คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9858/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: เหตุแห่งการฟ้องเกิดขึ้นนอกเขตศาลชั้นต้น ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
มูลคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธิ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี โจทก์กับหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลย ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ทวงหนี้จากลูกหนี้จำเลย และให้เป็นทนายความโดยตกลงกันทางโทรศัพท์ และจำเลยได้จัดส่งเอกสารต่าง ๆ ให้แก่โจทก์ และได้โอนเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายผ่านธนาคารในจังหวัดอุดรธานี เพื่อเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารซึ่งอยู่ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระเงิน 154,925 บาท โดยอาศัยเหตุที่จำเลยได้ปรึกษาโจทก์และว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความติดตามทวงถามหนี้ และให้โจทก์เป็นทนายความฟ้องลูกหนี้ของจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แต่ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้สิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธิเกิดขึ้น นอกเขตอำนาจของศาลแขวงดุสิตซึ่งเป็นศาลชั้นต้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องนี้ต่อศาลแขวงดุสิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม แม้ทรัพย์สินจะอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่หากเหตุแห่งการฟ้องต่างกัน ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
แม้ทรัพย์ที่พิพาทกันทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นทรัพย์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยอาศัยมูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ปฏิบัติตามฟ้องและฟ้องแย้งต่างกัน กล่าวคือโจทก์อาศัยเหตุจากการที่เจ้าของที่ดินเดิมปลูกสร้างกันสาดและพื้นคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยโดยสุจริตและจำเลยขัดขวางการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนทรัพย์สินและจดทะเบียนภารจำยอม ส่วนจำเลยอาศัยเหตุจากการที่โจทก์ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยโดยตรง ขอให้รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ประเด็นในคดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งต่างกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, การส่งสำเนาเอกสาร, การคัดค้าน, เหตุฟ้องไม่ชอบ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "ฯลฯ ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธินถนนราชวิถีแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครขอมอบอำนาจให้ ม. ฯลฯ เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว. ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ" การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม.จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ก) ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาทครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาลก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: แม้สัญญาเดียวกัน แต่เหตุฟ้องต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน ศาลล่างผิดพลาด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเมื่อสัญญาดังกล่าวยังไม่เลิกกันแม้ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจะอ้างอิงสัญญาฉบับเดียวกันแต่มูลฟ้องเกิดจากเหตุคนละคราวกันถือว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่ม ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามสำนวนในคดีก่อนและคำฟ้องโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ตรงกันว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามในคราวเดียวกัน ทั้งอ้างเหตุที่จำเลยเลิกจ้างว่าโจทก์ทั้งสามอายุครบ55 ปีบริบูรณ์อย่างเดียวกัน แต่ฟ้องของโจทก์ทั้งสามในคดีนี้กล่าวอ้างเหตุเพิ่มว่าโจทก์ทั้งสามยังไม่เกษียณอายุ จำเลยเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ ซึ่งปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามยอมรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามข้อ 1 ในคดีก่อนว่า ระเบียบข้อบังคับของจำเลยในการทำงานกำหนดว่าพนักงานโรงงานเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นเหตุที่จำเลยเลิกจ้างในคดีนี้ก็เพราะโจทก์ทั้งสามมีอายุครบ 55 ปีซึ่งเกษียณอายุนั่นเอง ประเด็นคดีนี้จึงประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาแล้วซึ่งมีมูลมาจากการเลิกจ้างของจำเลยในคราวเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสามคดีนี้ที่อ้างเหตุต่าง ๆ เพิ่ม ก็ไม่ทำให้มีประเด็นเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ฟ้องโจทก์ทั้งสามคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเมื่อการสมรสเป็นโมฆะ: เหตุฟ้องไม่ตรงตามกฎหมาย
โจทก์เคยจดทะเบียนสมรสกับ ส. มาก่อนแล้วจึงมาจดทะเบียนสมรสกับจำเลย การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นโมฆะต่อมาโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลยโดยอ้างเหตุเพียงว่าขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยโจทก์มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว การจดทะเบียนสมรสเป็นโมฆะ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่เข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ซึ่งบัญญัติถึงเหตุหย่าไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้และกรณีนี้ศาลไม่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)มาใช้เพื่อพิพากษาให้การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะได้เพราะเป็นเรื่องฟ้องโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายระบุไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวัน แต่ฟ้องหลังเกิดเหตุมีอำนาจฟ้องได้
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม2532 และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 ก็ตาม แต่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่2 มกราคม 2533 ซึ่ง เป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตาม กฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่: เหตุฟ้องไม่ซ้ำเดิมแม้ประเด็นคล้ายกัน และอำนาจฟ้องของผู้เช่าเมื่อมีเจ้าของทรัพย์สินร่วมฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าขับไล่จำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวาง ฉบับลงวันที่ 25 กันยายน 2525 เป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุจากสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวาง ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2522 จึงเป็นคนละเหตุแม้จะเป็นประเด็นอย่างเดียวกันก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
แม้โจทก์เป็นผู้เช่าไม่เคยเข้าครอบครองตึกแถวพิพาทแต่โจทก์มีคำขอให้ศาลเรียกวัดบางขวางเข้าเป็นโจทก์ร่วมมาพร้อมกับคำฟ้องของโจทก์และวัดบางขวางซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในภายหลัง โดยถือเอาคำฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งหมดเป็นคำฟ้องของตนหรือเป็นคำฟ้องส่วนหนึ่งของโจทก์ร่วม เมื่อศาลอนุญาตแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคำเนินคดีกับจำเลยได้
จำเลยเข้าอยุ่อาศัยในตึกแถวพิพาทโดยเช่าช่วงจาก ล. เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า สิทธิการเช่าระงับไป สิทธิการเช่าช่วงย่อมระงับตามไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5819/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องครอบครองปรปักษ์ไม่ซ้ำกับคดีเดิม แม้ที่ดินแปลงเดียวกัน หากเหตุฟ้องต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ว่างเปล่า แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยในฐานะโจทก์เป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผยเกินกว่า 10 ปีที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อน แม้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันโจทก์ก็ฟ้องคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2378/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์ การแจ้งข้อเท็จจริงหรือคาดคะเนโดยไม่มีความเสียหาย ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานส่งคืนที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครอง กับเพิกถอนคำสั่งหรือพระราชกฤษฎีกาของจำเลยที่เพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินของโจทก์ และขอให้ขับไล่บุคคลที่จำเลยจัดสรรให้ครอบครองที่ดิน แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แย่งสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียสิทธิในที่ดินที่ครอบครองให้แก่บุคคลอื่นหรือ ได้มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิในการครอบครองที่ดิน ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ในกรณีดังกล่าวจำเลยได้กระทำหรือร่วมกับผู้อื่นกระทำให้โจทก์เสียหายอย่างใดบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 3