พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยเสน่หา vs. ซื้อขาย: ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานและเหตุผลสมเหตุสมผล
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่พิพาทแก่จำเลยเพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณ จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หาเพราะโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากจำเลย การที่จำเลยอ้างเหตุต่อมาว่าความจริงเป็นการซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลย ก็เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หานั่นเอง ไม่ทำให้เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีศุลกากรต้องใช้ราคาแท้จริงในท้องตลาดขณะนำเข้า การเปรียบเทียบราคาที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นเหตุให้การประเมินไม่ชอบ
เมื่อเดือน มิถุนายน 2519 จำเลยสั่งสินค้าประเภทอะไหล่รถยนต์มีเฟืองเกียร์ และเดือยหมูจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรและได้ สำแดงราคาสินค้าเพื่อเสียภาษีอากรชุด ละ 41.86 เหรียญสหรัฐเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินราคาสินค้าได้ ในขณะนั้น จึงชักตัวอย่างไว้ตรวจสอบ ต่อมาเจ้าพนักงานได้ วิเคราะห์ข้อมูลจากสินค้าประเภทและแหล่ง เดียว กันที่มีผู้นำเข้า ปรากฏว่ามีการนำเข้าในเดือน ตุลาคม 2517 กำหนดราคาชุดละ 47.87 เหรียญสหรัฐและนำเข้าในเดือน พฤศจิกายน 2519 กำหนดราคาชุด ละ 54.90เหรียญสหรัฐ เจ้าพนักงานประเมินจึงกำหนดราคาแท้จริงในท้องตลาดสำหรับสินค้าที่จำเลยนำเข้าเท่ากับ 47.87 เหรียญสหรัฐโดย เปรียบเทียบราคาแรกกับราคาหลังซึ่ง ขึ้นลงได้ การเรียกเก็บค่าภาษีอากรกฎหมายศุลกากรให้ประเมินอากรตาม ราคาแท้จริงในท้องตลาดแห่งของนั้น เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงเพื่อเสียภาษีต่ำ กว่าราคาที่โจทก์ถือ เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพื่อเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษี ดังนี้ถือ ไม่ ได้ว่าจำเลยได้ สำแดงราคาสินค้าไว้ต่ำ กว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลเลิกจ้างสมเหตุสมผล & การปฏิเสธรับชำระหนี้ทำให้เป็นฝ่ายผิดนัด
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยไม่มีความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์ต่อไป การที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมีความจำเป็นต้องยุบเลิกตำแหน่งของโจทก์เพื่อปรับภาวะทางเศรษฐกิจของจำเลย จึงเป็นสาเหตุเดียวกันแม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยสาเหตุอื่นมาด้วย ก็ไม่เป็นการนอกเหนือเหตุในหนังสือเลิกจ้าง และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน 78,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับโดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคารมิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชยนับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 221.
จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน 78,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับโดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคารมิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชยนับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 221.