คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหมาจ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนเหมาจ่าย (เงินประจำตำแหน่ง, ค่ารถ, ค่ารับรอง) ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การที่จำเลยจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรองให้แก่โจทก์ในลักษณะเหมาจ่ายเป็น รายเดือน รวมเป็นเงินเดือนละ 25,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือนโดยไม่ได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถ และค่ารับรองจึงเป็นเงินที่มีจำนวนแน่นอนที่จำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงถือว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงแรม: การขายบริการเหมาจ่ายและการแยกรายได้
ตามหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครในหัวข้อวัตถุที่ประสงค์ข้อ 2 ระบุว่า โจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการเตรียมและจัดการโครงการของการลงทุน และจัดการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ถือได้ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงแรม คำขอจดทะเบียนการค้าของโจทก์ได้ขอจดทะเบียนการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม และกรมสรรพากรออกใบทะเบียนการค้าให้ ระบุว่าโจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 4 รับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ) ประเภทการค้า 7 โรงแรมและภัตตาคาร (ข) นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2470 มาตรา 3 ให้นิยาม คำว่า โรงแรม ไว้ หมายความว่า บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์หาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จัดให้มีห้องพักสำหรับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือมาพักผ่อนเป็นการชั่วคราว โดยโจทก์เรียกสินจ้างหรือค่าบริการ กิจการของโจทก์ย่อมเป็นโรงแรมตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติ แม้ห้องพักของโจทก์ไม่มีความหรูหรา ผู้เข้าพัก 2 คน ซึ่งไม่รู้จักกันก็พักอยู่ในห้องใหญ่เดียวกัน ต้องใช้ห้องน้ำ สุขา และระเบียงร่วมกัน หรือโจทก์จัดให้ผู้เข้าพักได้เข้าร่วมทำกิจกรรม หรือสันทนาการกับผู้ที่เข้าพักด้วยกัน รวมทั้งจัดหาอาหารให้แก่ผู้เข้าพักด้วย ก็หาได้ทำให้กิจการของโจทก์ไม่ได้เป็นโรงแรมไม่
เมื่อลูกค้าที่ซื้อบริการของโจทก์ไม่ว่าที่ซื้อบริการผ่านบริษัท ฮ.และบริษัท ว. หรือซื้อจากโจทก์เอง ไม่สามารถซื้อในอัตราที่ต่ำกว่าวันละ 800 บาทต่อคนต่อวัน ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่า 800 บาท ต่อคนต่อวันจึงเป็นค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าบริการตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)และ 87 ทวิ (6)
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เหตุที่ยอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบ เพราะรายรับจากกิจกรรมกีฬาที่โรงแรมจัดให้แก่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียภาษีการค้า และโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินโดยแยกรายการไว้ต่างหากจากห้องพักและอาหาร จำเลยให้การว่าที่โจทก์นำรายรับจากการให้เช่าห้องพักไปแยกชำระภาษีการค้า โดยนำเอารายรับร้อยละ 24 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม รายรับร้อยละ 30 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) ภัตตาคาร ส่วนอีกร้อยละ 46 ของรายรับไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นการเหมาจ่ายต้องนำค่าเช่าห้องพักทั้งจำนวนไปเสียภาษีการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรมคดีจึงมีประเด็นว่า การที่โจทก์นำรายรับจากการบริการไปแยกเสียภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงครอบคลุมประเด็นดังกล่าวแล้ว
โจทก์ขายบริการเป็นชุด ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการหรือสินจ้างแก่โจทก์ในราคาเป็นชุดก็โดยมีความประสงค์จะใช้บริการของโจทก์ทั้งห้องพัก อาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่โจทก์จัดไว้ เป็นการจ่ายเหมา แม้ใช้บริการที่จัดไว้ไม่ครบทุกอย่าง โจทก์ก็มิได้คืนเงินส่วนที่ไม่ใช้บริการให้ ทั้งใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่ลูกค้าก็มิได้แยกว่าเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรม อย่างละเท่าใด เมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการโรงแรม รายรับจากการขายบริการเป็นชุดหรือขายในรูปเหมาจ่าย จึงเป็นรายรับหรือสินจ้างที่โจทก์ได้รับมาในกิจการโรงแรมทั้งจำนวนการที่โจทก์นำรายรับจากการขายบริการเป็นชุดไปแยกเสียภาษีบางจำนวนและไม่เสียภาษีบางจำนวนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายต้องไม่คลุมเครือ หากรวมค่าล่วงเวลา ต้องคำนวณฐานค่าจ้างปกติได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะและลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
ตามสัญญาจ้างข้อ1ระบุว่าโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยและบริษัทในเครือโดยจะทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติและข้อ2ระบุให้โจทก์รับค่าจ้างเดือนละ8,160บาทเป็นการเหมาจ่ายและเงินพิเศษอื่นๆ(ค่าครองชีพค่าพาหนะและค่าอาหาร)อีกเดือนละ440บาทครั้งสุดท้ายโจทก์ได้รับการปรับค่าจ้างเป็นเดือนละ9,350บาทแม้สัญญาจ้างดังกล่าวจะระบุว่าเป็นการเหมาจ่ายแต่ก็มิได้ระบุให้เหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาเข้าด้วยกับค่าจ้างหากมีการรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเข้ากับค่าจ้างผลจะเป็นว่าไม่อาจทราบได้ว่าค่าจ้างปกติที่จะนำไปเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำหรือไม่และค่าล่วงเวลาที่ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เพราะการกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150 นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและนายจ้างประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ31วรรคหนึ่งแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: หลักฐานการจ่ายเงินต้องชัดเจน หากไม่มีหลักฐาน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าใช้จ่ายให้เหมาได้
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์อ้างว่ามีการหักให้เจ้าของฟิล์มภาพยนต์ ที่ นำมาฉายนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำหลักฐานการรับเงินไว้ บัญชีแสดงการจ่ายเงินก็ไม่มีจ่ายให้แก่ผู้ใด จำนวนเท่าใดก็ไม่ปรากฏ จึงไม่อาจนำจำนวนค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการ คำนวณภาษีที่ต้องชำระของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนด ค่าใช้จ่ายให้เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 75 เป็นประโยชน์แก่โจทก์ มากกว่า ไม่มีข้อที่โจทก์จะอ้างได้ว่าหักค่าใช้จ่ายให้ไม่ถูกต้อง และเป็นผลร้ายแก่โจทก์ โจทก์จึงนำเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง เพื่อให้เพิกถอนการประเมินไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้คำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ผูกพันเมื่อโจทก์ยินยอมแล้ว
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่า มีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ประเมินภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่หากยินยอมแล้วจะมาอ้างภายหลังไม่ได้
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่ามีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ก็ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: การเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือตามจริงสำหรับร้านค้าต่างกัน
โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยตามคำฟ้องและคำให้การว่า การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของร้าน จ. กับร้าน ร. รวมกันโดยร้าน จ. โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 90 ส่วนร้าน ร. โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง เป็นการขัดต่อมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์ชนะคดี ดังนี้ จำเลยจะฎีกาว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายสำหรับร้าน ร. มากกว่าค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาคืออัตราร้อยละ 90 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอหักค่าใช้จ่ายอัตราร้อยละ 96 ตามที่ขอหักไว้ และไม่มีสิทธิจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารวมกันโดยขอหักค่าใช้จ่ายเป็น 2 ทาง แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายทางเดียวโดยการเหมาในอัตราร้อยละ 90 ตามมาตรา 8 (32) แห่งพระราชกฤษฎีกาข้างต้นไม่ได้ เป็นฎีกานอกเหนือจากคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถเหมาจ่ายเป็นค่าจ้าง: การพิจารณาฐานคำนวณค่าชดเชยและเงินสะสม
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นการเหมาให้โจทก์เป็นรายเดือนเดือนละเท่าๆ กัน โดยไม่คำนึงว่าในเดือนหนึ่งๆ โจทก์จะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถหรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ค่าน้ำมันรถย่อมเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงถือว่าเป็นค่าจ้าง ส่วนการเบิกเงินค่าน้ำมันรถดังกล่าวซึ่งต้องมีใบเสร็จมาแสดงเป็นเพียงวิธีการเบิกจ่ายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจอดรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายเหมาเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน
โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถในการออกปฏิบัติงาน แม้จำเลยจะจ่ายค่าจอดรถให้โจทก์ประจำเป็นรายเดือน ก็เพราะค่าจอดรถเป็นรายจ่ายปลีกย่อยไม่สะดวกที่จะจ่ายตามความเป็นจริง เห็นได้ว่าเป็นการจ่ายเหมาเพื่อชดเชยการที่โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถไป ค่าจอดรถจึงไม่เป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายจากการประกอบธุรกิจ และการประเมินภาษีเงินได้ที่ถูกต้อง
โจทก์มีสิทธิรับเงินจากพีเอ็กส์ของทหารอเมริกันตามจำนวนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บถือได้ว่าเงินที่โจทก์มีสิทธิรับนี้เป็นเงินได้ของโจทก์ แม้โจทก์จะต้องถูกหักเงินค่าธรรมเนียมไป 14 เปอร์เซ็นต์ เงินที่ถูกหักไปนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปตามความจริงและสมควรเท่าใด กรมสรรพากรจำเลยจึงได้คิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่ายให้ 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักเป็นการเหมานี้รวมถึงจำนวนเงิน 14เปอร์เซ็นต์ที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายให้องค์การทหารอเมริกันด้วยแล้ว ดังนี้ โจทก์จะให้คิดหักจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์นี้ออกจากเงินได้ของโจทก์เสียก่อนหาได้ไม่
of 2