พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดงานชั่วคราวของนายจ้างต้องมีเหตุผลสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการหรือขาดการวางแผน
ความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นนั้นจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร การที่ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2545 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 วัน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลงก็ตาม ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์ดังกล่าวเป็นการหยุดงานตามที่โจทก์คาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้างและบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนงานที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายศาลแขวง ต้องมีเหตุผลสำคัญและคำอนุญาตจากผู้พิพากษา
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิคำพิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น มี คำสั่งว่าอุทธรณ์ โจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงได้ จึงรับรองให้อุทธรณ์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อใดที่ ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสิน นั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ได้จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 22 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมั้นและการสมรส: เหตุผลสำคัญในการไม่จดทะเบียนสมรสและการคืนของหมั้น
โจทก์เป็นโรคจิตประสาทอย่างอ่อน มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถแต่งงานได้ จำเลยเคยพาโจทก์ออกไปเที่ยวนอกบ้านทั้งในเวลาก่อนและหลังหมั้นและกว่าโจทก์จำเลยจะแต่งงานกันก็เป็นเวลาภายหลังหมั้นถึง 5 เดือนเศษ เมื่อจำเลยแต่งงานและอยู่กินกับโจทก์เป็นเวลา 3 เดือนเศษแล้วจำเลยปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเหตุที่ไม่มีการสมรสนั้นมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่โจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องคืนของหมั้น
โจทก์ฟ้องเรียกของหมั้นที่จำเลยเก็บไว้จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะคดีขาดอายุความตามกฎหมาย โดยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความมาด้วยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
โจทก์ฟ้องเรียกของหมั้นที่จำเลยเก็บไว้จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะคดีขาดอายุความตามกฎหมาย โดยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความมาด้วยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่