทิ้งให้เรียบร้อยเป็นรายการค่าเสียหายเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยตรง หาใช่เป็นความเสียหายที่ไกลกว่าเหตุไม่ จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในรายการเหล่านี้ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อจากการบรรทุกเสาไฟฟ้าแล้วปล่อยให้ตกขวางถนน จนเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตและบาดเจ็บ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้ล้อพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาขวางถนน จนกระทั่งค่ำแล้วจำเลยก็ไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่น เพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนอยู่นั้น เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสา มีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท และผลเสียหายเกิดขึ้นจากการที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้แต่หากระทำไม่ จำเลยจึงมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตั้งเสาไฟฟ้าบนที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สำรวจสิทธิและไม่ขออนุญาต ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับการไฟฟ้านครหลวงจำเลยและบริวารระงับการกระทำละเมิดต่างๆ บนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม พร้อมทั้งให้รื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ซึ่งได้กระทำลงบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม จำเลยให้การว่า จำเลยดำเนินการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าตามคำขอของการเคหะแห่งชาติ ชาวบ้านผู้ใหญ่บ้านซอยชุมชนวัดพรพระร่วงประสิทธิ์ ซึ่งจำเลยตรวจสอบและเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบแล้วจึงดำเนินการให้ตามขอ โดยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทั้งได้รับคำยืนยันจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านและสำนักงานเขตบางเขนว่า ที่ดินในซอยวัดพรพระร่วงประสิทธิ์เป็นทางสาธารณะ จำเลยไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอม คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอมก็เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพยานนอกประเด็นข้อพิพาท และเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นทางสาธารณะ การที่การไฟฟ้านครหลวงจำเลยทำการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในที่ดินพิพาทโดยมิได้สำรวจตรวจสอบถึงสิทธิในที่ดินให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน และมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตั้งเสาไฟฟ้าบนที่ดินภาระจำยอมไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์ หากไม่กีดขวางทางเข้าออก
บันทึกข้อตกลงทางภาระจำยอมเรื่องทางเดินและทางรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อตกลงให้ปักเสาไฟฟ้าลงบนที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอม แต่ปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงและเจริญมากขึ้น การใช้ไฟฟ้าตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการย่อมเป็นสิ่งจำเป็นต่อประชาชนทั่วไป การที่จำเลยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคติดตั้งเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าบนที่ดินภาระจำยอมเพื่อนำไปใช้ในที่ดินของจำเลยโดยปักเสาไฟฟ้าอยู่ตามแนวยาวของทางภาระจำยอมด้านข้างไม่เป็นการกีดขวางทางเข้าออกจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเจ้าของสามยทรัพย์ทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 จำเลยย่อมมีสิทธิกระทำได้