คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสารทางราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์เกิดขึ้นได้ตามสภาพการใช้ประโยชน์ของประชาชน ไม่ต้องมีเอกสารทางราชการ
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้นเกิดขึ้นเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดินและการใช้ร่วมกันของประชาชนโดยไม่จำต้องขึ้นทะเบียนหรือมีเอกสารของทางราชการกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร ท.ร.6 ตอน 1 เป็นเอกสารราชการหรือไม่? ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ใบแจ้งย้ายที่อยู่ ท.ร.6 ตอน 1 เป็นเอกสารราชการหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ใบแจ้งย้ายที่อยู่ ท.ร.6 ตอน 1 เป็นแบบฟอร์มของทางราชการที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายออก และนายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายเข้าต้องลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งในเอกสารนี้ด้วย ถือได้ว่าเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(8) หาใช่เป็นเพียงเอกสารส่วนตัวของเจ้าบ้านไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2083/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ปัญหาข้อเท็จจริง – การแจ้งข้อผิดพลาดบัญชีไม่ใช่ความเท็จ – เอกสารขาดหายไปไม่ใช่เอกสารทางราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162 จำเลยอื่นจึงไม่มีความผิดตามฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีงบดุลร้านสหกรณ์ ห. ได้แจ้งต่อที่ประชุมกรรมการร้านสหกรณ์ว่าโจทก์ทำเงินขาดบัญชี และทำสินค้าขาดหายไปก็เนื่องจากจำเลยทั้งสามตรวจพบข้อผิดพลาดของบัญชีร้านสหกรณ์ดังกล่าว จึงไม่เป็นการกระทำโดยมิชอบอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 นั้น เอกสารที่โจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมกันทำเป็นความเท็จให้พนักงานอัยการเป็นหลักฐานดำเนินคดีกับโจทก์เป็นเพียงรายการสินค้าที่ระบุว่าสินค้าขาดหายไปเท่านั้น และไม่มีจำเลยคนใดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและรับรองเอกสารดังกล่าวแล้วพิพากษายืนดังนี้ เป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาว่า จำเลยร่วมกันทำเอกสารขึ้นตามหน้าที่ของจำเลยเพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารดังกล่าวอันเป็นเท็จ พฤติการณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยมิชอบ และมีมูลที่ศาลจะรับพิจารณาต่อไป เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยไม่ต้องมีเอกสารทางราชการ และการพิสูจน์สภาพที่ดิน
ที่ดินซึ่งประชาชนในหมู่บ้านใช้ร่วมกันสำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะโคกระบือและเป็นที่ป่าช้ามา 80 ปี เศษแล้ว เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) คือ ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น เกิดขึ้นและเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดิน และการใช้ร่วมกันของประชาชน โดยไม่ต้องมีประกาศพระราชกฤษฎีกาสงวนไว้หรือขึ้นทะเบียนหรือมีเอกสารของทางราชการกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เช่นนั้น ทั้งผู้ใดไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินได้
จำเลยเคยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหาว่าแผ้วถางป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีประเด็นโดยตรงว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช่ร่วมกันหรือไม่ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา ก็จะนำคำพิพากษานั้นมาใช้ยันในคดีแพ่งซึ่งนายอำเภอเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่สาธรณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทจำกัด, เอกสารทางราชการ, และอายุความหลังการผ่อนชำระหนี้
กรรมการผู้แทนบริษัทจำกัด ลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ถือว่าบริษัทจำกัดเป็นโจทก์ กรรมการหาใช่ตัวโจทก์ไม่ ฉะนั้น แม้กรรมการจะมรณะ โจทก์ก็ดำเนินคดีได้
โจทก์ระบุอ้างพยานเอกสารไว้แล้วแต่ไม่ได้ส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อนวันสืบพยาน 3 วันนั้น หากเอกสารนั้นเป็นของทางราชการออกให้ ข้อความในเอกสารย่อมเป็นที่เชื่อถือได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลรับฟังเอกสารนั้นได้
อายุความเรียกร้องนั้น ถ้าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยใช้เงินให้บางส่วนแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันในความผิดเกี่ยวกับเอกสารทางราชการและการแจ้งความเท็จ การปรับบทกฎหมายและขอบเขตการแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสามกรรมต่างกันและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้ความผิดดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะกระทำเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบงานทะเบียนราษฎรและมีจุดประสงค์ในการกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวคือเพื่อให้ได้อาศัยอยู่กับสามีและบุตรในประเทศไทยอย่างถาวรก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระและอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันโดยชัดแจ้งและจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดเฉพาะตาม ป.อ. มาตรา 137, 265, 267, 268 วรรคแรก เป็นความผิดสามกรรม จำคุกกระทงละ 2 ปี ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้กระทงกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 (1) (3) วรรคสองด้วย และลงโทษจำเลยที่ 1 สองกระทง กระทงละ 2 ปี ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้และคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้พร้อมฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3
ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำความผิดตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยต้องระวางโทษหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 (1) (3) วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขโทษให้หนักขึ้นได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225