พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดโดยไม่แจ้งเหตุ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้ และไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้ยืมและจำนอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยให้การต่อสู้คดี ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่งได้ กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่ การปิดบัญชีและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนเสียชีวิต ไม่ถือเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
ผู้ตายได้โอนที่ดินให้บุคคลอื่นไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนเงินฝากของผู้ตายในธนาคาร ผู้มีอำนาจในการถอนเงินได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก จึงไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดกของผู้ตายเพราะไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ กฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อนำมาจัดการผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกจริง การไม่มีทรัพย์สินไม่อาจเป็นเหตุให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 กำหนดเหตุในการร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 3 กรณี คือ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายหรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ เหตุในการขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ร้องเป็นการอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดก แต่ปรากฏว่าที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น ผู้ตายได้โอนให้บุคคลอื่นไปแล้วในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเงินฝากในบัญชี ผู้มีอำนาจในการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นการดำเนินการโดยชอบตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากที่ทำไว้กับธนาคารจึงไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดกของผู้ตายเพราะไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ กฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อนำมาจัดการแต่อย่างใด กรณีไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9724/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน เหตุจากเหตุขัดข้องในการจัดหาเอกสารไม่เพียงพอต่อการอนุญาตตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษี พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคสี่ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานไว้ว่า คู่ความซึ่งขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน โดยอ้างว่าได้ปรับปรุงซ่อมแซมที่ทำการของโจทก์ ได้เคลื่อนย้ายเอกสารต่าง ๆ และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เดินทางไปต่างประเทศไม่สามารถหาเอกสารยื่นต่อศาลได้ทันนั้น มิใช่เหตุขัดข้องในการยื่นบัญชีระบุพยาน กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทและการตั้งผู้จัดการมรดก: กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใชทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย แม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรมเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าวก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาทกรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 55ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก กรณีมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
คดีนี้เป็นคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ตามคำร้องหรือไม่เท่านั้นแม้ผู้คัดค้านทั้งสองคัดค้านว่าที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้าน แต่เมื่อปรากฏในเบื้องต้นว่าที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) มีชื่อ ส.เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)มีชื่อ ส.เป็นผู้ทำประโยชน์ ผู้คัดค้านเคยไปขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แต่มี ว.ไปคัดค้าน เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงระงับการออกโฉนดไว้ กรณีพอถือได้ว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของ ส. ทั้งผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา1718 ก็มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องและผู้ร้องมีสิทธิ
คดีนี้เป็นคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ตามคำร้องหรือไม่เท่านั้น แม้ผู้คัดค้านทั้งสองคัดค้านว่าที่ดิน 2 แปลง ดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้าน แต่เมื่อปรากฏในเบื้องต้นว่าที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)มีชื่อ ส. เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) มีชื่อ ส.เป็นผู้ทำประโยชน์ผู้คัดค้านเคยไปขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แต่มี ว.ไปคัดค้าน เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงระงับการออกโฉนดไว้กรณีพอถือได้ว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของ ส. ทั้งผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1718 ก็มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา: การร้องขอเลื่อนคดี/ถอนทนาย ถือเป็นเหตุขัดข้องชอบธรรม
การขาดนัดพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันสืบพยานประการหนึ่ง ประกอบกับมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานอีกประการหนึ่งหากคู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน แต่ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลก่อนลงมือสืบพยาน แต่ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไป ก็ถือไม่ได้ว่าคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณา
ทนายจำเลยทั้งสองได้นำคำร้องขอถอนตนมายื่นต่อศาลแล้วกลับไปก่อนศาลออกนั่งพิจารณา ถือได้ว่าฝ่ายจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยาน แต่การที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนตนจากการเป็นทนายแล้วกลับไป ถือได้ว่าฝ่ายจำเลยได้แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลแล้ว การที่ศาลไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยทั้งสองถอนตนแล้วลงมือสืบพยานโจทก์ไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา แม้ต่อมาจะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี จำเลยทั้งสองก็จะขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 207 มิได้
ทนายจำเลยทั้งสองได้นำคำร้องขอถอนตนมายื่นต่อศาลแล้วกลับไปก่อนศาลออกนั่งพิจารณา ถือได้ว่าฝ่ายจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยาน แต่การที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนตนจากการเป็นทนายแล้วกลับไป ถือได้ว่าฝ่ายจำเลยได้แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลแล้ว การที่ศาลไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยทั้งสองถอนตนแล้วลงมือสืบพยานโจทก์ไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา แม้ต่อมาจะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี จำเลยทั้งสองก็จะขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 207 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม เหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และฐานะทายาท
ตามพินัยกรรมมีข้อความให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่มีข้อความใดจำกัดห้ามมิให้ผู้ร้องจัดการมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกโดยมิได้จำกัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมด จึงชอบแล้ว
ตามคำร้องขอได้แสดงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก คำคัดค้านก็มิได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก แสดงว่ายอมรับว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่ต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกอีก
พินัยกรรมระบุให้ตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมด ซึ่งหมายถึงตัวผู้คัดค้านด้วย ผู้คัดค้านจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
ตามคำร้องขอได้แสดงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก คำคัดค้านก็มิได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก แสดงว่ายอมรับว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่ต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกอีก
พินัยกรรมระบุให้ตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมด ซึ่งหมายถึงตัวผู้คัดค้านด้วย ผู้คัดค้านจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4210/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดี: ศาลชอบที่จะจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ทราบวันนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุ
โจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี แม้โจทก์จะอ้างว่าเหตุที่มิได้มาศาลตามกำหนดนัดเกิดเพราะรถยนต์ขัดข้องก็มิใช่กรณีที่ศาลจำหน่ายคดีไปโดยผิดหลงหรือผิดระเบียบ อันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนคำสั่งได้และการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะขอให้พิจารณาใหม่ โจทก์เพียงแต่มีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องเข้ามาใหม่ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200