คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสารต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารต่างประเทศและขอบเขตการจ่ายเงินสะสมในคดีแรงงาน
ศาลรับฟังเอกสารภาษาต่างประเทศทั้งฉบับโดยโจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทย เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมาย มิใช่ข้อเท็จจริง แต่เอกสารนั้นคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปล เมื่อศาลมิได้สั่งให้ทำคำแปล ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
แม้จำเลยมิได้ให้การถึงเงินสะสม 10,000 บาทว่าโจทก์มีสิทธิได้รับหรือไม่เพียงใด ซึ่งต้องถือว่าจำเลยรับว่าโจทก์มีสิทธิรับเงินสะสม 10,000 บาทก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินสะสมไปบ้างแล้ว การที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายเงินสะสมแก่โจทก์อีกโดยที่โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับย่อมไม่ชอบซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากทรัพย์สินอาคาร และการใช้สำเนาเอกสารต่างประเทศเป็นหลักฐาน
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด การรับฟังเอกสารต่างประเทศ และดอกเบี้ยผิดนัด
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลยโจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศเมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคาผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา472วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่นเมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้วศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่าโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ15ต่อปีจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, มูลคดี, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: ข้อวินิจฉัยสำคัญในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่า จำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2 (2), 4 (1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้
แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยาน และมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กัน และทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยาน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: หลักเกณฑ์การรับคำฟ้องและพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่1ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2(2)(1)โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่1ในบัญชีระบุพยานโดยไม่มีชื่อโจทก์ที่2ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตามแต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่1เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาและเอกสารประกอบ: พยานบุคคลจำเป็นสำหรับเอกสารโต้ตอบจากต่างประเทศ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานโครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจาก ก. จำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลย คู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือ ซ.ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงาน และจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว
การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดี คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้น ๆ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานและเอกสารต่างประเทศในคดีแพ่ง การรับฟังพยานหลักฐานประกอบเอกสาร
เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ โจทก์มิได้ส่งสำเนาคำแปลให้แก่จำเลยร่วมก็ไม่เป็นเหตุให้ถึงกับจะรับฟังเอกสารดังกล่าวไม่ได้เพราะว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 เพียงบัญญัติให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งเอกสารให้ทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น และโจทก์ได้ทำคำแปลเอกสารส่งศาลแล้ว ศาลย่อมรับฟังเอกสารนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยขนส่งสินค้า: การรับฟังพยานหลักฐานและเอกสารต่างประเทศ
เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ โจทก์มิได้ส่งสำเนาคำแปลให้แก่จำเลยร่วม ก็ไม่เป็นเหตุให้ถึงกับจะรับฟังเอกสารดังกล่าวไม่ได้ เพราะว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 เพียงบัญญัติ ให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่สั่งให้ทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น และปรากฏว่าโจทก์ได้ทำคำแปลเอกสารส่งศาลแล้ว ศาลย่อมรับฟังเอกสาร ดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินยืมทดรองจ่าย - การพิสูจน์ค่าใช้จ่าย - เอกสารต่างประเทศ - เงินรายได้จากการขายสินค้า
จำเลยยืมเงินทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของโจทก์ เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้วจำเลยต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายและเงินสดคงเหลือมาหักล้าง เมื่อเอกสารใบสำคัญที่จำเลยนำมาหักล้างเงินยืมบางส่วนมีข้อความเป็นภาษาต่างประเทศโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำนวนเงินที่ระบุในเอกสารดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยที่จะนำมาหักล้างเงินยืมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิจากผู้ใช้ก่อน & การรับรองเอกสารจากต่างประเทศ
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า 'ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้' ซึ่งรับกับมาตรา 41(1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานาน ก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าว แม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41(1)
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.
of 2