พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างเหตุใหม่ หลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการบอกเลิกสัญญาแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขายและเรียกเงินคืนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยไม่น้อยกว่า 3 เดือนตามสัญญา แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือถึงข้อที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารให้จำเลยทราบก่อนเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวจึงยังไม่มีการวินิจฉัยให้เป็นที่สุด ภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 3 เดือน แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวถึงข้อที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารให้จำเลยทราบก่อนเลิกสัญญาแล้ว กรณีถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาโดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การบอกกล่าวเป็นหนังสือก่อนบอกเลิกสัญญา เป็นเหตุใหม่ ทำให้ฟ้องครั้งหลังไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยตามข้อสัญญาพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบ พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เท่ากับประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยถึงที่สุด และเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยทราบก่อนบอกเลิกสัญญา อันเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาโดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาช่องทางฟื้นฟูที่แตกต่างจากคดีก่อน หากมีเหตุใหม่สนับสนุน
แม้ว่าในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทุกคดีจะต้องระบุถึงช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/6(3) แต่การที่จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้พิจารณาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนแนวทางการฟื้นฟูกิจการอย่างเดียวกันด้วยในคดีล้มละลายคดีก่อนซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้อ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเกือบทุกรายมีการประชุมเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำวินิจฉัยว่านอกจากสัญญาเช่าที่ลูกหนี้ทำกับผู้เช่าอาคารซึ่งมีกำหนดเวลา 1 ปี ถึง 3 ปี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถปรับอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นหรือจัดหาผู้เช่าให้เช่าให้เต็มพื้นที่ได้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่มีแนวทางหรือมาตรการอื่นใดที่จะดำเนินการให้มีกำไรหรือรายได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจึงเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้ส่วนที่ลูกหนี้คาดว่าจะสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้และเพิ่มวงเงินหมุนเวียนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอนจึงไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินส่วนใหญ่ของลูกหนี้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันและมีหนี้รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.40 ของจำนวนหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมด ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งสามรายมีมติร่วมกันในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดจำนวนหนี้ลงให้เหมาะสมไม่เกินกำลังความสามารถของลูกหนี้จึงเห็นได้ว่าสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ รวมทั้งยังมีหนังสือของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่าขอให้การสนับสนุนในการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการ และยินยอมที่จะลดยอดหนี้ให้ลูกหนี้ถึงร้อยละ 80 ของจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างในช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อน การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งผู้ร้องขอได้ยื่นไว้พิจารณาจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องโทษสูงเกินไปหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ถือเป็นการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาจึงต้องห้าม
แม้คดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยสูงเกินไป แสดงว่าจำเลยพอใจกับโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยกลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยสูงเกินไป ถือได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรุกปาดครองและการยกเหตุที่ดินสาธารณสมบัติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 426จำเลยได้เข้ามาปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินแปลงดังกล่าวเนื้อที่ 107.51 ตารางวาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ดังนี้ เมื่อตามภาพถ่ายแผนที่พิพาทท้ายฟ้องได้แสดงถึงที่ตั้งของที่ดินไว้แล้ว ส่วนจำเลยเข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทเมื่อใด ทิศไหนกว้างยาวเท่าใด และติดกับที่ดินผู้ใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
จำเลยฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การจำหน่ายจ่ายโอนจะต้องทำตามกฎหมายจะทำโดยพลการไม่ได้นั้นเป็นคนละเรื่องกับหนังสือมอบอำนาจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การจำหน่ายจ่ายโอนจะต้องทำตามกฎหมายจะทำโดยพลการไม่ได้นั้นเป็นคนละเรื่องกับหนังสือมอบอำนาจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุใหม่นอกเหนือคำแถลงเดิม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทั้งสามยื่นคำแถลงขอขยายระยะเวลาการนำส่งสำเนาอุทธรณ์โดยอ้างว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงในหลักการที่จะให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ แต่ทนายโจทก์ต้องไปขออนุญาตตัวความก่อน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งว่าจำเลยทั้งสามทิ้งอุทธรณ์ การที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่าวันที่ครบกำหนดให้แถลงนั้นตรงกับวันหยุดราชการ และในวันที่ศาลเปิดทำการจำเลยก็เดินทางไปต่างจังหวัดรถเสียกลางทางจึงเดินทางมาศาลไม่ทันกำหนดจึงไม่มีเจตนาทิ้งอุทธรณ์นั้น เป็นการที่จำเลยทั้งสามยกเรื่องนอกเหนือจากข้ออ้างที่อ้างไว้ในคำแถลงที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องและฟ้องซ้อน เหตุจำเลยยกเหตุใหม่และฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรม ร. มีอำนาจฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่เพราะขายกิจการให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นเจ้าของห้องพิพาทและมีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยฎีกาอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อน และใช้สิทธิบอกกล่าวให้จำเลยส่งมอบห้องคืนโดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรรับวินิจฉัยให้ คดีก่อนจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าผิดสัญญาเช่า ปิดกั้นด้านหน้าของโรงแรม ร. ทำให้โจทก์(จำเลยที่ 2 คดีนี้) เสียหาย เป็นค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงินจำนวน2,400,000 บาท ค่าขาดรายได้คำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงิน 600,000 บาทคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าห้องพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นค่าตกแต่งสถานที่ซึ่งใช้ดำเนินกิจการเป็นร้านตัดผมและอาบอบนวด ถ้าต้องย้ายออกไปจะเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้สถานที่ คำนวณเป็นเงิน 2,000,000 บาท ดังนั้น คดีนี้และคดีก่อนจึงมีประเด็นที่อ้างว่ามีการผิดสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายเป็นมูลเหตุเดียวกัน ฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทต้องชัดเจนในชั้นศาลต้น การอ้างเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ท. ทายาทตามพินัยกรรมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านยอมรับว่าพินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์เพียงแต่ข้อความที่ถูกขีดฆ่าและต่อเติมไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นจึงได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมพิพาทส่วนที่มีการขีดฆ่าเพิ่มข้อความสมบูรณ์ถูกต้องหรือไม่ เมื่อสืบพยานเสร็จผู้คัดค้านยื่นคำแถลงว่า ลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมเป็นลายมือชื่อปลอมพินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมทั้งฉบับ คำแถลงของผู้คัดค้านจึงเป็นการกล่าวอ้างนอกประเด็นไม่มีปัญหาที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัย และการที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันในศาลชั้นต้น
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยนั้น ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ มิใช่ข้อเท็จจริงนอกประเด็นนอกสำนวนที่ยกมา กล่าวอ้างขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา.
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยนั้น ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ มิใช่ข้อเท็จจริงนอกประเด็นนอกสำนวนที่ยกมา กล่าวอ้างขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องประกาศกระทรวงสาธารณสุขและข้อจำกัดในการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ทราบถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใดที่จำเลยฎีกาว่า ไม่ปรากฏว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 จริงหรือไม่ และจำเลยไม่สามารถทราบประกาศดังกล่าวได้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องตักเตือนก่อนเว้นแต่กรณีร้ายแรง การอ้างเหตุใหม่หลังฟ้องคดีทำไม่ได้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 11,28 ห้ามทะเลาะวิวาทหรือประทุษร้ายต่อพนักงานด้วยกันในระหว่างปฏิบัติงานหรือนอกเวลาปฏิบัติงานในบริเวณโรงแรมของจำเลยถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนมีโทษถึงปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยการที่โจทก์ทะเลาะตบตีกับพนักงานอื่นซึ่งเป็นหญิงด้วยกัน ไม่ปรากฏว่าบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด ไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนต่อเมื่อโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างกระทำผิดซ้ำอีก จึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยคดีนี้จำเลยรับแล้วว่ามิได้ตักเตือน โจทก์เป็นหนังสือเมื่อเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งปลดโจทก์ออกจากงานนั้นอ้างเหตุเลิกจ้างเพียงว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีทะเลาะวิวาทประทุษร้ายพนักงานอื่น เท่านั้น เห็นได้ว่าจำเลยไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นสาเหตุการผิดวินัยหรือเป็นเหตุแห่งการลงโทษอีกต่อไปเมื่อโจทก์ฟ้องคดีแล้ว จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่