พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางจำเป็นต้องไม่มีทางออกอื่น สิทธิสิ้นสุดเมื่อมีทางออกอื่น แม้เหตุเปลี่ยนภายหลังก็ไม่อาจอาศัยคำฟ้องเดิม
การอ้างสิทธิที่จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บุคคลนั้นจะต้องไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยทางอื่นได้ เมื่อปรากฏว่าระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมที่จะผ่านทางในที่ดินข้างเคียงแปลงอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยทั้งสามเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามกฎหมายได้อีก อำนาจฟ้องเอาทางจำเป็นของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 ย่อมหมดสิ้นไป เพราะไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ต่อไป
แม้ต่อมาโจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไป จนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่อันเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสามเปิดทางจำเป็นเนื่องจากการแบ่งขายที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
แม้ต่อมาโจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไป จนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่อันเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสามเปิดทางจำเป็นเนื่องจากการแบ่งขายที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาชี้ช่องทางฟื้นฟูใหม่และเหตุเปลี่ยนแปลงสำคัญ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยว่าไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ มีสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการแตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ได้ยื่นไว้พิจารณา จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นการร้องซ้ำ หากมีเหตุเปลี่ยนแปลง
คดีก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้นัดไต่สวนเสียโจทก์อุทธรณ์ต่อมา ก็เพื่อให้ศาลพิจารณาใหม่ในประเด็นที่ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือไม่ส่วนคดีนี้โจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นการยืนยันว่าบัดนี้เหตุอันทำให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สุดสิ้นไปแล้วไม่เป็นการร้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งส่งตัวจำเลยเข้าสถานฝึกอบรมเมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74
ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยซึ่งมีอายุ 15 ปีไปสถานฝึกและอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ต่อมาบิดาจำเลยร้องขอรับจำเลยไปดูแลเอง โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่ศาลจะกำหนดถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา ศาลมีอำนาจพิจารณาบังคับคดีตามความเป็นจริง แม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หากมีเหตุเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องจำเลย ศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้วเป็นผลว่าให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนขายที่พิพาทให้โจทก์ 2 งาน โดยวัดจากหลักหมายเลขที่ 12021 ไปหาหลักเลขที่ 08080 โดยให้เป็นรูปที่ดินตามเส้นแดงในแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง ถ้าหากจำเลยไม่ปฏิบัติการโอนให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนี้ด้วย ถ้าจำเลยไม่สามารถขายที่ดินรายนี้ให้โจทก์ได้ตามที่กล่าวแล้ว ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินมัดจำ 5,000 บาทแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะใช้เงินเสร็จ กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 10,000 บาทดังนี้ ในการบังคับคดีย่อมเป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นที่จะต้องดูว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะปฏิบัติการโอนขายที่พิพาทให้โจทก์2 งานดังกล่าวแล้วได้โดยชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่ และจะถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยได้หรือไม่เมื่อไม่มีทางปฏิบัติตามที่กล่าวนั้นได้แล้วจึงจะบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 5,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 10,000 บาท
กรณีดังกล่าวข้างต้น ในชั้นแรกข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำบังคับโดยวิธีแรกนั้นได้ โจทก์ขอให้บังคับการโอนเป็นอย่างอื่นศาลชั้นต้นจึงสั่งบังคับให้เป็นไปโดยวิธีที่สอง คือให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมทั้งดอกเบี้ยและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นขึ้นมาและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาพิพากษายืนตามนั้นก็ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็เป็นคำวินิจฉัยในเรื่องคำสั่งบังคับคดีของศาลชั้นต้นนั้นเองเป็นการวินิจฉัยในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล จึงต้องด้วยข้อยกเว้นให้รื้อร้องกันอีกได้ตามมาตรา 148(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวนั้น คือ ยังมิได้คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ถ้ามีข้อเท็จจริงใหม่ปรากฏต่อศาลว่าศาลอาจดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาโดยวิธีแรกอันเป็นคำบังคับตามคำขอที่เป็นประธานในคดีนี้ได้อยู่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอคำบังคับศาลให้ดำเนินการไปตามความจริงตามคำพิพากษาได้อีก
กรณีดังกล่าวข้างต้น ในชั้นแรกข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำบังคับโดยวิธีแรกนั้นได้ โจทก์ขอให้บังคับการโอนเป็นอย่างอื่นศาลชั้นต้นจึงสั่งบังคับให้เป็นไปโดยวิธีที่สอง คือให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมทั้งดอกเบี้ยและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นขึ้นมาและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาพิพากษายืนตามนั้นก็ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็เป็นคำวินิจฉัยในเรื่องคำสั่งบังคับคดีของศาลชั้นต้นนั้นเองเป็นการวินิจฉัยในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล จึงต้องด้วยข้อยกเว้นให้รื้อร้องกันอีกได้ตามมาตรา 148(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวนั้น คือ ยังมิได้คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ถ้ามีข้อเท็จจริงใหม่ปรากฏต่อศาลว่าศาลอาจดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาโดยวิธีแรกอันเป็นคำบังคับตามคำขอที่เป็นประธานในคดีนี้ได้อยู่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอคำบังคับศาลให้ดำเนินการไปตามความจริงตามคำพิพากษาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำหลังเหตุผิดสัญญาเปลี่ยนไป ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนโดยหาว่าจำเลยผิดสัญญาศาลยกฟ้องภายหลัง จำเลยตกอยู่ในฐานะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงและทรัพย์สินถูกยึดโดยเจ้าหนี้รายอื่น
โจทก์ฟ้องคดีหลังอ้างเหตุความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้และจำเลยถูกเจ้าหนี้อื่นยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ อันเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง มีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน การที่โจทก์ฟ้องคดีหลังซึ่งเป็นคดีล้มละลายเช่นเดียวกับคดีก่อนจึงมิได้เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับเหตุในคดีก่อนซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ไม่เป็นฟ้องซ้ำ