พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีอาญาเยาวชน: เหตุบรรเทาโทษ, การฝึกอบรม, และการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่น มีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนาฆ่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้โดยยกฟ้องฐานพยายามฆ่าผู้อื่น แต่ให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กาย จึงมิใช่กรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อมีการได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8677/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: เหตุบรรเทาโทษจากพฤติการณ์ผู้ตายหาเรื่องก่อน และการรับสารภาพ
ก่อนเกิดเหตุจำเลยมีเรื่องโกรธเคืองกับผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายด่าจำเลยว่าไอ้หน้าตัวเมีย และท้าทายจำเลยให้มาชกต่อยกัน จำเลยก็ได้พูดกับผู้ตายว่า อีกสักครู่จะมา อันเป็นการรับคำท้าทาย จำเลยและ ค. ไปขออาวุธปืนและกระสุนปืนที่ ค. ฝากไว้กับ ข. คือ ค. รับอาวุธปืนและกระสุนปืนคืนมาแล้วก็มอบให้จำเลยไป จากนั้นจำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามไปพบผู้ตายซึ่งเป็นเวลาห่างจากการพบกันครั้งแรกประมาณ 1 ชั่วโมง จำเลยพูดกับผู้ตายว่าจำเลยไม่ใช่นักเลงแต่ก็ใช้ได้ก่อนที่จำเลยจะใช้อาวุธปืนที่เตรียมมายิงผู้ตาย เห็นได้ว่า จำเลยมีโอกาสคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วว่า จะฆ่าผู้ตายหรือไม่ เมื่อจำเลยตามไปพบผู้ตายและได้โอกาสก็ยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) พฤติการณ์ก่อนเกิดเหตุที่ผู้ตายเป็นฝ่ายหาเรื่องจำเลย ชวนทะเลาะวิวาทด่าจำเลยว่าไอ้หน้าตัวเมีย และยังท้าทายให้จำเลยชกต่อย ประกอบกับฎีกาของจำเลยรับว่าจำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่าเป็นเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและการรอการลงโทษจำคุกในคดีลักทรัพย์ ศาลฎีกาพิจารณาเหตุบรรเทาโทษและพฤติการณ์แห่งคดี
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจวางโทษก่อนลดให้จำคุกจำเลย 6 เดือน จึงเป็นการลงโทษจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4873/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีอาญาจากเหตุบรรเทาโทษและแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับความผิดฐานมีอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกออโตเมติก ขนาด 9 มม. เครื่องหมายทะเบียน นว 7/7717 พร้อมซองกระสุนปืนจำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนขนาด .380 จำนวน 10 นัด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยมีความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษตามมาตรา 78 และการริบของกลาง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างได้
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 78 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติในการใช้ดุลพินิจในการลงโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลไป หาใช่บทบังคับที่จะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดเพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางทั้งหมด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางดังกล่าวหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยังไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางนี้ไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 เมื่อปรากฏว่าทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดและมีไว้เป็นความผิด จึงให้ริบ
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางทั้งหมด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางดังกล่าวหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยังไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางนี้ไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 เมื่อปรากฏว่าทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดและมีไว้เป็นความผิด จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษทางอาญา: เหตุบรรเทาโทษ, การปรับบทลงโทษ, และอัตราโทษขั้นต่ำ
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าคดีมีเหตุบรรเทาโทษและเห็นสมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งมิได้พิพากษาให้ลดโทษแก่จำเลยที่ 2 ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าควรจะมีข้อความว่ามีเหตุอันควรปรานี มีเหตุบรรเทาโทษ และลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาด แต่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งอ่านแล้ว ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) คำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" นั้น หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด แต่การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกโดยมีข้อหาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ตามมาตรา 358 ซึ่งมีระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี และมาตรา 335(7) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี อัตราโทษขั้นต่ำแต่ละฐานความผิดดังกล่าวไม่ถึงสามปี การเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 181(1)
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) คำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" นั้น หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด แต่การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกโดยมีข้อหาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ตามมาตรา 358 ซึ่งมีระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี และมาตรา 335(7) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี อัตราโทษขั้นต่ำแต่ละฐานความผิดดังกล่าวไม่ถึงสามปี การเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 181(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพ, พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์, และการข่มขืนจนถึงแก่ความตาย: การพิสูจน์ความผิดและเหตุบรรเทาโทษ
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนที่รับสารภาพว่าเป็นผู้ฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ใช้ยันจำเลยเพื่อพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134
จำเลยให้การรับสารภาพแล้วยังนำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและให้ถ่ายรูปไว้ด้วย โดยจำเลยมิได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น และจากการตรวจกางเกงชั้นในของจำเลยที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาจากจำเลยที่นุ่งอยู่ในวันถูกจับกุมส่งไปตรวจหารหัสพันธุ์กรรม(ดีเอ็นเอ)ได้ความว่าได้รหัสพันธุ์กรรมตรงกับคราบเลือดของผู้ตาย น่าเชื่อว่าคราบเลือดที่ติดอยู่กับกางเกงชั้นในของจำเลยเป็นของผู้ตาย พฤติการณ์ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนักพอที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแล้ว
เมื่อผู้ตายได้ตายไปแล้วแต่จำเลยคิดว่าผู้ตายสลบไป จึงข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย เพราะผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15
จำเลยให้การรับสารภาพแล้วยังนำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและให้ถ่ายรูปไว้ด้วย โดยจำเลยมิได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น และจากการตรวจกางเกงชั้นในของจำเลยที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาจากจำเลยที่นุ่งอยู่ในวันถูกจับกุมส่งไปตรวจหารหัสพันธุ์กรรม(ดีเอ็นเอ)ได้ความว่าได้รหัสพันธุ์กรรมตรงกับคราบเลือดของผู้ตาย น่าเชื่อว่าคราบเลือดที่ติดอยู่กับกางเกงชั้นในของจำเลยเป็นของผู้ตาย พฤติการณ์ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนักพอที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแล้ว
เมื่อผู้ตายได้ตายไปแล้วแต่จำเลยคิดว่าผู้ตายสลบไป จึงข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย เพราะผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษอาญา: คำรับสารภาพไม่เป็นประโยชน์เมื่อมีพยานหลักฐานอื่นแน่นหนามั่นคง
เหตุเกิดเวลากลางวันมีผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยานโจทก์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ต่างเบิกความยืนยันว่าเห็นและจำได้แม่นยำว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายหลังเกิดเหตุแล้วประมาณ 5 วัน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนได้เค้ามูลว่าจำเลยเป็นคนร้ายและนำภาพถ่ายของจำเลยไปให้พยานทั้งสองดูต่างยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย พยานโจทก์ดังกล่าวมีโอกาสเห็นจำเลยอย่างใกล้ชิดและนานพอที่จะจำจำเลยได้ไม่ผิดตัว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแน่นหนามั่นคงมีน้ำหนักพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลย คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา กรณีไม่มีเหตุบรรเทาโทษที่ศาลจะลดโทษให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7205/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของตัวการร่วม และการลดโทษจากเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการในการกระทำความผิดดังกล่าวจึงต้องรับผิดในผลของการกระทำของจำเลยที่ 1 และพวกที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันเสมือนหนึ่งเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง จำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายของผู้เสียหายโดยใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมในการยิงผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดในผลของการกระทำดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายถึงสาหัส
จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้ที่ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษหนักเกินไป ศาลฎีกาก็ย่อม มีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้ที่ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษหนักเกินไป ศาลฎีกาก็ย่อม มีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะหลังถูกดูหมิ่น: ลดโทษจากทำร้ายร่างกายเป็นปรับ
ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจำเลยว่ามารดาจำเลยเป็นโสเภณีและถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจำเลยสำส่อนทางเพศ ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยตบหน้าผู้เสียหาย2 ครั้ง ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225