คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำวินิจฉัยที่ 2/2568

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรม-ศาลปกครอง: ข้อพิพาทระหว่างเอกชนเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท แม้มีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง
คดีนี้ นาย ภ. ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาย ต. โจทก์ ยื่นฟ้อง นางสาว ส. ที่ 1 นางสาว พ. ที่ 2 นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ 3 จำเลย ว่า จำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาย ต. (เจ้ามรดก) ได้นำแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่มีลายมือชื่อของนาย ต. ซึ่งเสียชีวิตแล้ว ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ กรอกข้อความยื่นต่อจำเลยที่ 3 พร้อมเอกสารคำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน เพื่อให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน และแก้ไขเพิ่มเติมหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ จากนาย ต. เป็นจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ต่อจำเลยที่ 3 โดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนได้ตกลงยินยอมให้ หจก. ต. มอเตอร์ แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้ ทำให้ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการให้กลับคืนดังเดิม และเพิกถอนการจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก.
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ได้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 3 ให้การว่า หนังสือมอบอำนาจมิได้กระทำในนามส่วนตัว การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง หจก. จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมและยังมีผลผูกพันและเป็นมรดกของนาย ต. ที่ตกทอดมายังโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้มีเพียงว่า การมอบอำนาจให้จดทะเบียน หจก. สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นคู่ความในคดีก็เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียน มิได้มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการมอบอำนาจอันเป็นประเด็นสำคัญ ข้อพิพาทจึงเป็นนิติกรรมในทางแพ่ง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครสวรรค์พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และคำสั่งรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2561 ประกอบกฎกระทรวงจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. 2549 จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อพิพาทในคดีนี้ประเด็นหลักแห่งคดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้ว คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพชรบูรณ์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำฟ้องเป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชน โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของนาย ต. นำหนังสือมอบอำนาจของนาย ต. ที่ลงชื่อมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แต่สิ้นผลแล้วเนื่องจากความตายของผู้มอบอำนาจ กรอกข้อความไปยื่นต่อจำเลยที่ 3 เพื่อให้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ จากนาย ต. เป็นจำเลยที่ 1 และจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. โดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็น บจก. ซึ่งการรับจดทะเบียนของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยไม่มีอำนาจ ทั้งนี้โดยโจทก์มีเจตนาให้สถานะของ หจก. ต. มอเตอร์ ผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการกลับคืนดังเดิม กรณีจึงเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 เข้ามาในคดีนี้ด้วย ก็เนื่องจากจำเลยที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ และการจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาตามคำขอของโจทก์หรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสำคัญ ทั้งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 3 ว่ากระทำการโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อันจะเข้าลักษณะเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เมื่อคดีนี้ข้อพิพาทสำคัญเป็นกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวนระหว่างเอกชน ย่อมไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ ส. ผู้ขายตลอดมา ต่อมาจำเลยได้ยื่นขอสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน 19 ไร่ พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ไม่เกินคนละ 15 ไร่ จำเลยจึงให้ ช. บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก 1 แปลง จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีพิพาทที่ดินระหว่างรัฐกับเอกชน ต้องอาศัยพยานหลักฐานทางศาลมากกว่าพยานจากคณะกรรมการสอบสวน
แม้จะเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งฉบับพิพาทจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลย่อมต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พยานหลักฐานของจำเลยคือบันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาล เพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกคำให้การนั้น บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้สอยที่ดินพิพาทระหว่างเอกชน vs. ที่สาธารณสมบัติ โจทก์ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
ไม่ว่าจะฟังว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งหรือที่ชายตลิ่งที่พลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิใช้สอยดีกว่าจำเลย แต่จะใช้ยันต่อรัฐได้หรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขมติของราชการเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ แม้จะทำให้เอกชนได้รับความเสียหาย ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การที่บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ(ตลาดหมอชิต) ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัดไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ กรมการขนส่งทางบกไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญาแล้วกระทรวงคมนาคมกระทรวงการคลัง กรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์และบริษัทขนส่งจำกัด ได้ร่วมประชุม และมีมติให้กรมการขนส่งทางบกมอบที่ดินดังกล่าวคืนกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์ พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้าง และรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อกระทรวงคมนาคมจะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเบลเยี่ยมเสนออันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้อง เอกชนไม่มีสิทธิ
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การทำงานตามสัญญาเช่าระหว่างกระทรวงกลาโหมและเอกชน ไม่ถือเป็นลูกจ้างของเอกชน
การที่โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นผลจากข้อตกลงระหว่างจำเลยกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงกลาโหมยังถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างอยู่โดยสงวนอำนาจบังคับบัญชาในการลงโทษและการพิจารณาความดีความชอบของโจทก์ไว้ และยังได้เคยย้ายข้าราชการที่ทำงานกับจำเลยกลับไปทำงานที่กระทรวงกลาโหมเพราะเงินเดือนเต็มขั้นจึงเห็นได้ว่าการที่โจทก์ทำงานในโรงงานซึ่งจำเลยเช่ามาจากกระทรวงกลาโหม เป็นการทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมอันเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าโรงงานมิได้เกิดจากข้อตกลงที่โจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลย โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: เอกชนไม่มีอำนาจฟ้องคดีไม่ออกใบรับเงิน ต้องเป็นพนักงานอัยการเท่านั้น
ความผิดฐานไม่ออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 และความผิดฐานไม่ออกใบรับเมื่อผู้มีส่วนได้เสียเรียกร้องตามมาตรา 106 เป็นความผิดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลคือพนักงานอัยการเท่านั้นจะฟ้องได้ เอกชนมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะมีอำนาจฟ้องจึงเป็นโจทก์ฟ้องในความผิดดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดตามประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับใบรับเงิน: เอกชนไม่มีสิทธิฟ้อง
ความผิดฐานไม่ออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 และความผิดฐานไม่ออกใบรับเมื่อผู้มีส่วนได้เสียเรียกร้องตามมาตรา 106 เป็นความผิดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลคือพนักงานอัยการเท่านั้นจะฟ้องได้ เอกชนมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะมีอำนาจฟ้องจึงเป็นโจทก์ฟ้องในความผิดดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่: เอกชนผู้เสียหายไม่มีสิทธิขอเพิกถอนใบอนุญาต
ราษฎรที่เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย
of 3