คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุไม่สมควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุไม่สมควรที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ การขาดนัดพิจารณาคดี และการประเมินเหตุผลของฝ่ายโจทก์
ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) นัดสืบพยานโจทก์ เวลา 10 นาฬิกา โจทก์ไม่มาศาลตามนัด ศาลชั้นต้นรออยู่จนถึงเวลา 10.30 นาฬิกา จึงพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 181 ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำร้องว่ามีเหตุสมควรที่มาศาลตามนัดไม่ได้ ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ปรากฏว่าในวันนัด เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ขับรถยนต์ออกจากบ้านพักที่กรุงเทพมหานคร รถยนต์ก็ปกติดี ถึงที่เกิดเหตุใช้เวลาประมาณ 45 นาที รถยนต์เสียใช้เวลาซ่อม 1 ชั่วโมงก็เสร็จ แสดงว่าสภาพขัดข้องไม่ร้ายแรงนัก เมื่อซ่อมรถยนต์เสร็จผู้รับมอบอำนาจโจทก์ก็ไม่ใช้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งมีอยู่หลายแห่งที่สะดวกติดต่อไปยังศาลจังหวัดลพบุรีเพื่อแจ้งข้อขัดข้องดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นเจ้าของสำนักงานทนายความ และรับจัดหาทนายความแก่โจทก์เดินทางไปเบิกความเป็นพยานโจทก์โดยลำพัง โดยไม่นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตัวไปด้วย นับเป็นเหตุบังเอิญที่ไม่น่าเกิดขึ้น เมื่อเดินทางไปถึงศาลจังหวัดลพบุรีเวลา 12.10 นาฬิกา พบเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์อีกบัลลังก์หนึ่งก็แจ้งแต่เพียงว่า ศาลนัดคดีนี้ช่วงเช้าแต่มาศาลไม่ทัน โดยไม่ได้แจ้งเรื่องรถยนต์ขัดข้อง ข้อที่โจทก์หยิบยกขึ้นมาล้วนไม่สมเหตุผล พฤติการณ์แสดงว่าฝ่ายโจทก์ไม่สนใจเวลานัดของศาล ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ - เหตุไม่ทราบการส่งหมาย ไม่เป็นเหตุให้พิจารณาใหม่
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย อ้างว่าเพิ่งทราบการส่งหมายและสำเนาคำฟ้องหลังจากพ้นกำหนดยื่นคำให้การแล้ว แต่ตั้งใจที่จะแต่งทนายเพื่อซักค้านพยานโจทก์ เนื่องจากยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องสูงกว่าความจริงจำเลยมีหลักฐานต่อสู้คดีได้ คำขอดังกล่าวไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลคำขอให้พิจารณาใหม่จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: มูลหนี้ตามเช็ค, เหตุไม่สมควรล้มละลาย, พฤติการณ์ชำระหนี้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญากู้เงินไว้ต่อมาจำเลยขอกู้เพิ่มและออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อเช็คทั้งสองฉบับถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้ยืมเงินและมูลหนี้ตามเช็คด้วย มิใช่ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงินเพียงอย่างเดียว แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 622,000 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว แต่ในชั้นขอรับชำระหนี้คงมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 2 ราย คือโจทก์และธนาคาร ก. เฉพาะหนี้ของธนาคาร ก. จำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นประกันด้วย จำเลยรับราชการครูระดับ 7 ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับเงินเดือน เดือนละ8,895 บาท ภรรยาจำเลยรับราชการครูระดับ 2 เงินเดือน เดือนละ5,745 บาท จำเลยถือหุ้นสหกรณ์ครูเป็นเงิน 50,000 บาท สามารถกู้เงินจากสหกรณ์ได้ในวงเงิน 100,000 บาท จำเลยเพิ่งใช้สิทธิกู้เพียง40,000 บาท บิดามารดาจำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่บ้าน และที่นาราคาประมาณ 1,500,000 บาท มารดาภรรยาจำเลยมีที่ดิน 5 แปลง ราคาประมาณ 2,000,000 บาท ชั้นขอประนอมหนี้จำเลยขอประนอมหนี้โดยยอมชำระหนี้ถึงร้อยละ 90 และไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดข้อตกลงตามคำขอประนอมหนี้ พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยสามารถขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้คดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุไม่สมควรให้ล้มละลาย: พิจารณาฐานะหนี้สิน ผลกระทบต่อครอบครัว และโอกาสชำระหนี้ในอนาคต
การที่โจทก์ตกลงรับชำระหนี้จาก ก. และ ส. ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยจำนวน 900,000 บาท แล้วยอมถอนการยึดทรัพย์ให้ ก. และ ส. และตกลงไม่เรียกร้องให้คนทั้งสองชำระหนี้อีกต่อไปนั้น ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม จะถือเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่
จำเลยมีรายได้น้อยและไม่อยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้โจทก์ได้แต่การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีเงินเดือน มีโบนัสและสามารถส่งเสียบุตรให้เรียนหนังสือได้ทุกเดือน ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้มีฐานะทางการงานมั่นคง ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ก็เนื่องมาจากเข้าค้ำประกันหนี้เกี่ยวกับการค้าของสามี ไม่ใช่เพราะประพฤติชั่วหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินฐานะ และไม่ปรากฎว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รายอื่นอีก หากพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย จำเลยก็จะถูกให้ออกจากงาน หมดอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน และไม่สามารถส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษาต่อไปทรัพย์สินของจำเลยก็จะยังคงไม่มีพอที่จะรวบรวมมาชำระหนี้โจทก์ ครอบครัวของจำเลยจะตกอยู่ในสภาพแพแตกและหมดที่พึ่ง ไม่บังเกิดผลดีแก่ทั้งโจทก์และสังคมส่วนรวม โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วประมาณร้อยละ 78 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด ต่อไปหากจำเลยมีหน้าที่การงานดีขึ้น มีภาระทางครอบครัวน้อยลงและไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ก็ยังมีโอกาสบังคับคดีในหนี้ที่เหลือจากจำเลยได้ไม่มากก็น้อยซึ่งจะบังเกิดผลดีแก่โจทก์ยิ่งกว่าการที่จะให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลาย กรณีเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุไม่สมควรให้ล้มละลาย: พิจารณาฐานะทางการงาน, การค้ำประกันหนี้, และผลกระทบต่อครอบครัว
การที่โจทก์ตกลงรับชำระหนี้จาก ก. และ ส. ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยจำนวน 900,000 บาท แล้วยอมถอนการยึดทรัพย์ให้ ก. และ ส. และตกลงไม่เรียกร้องให้คนทั้งสองชำระหนี้อีกต่อไปนั้น ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม จะถือเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยมีรายได้น้อยและไม่อยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้โจทก์ได้แต่การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีเงินเดือน มีโบนัสและสามารถส่งเสียบุตรให้เรียนหนังสือได้ทุกเดือน ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้มีฐานะทางการงานมั่นคง ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ก็เนื่องมาจากเข้าค้ำประกันหนี้เกี่ยวกับการค้าของสามีไม่ใช่เพราะประพฤติชั่วหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เกินฐานะและไม่ปรากฎว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รายอื่นอีก หากพิพากษาให้ให้จำเลยล้มละลาย จำเลยก็จะถูกให้ออกจากงาน หมดอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน และไม่สามารถส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษาต่อไปทรัพย์สินของจำเลยก็จะยังคงไม่มีพอที่จะรวบรวมมาชำระหนี้โจทก์ ครอบครัวของจำเลยจะตกอยู่ในสภาพแพแตกและหมดที่พึ่ง ไม่บังเกิดผลดีแก่ทั้งโจทก์และสังคมส่วนรวมโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วประมาณร้อยละ 78 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดต่อไปหากจำเลยมีหน้าที่การงานดีขึ้น มีภาระทางครอบครัวน้อยลงและไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ก็ยังมีโอกาสบังคับคดีในหนี้ที่เหลือจากจำเลยได้ไม่มากก็น้อยซึ่งจะบังเกิดผลดีแก่โจทก์ยิ่งกว่าการที่จะให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลาย กรณีเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: แม้มีหนี้ถึงที่สุด แต่ศาลพิจารณาเหตุไม่สมควรให้ล้มละลายได้ หากลูกหนี้มีโอกาสชำระหนี้และไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง
เมื่อศาลแพ่งมีคำพิพากษาคดีที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และคดีชั้นร้องขอพิจารณาใหม่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าวย่อมต้องผูกพันคู่ความจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันและมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินให้พึงยึดมาชำระหนี้ได้อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 แต่จำเลยที่ 2เป็นนายทหารยศนาวาอากาศตรี อายุเพียง 40 ปีเศษ ยังมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไปอีก หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งอันเป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องล้มละลาย เป็นหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเข้าทำงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาจำเลยที่ 2 มิใช่หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนเองโดยแท้ ประกอบกับจำเลยที่ 2มีรายได้จากเงินเดือนเดือนละ 10,500 บาท โดยไม่ปรากฏว่ามีหนี้สินอื่น และเหตุที่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ก็น่าเชื่อว่าเพราะจำเลยที่ 2 เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 100,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันเท่านั้นซึ่งจะเห็นได้จากจำเลยที่ 2 ได้ขอให้มีการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวใหม่ และยืนยันตลอดมาตั้งแต่เมื่ออ้างตนเองเป็นพยานว่าพร้อมชำระเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่โจทก์ทันที เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสียเลยจึงมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายซ้ำหลังศาลยกเลิกการล้มละลายเดิม ถือเป็นเหตุไม่สมควรฟ้องล้มละลาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย จนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135(2)และเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียงรายเดียวถอนคำขอรับชำระหนี้ไป ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย โจทก์จึงนำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายอีก ดังนี้ หากยอมให้โจทก์เอาหนี้ที่หมดสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายแล้วกลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายใหม่ก็เท่ากับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาขอรับชำระหนี้อันผิดบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 และการที่ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้ล้มละลายนั้น ย่อมทำให้ลูกหนี้ถูกจำกัดสิทธิ และไม่สามารถจัดกิจการทรัพย์สินได้ด้วยตนเองจึงต้องเป็นไปโดยมีเหตุผลสมควรจริง ๆ ไม่ใช่ให้ใช้กฎหมายล้มละลายเป็นเครื่องมือบีบคั้นลูกหนี้ กรณีนี้ฟังได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14ศาลต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ล้มละลาย: เหตุไม่สมควรเห็นชอบ แม้เจ้าหนี้ยอมรับ และการกระทำที่แสดงเจตนาฉ้อฉล
เพียงแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขึ้นมาย่อ ๆ ว่า ทางสอบสวนยังไม่ปรากฎว่าลูกหนี้ประพฤติผิดกฎหมายล้มละลายอันจะมีโทษทางอาญาแต่ประการใดนั้น ยังไม่พอที่ศาลจะรับฟังเป็นแน่นอนเช่นนั้นได้ ในเมื่อมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ของลูกหนี้ที่ยังมิได้สอบสวนหรือซักถามให้ปรากฎชัด
ลูกหนี้เป็นผู้ทำการค้าขายใหญ่โตถึงขนาด มีทรัพย์สินอยู่นอกประเทศทั้งในอเมริกาและฮ่องกง มีเจ้าหนี้เป็นจำนวน 10 ล้านกว่าบาท แต่มีเงินเหลือเพียง 2 พันบาทเศษเท่านั้น ทรัพย์สินอื่นก็ติดภาระจำนองหมด และลูกหนี้ไม่อจแสดงให้พอใจศาลว่าตนมีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถขำระหนี้ได้ โดยก่อนหนี้ขึ้นอีกมากมายหลังจากทำยอมใช้หนี้ให้โจทก์แล้ว ทั้งไม่มีบัญชีในการประกอบธุรกิจการงานเหลืออยู่เลย ดังนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่าลูกหนี้ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีก โดยรู้แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 54 วรรคท้ายให้อำนาจศาลที่จะสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้โดยเปิดเผยและรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงเหตุที่ยังไม่สมควรศาลก็ยกคำขอประนอมหนี้นั้นเสียได้ แม้เจ้าหนี้ผู้คัดค้านจะมิได้นำพยานมาสืบก็ตาม
การที่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิเหลือพอจะแบ่งให้เจ้าหนี้และขืนทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้ว่าไม่-สามารถจะชำระหนี้ได้ กับประพฤติตนเล่นการพนัน เหตุทั้ง 3 ประการนี้นับว่ายังไม่สมควรจะได้รับความเห็นชอบให้ลูกหนี้ประนอมหนี้เพียงร้อยละห้าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ เหตุยังไม่สมควรห้ามจำหน่ายทรัพย์
ในคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ย่อมฎีกาในข้อเท็จจริงได้