พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดใส่ความว่า 'ยักยอกและตามตัวไม่พบ' เป็นการหมิ่นประมาท แม้กล่าวตอบคำถามและมีเหตุขัดแย้ง
โจทก์ร่วมถูกร้องเรียนว่ายักยอกเอาเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาราชการแทนโจทก์ร่วมได้แจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับผู้ช่วยสมุห์บัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวของจำเลยทำให้สมุห์บัญชีธนาคารเข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการและหนีไปจึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมแม้จำเลยกล่าวออกไปโดยถูกถามแต่จำเลยย่อมสำนึกในการกระทำและเล็งเห็นผลของการกระทำว่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อีกทั้งปรากฏว่าสาเหตุที่มีการระงับการจ่ายเงินเดือนเพราะโจทก์ร่วมไม่ยอมลงชื่อในหลักฐานการจ่ายเงินเดือน หาใช่เพราะโจทก์ร่วมยักยอกและตามตัวไม่พบไม่ และจำเลยกับโจทก์ร่วมก็มีเหตุขัดแย้งไม่พอใจในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการกันอยู่ การกล่าวข้อความของจำเลยจึงมิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต แต่มีเจตนาใส่ความโจทก์ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องระบุเหตุขัดแย้งที่ชัดเจน
จำเลยที่ 1 ฎีกาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายโดยยกเอาคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาเป็นข้อบรรยายแล้วสรุปว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เองเป็นทำนองว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีข้อความขัดแย้งกันเอง แต่ไม่มีข้อความบรรยายให้ปรากฏชัดว่าขัดแย้งในเรื่องใด เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการฟ้องเลิกมูลนิธิ และเหตุขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการปกครองท้องที่ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 97 ดำรงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนมีอำนาจอนุญาตให้มูลนิธิที่ได้รับอนุญาตแล้วจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตลอดจนมีอำนาจออกกฎกระทรวงและดูแลมูลนิธิทั้งหลายให้ปฏิบัติตามกฎหมายและตราสารจัดตั้งมูลนิธินั้น ๆ แต่หาได้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับมูลนิธิไม่ จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 93 ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิ การที่มูลนิธิผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกันกับพวกทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการอาจเอื้อมไม่บังควรอย่างยิ่งและเป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องยุคลบาท น่าจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันอาจจะมีผลทำให้ประชาชนที่รู้ข้อความในหนังสือดังกล่าวเดินขบวนในแง่ไม่เห็นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งพนักงานอัยการชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เลิกมูลนิธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93(1)สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 14 จึงย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้แก่สมาคมหรือองค์กร ใดซึ่งรวมถึงมูลนิธิด้วยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการอนุญาต/ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรต้องเป็นไปตามกฎหมาย และโจทก์ต้องระบุเหตุที่คำสั่งนั้นขัดต่อกฎหมาย
อำนาจที่จะพิจารณาสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาเพียงใด เป็นอำนาจโดยเฉพาะของกรมตำรวจจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 35 โจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่อนุญาตให้โจทก์อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในคำฟ้องไม่ได้ความว่าฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายใด ดังนี้ถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่อาจพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้