พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9220/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารแปล & อายุความฟ้องเรียกเงินคืน
โจทก์อ้างเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลซึ่งมีผู้แปลอาชีพเป็นผู้แปลประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ จำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ขณะเบิกความถึงเอกสารดังกล่าวว่าคำแปลไม่ถูกต้อง ทั้งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูกต้องของคำแปล เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนอย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะโต้แย้งหรือเสนอคำแปลที่ถูกต้องได้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จึงถือได้ว่าคำแปลดังกล่าวถูกต้องแล้ว และศาลชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
ธนาคารโจทก์สาขาท่าแพโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 หัวหน้าศูนย์บริการการค้าต่างประเทศของโจทก์ สาขาท่าแพ ตรวจสอบการจ่ายเงินให้ลูกค้าทั้งสองครั้ง พบว่าเป็นการจ่ายตามคำสั่งของลูกค้าต่างประเทศเพียงครั้งเดียว จึงถือว่าโจทก์ทราบเหตุการโอนเงินผิดพลาดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2537 จึงยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
ธนาคารโจทก์สาขาท่าแพโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 หัวหน้าศูนย์บริการการค้าต่างประเทศของโจทก์ สาขาท่าแพ ตรวจสอบการจ่ายเงินให้ลูกค้าทั้งสองครั้ง พบว่าเป็นการจ่ายตามคำสั่งของลูกค้าต่างประเทศเพียงครั้งเดียว จึงถือว่าโจทก์ทราบเหตุการโอนเงินผิดพลาดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2537 จึงยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากเอกสารแปลไม่ทันและพยานติดประชุม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ชอบ
++ เรื่อง รับขน ประกันภัย รับช่วงสิทธิ (ชั้นฎีกาคำสั่งไม่ให้เลื่อนคดี)
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบนั้นชอบหรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า ในวันนัดสืบพยานโจทก์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 นั้น โจทก์แถลงขอเลื่อนคดี มีเหตุผลสองประการ คือ พยานเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์จะนำสืบในวันนั้นไม่พร้อมเนื่องจากเอกสารส่วนมากเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งโจทก์จำต้องจัดคำแปลเป็นภาษาไทย กับอีกประการหนึ่งทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากพยานปากที่โจทก์เตรียมไปเบิกความในวันนั้นว่าพยานติดประชุมกะทันหันไม่สามารถไปเป็นพยานศาลได้ จึงเป็นเหตุจำเป็นที่โจทก์ต้องขอเลื่อนคดีส่วนที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538ซึ่งน้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันสืบพยานโจทก์นั้น เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์ไว้แล้ว โดยมีลายมือชื่อตรงมุมซ้ายด้านบนว่า"รับเป็นบัญชีพยานโจทก์ สำเนาให้จำเลย" แต่เมื่อถึงวันที่ 17กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ฝ่ายจำเลยแถลงคัดค้านศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของโจทก์ใหม่ ให้ยกบัญชีระบุพยานของโจทก์นั้นเสีย พร้อมกับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีไปความผิดพลาดหรือบกพร่องของโจทก์ที่ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียง 1 วันจากกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนัดสืบพยานนัดแรก ความบกพร่องนั้นเป็นเพียงคลาดเคลื่อนกำหนดเวลาเพียงเล็กน้อย มิได้มีผลร้ายแรงหรือทำให้โจทก์ได้เปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด จึงควรอนุญาตให้เลื่อนคดีตามคำขอของโจทก์
++ เห็นว่า แม้ระยะเวลานับแต่ที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ก็เป็นระยะเวลาที่ใช้ไปในขั้นตอนการนำส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง การยื่นคำให้การจำเลยและการแจ้งวันนัดเท่านั้น สำหรับวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 17 กรกฎาคม 2538 เป็นเพียงวันนัดสืบพยานในคดีนี้เป็นครั้งแรก การที่โจทก์ขอเลื่อนคดีในนัดดังกล่าวโดยอ้างเหตุว่าเอกสารที่โจทก์จะนำสืบพยานในวันนัดไม่พร้อม ยังแปลเอกสารไม่เรียบร้อย และพยานที่จะนำสืบในวันนัดติดประชุมนั้น หากมีเหตุจำเป็นตามที่โจทก์อ้างจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประวิงคดีเพื่อการสืบพยานหลักฐานให้ชักช้าหรือเอาเปรียบในเชิงคดีต่อฝ่ายจำเลย ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ขอเลื่อนคดีฝ่ายจำเลยคัดค้านการขอเลื่อนคดีของฝ่ายโจทก์ดังกล่าวข้างต้นโดยอ้างเพียงว่า การขอเลื่อนคดีของโจทก์นี้เนื่องจากจะขอเลื่อนคดีไปเพื่อให้ยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ เนื่องจากบัญชีระบุพยานที่โจทก์ยื่นไว้เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538 เป็นการยื่นก่อนวันสืบพยานน้อยกว่า 7 วัน ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านโดยชัดแจ้งว่าเหตุที่โจทก์อ้างในการขอเลื่อนคดีดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงอย่างใด จึงน่าเชื่อว่ามีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนคดีตามคำขอเลื่อนคดีของโจทก์ดังกล่าว ควรที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีตามคำขอของโจทก์ ดังนี้แม้โจทก์จะบกพร่องในการยื่นบัญชีระบุพยานซึ่งช้ากว่ากำหนดเวลาตามกฎหมายไปเพียง 1 วัน ก็มิใช่เป็นเหตุผลพิจารณาประกอบว่ามีเหตุสมควรให้โจทก์เลื่อนคดีไปหรือไม่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบนั้นชอบหรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า ในวันนัดสืบพยานโจทก์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 นั้น โจทก์แถลงขอเลื่อนคดี มีเหตุผลสองประการ คือ พยานเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์จะนำสืบในวันนั้นไม่พร้อมเนื่องจากเอกสารส่วนมากเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งโจทก์จำต้องจัดคำแปลเป็นภาษาไทย กับอีกประการหนึ่งทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากพยานปากที่โจทก์เตรียมไปเบิกความในวันนั้นว่าพยานติดประชุมกะทันหันไม่สามารถไปเป็นพยานศาลได้ จึงเป็นเหตุจำเป็นที่โจทก์ต้องขอเลื่อนคดีส่วนที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538ซึ่งน้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันสืบพยานโจทก์นั้น เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์ไว้แล้ว โดยมีลายมือชื่อตรงมุมซ้ายด้านบนว่า"รับเป็นบัญชีพยานโจทก์ สำเนาให้จำเลย" แต่เมื่อถึงวันที่ 17กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ฝ่ายจำเลยแถลงคัดค้านศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของโจทก์ใหม่ ให้ยกบัญชีระบุพยานของโจทก์นั้นเสีย พร้อมกับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีไปความผิดพลาดหรือบกพร่องของโจทก์ที่ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียง 1 วันจากกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนัดสืบพยานนัดแรก ความบกพร่องนั้นเป็นเพียงคลาดเคลื่อนกำหนดเวลาเพียงเล็กน้อย มิได้มีผลร้ายแรงหรือทำให้โจทก์ได้เปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด จึงควรอนุญาตให้เลื่อนคดีตามคำขอของโจทก์
++ เห็นว่า แม้ระยะเวลานับแต่ที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ก็เป็นระยะเวลาที่ใช้ไปในขั้นตอนการนำส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง การยื่นคำให้การจำเลยและการแจ้งวันนัดเท่านั้น สำหรับวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 17 กรกฎาคม 2538 เป็นเพียงวันนัดสืบพยานในคดีนี้เป็นครั้งแรก การที่โจทก์ขอเลื่อนคดีในนัดดังกล่าวโดยอ้างเหตุว่าเอกสารที่โจทก์จะนำสืบพยานในวันนัดไม่พร้อม ยังแปลเอกสารไม่เรียบร้อย และพยานที่จะนำสืบในวันนัดติดประชุมนั้น หากมีเหตุจำเป็นตามที่โจทก์อ้างจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประวิงคดีเพื่อการสืบพยานหลักฐานให้ชักช้าหรือเอาเปรียบในเชิงคดีต่อฝ่ายจำเลย ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ขอเลื่อนคดีฝ่ายจำเลยคัดค้านการขอเลื่อนคดีของฝ่ายโจทก์ดังกล่าวข้างต้นโดยอ้างเพียงว่า การขอเลื่อนคดีของโจทก์นี้เนื่องจากจะขอเลื่อนคดีไปเพื่อให้ยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ เนื่องจากบัญชีระบุพยานที่โจทก์ยื่นไว้เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538 เป็นการยื่นก่อนวันสืบพยานน้อยกว่า 7 วัน ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านโดยชัดแจ้งว่าเหตุที่โจทก์อ้างในการขอเลื่อนคดีดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงอย่างใด จึงน่าเชื่อว่ามีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนคดีตามคำขอเลื่อนคดีของโจทก์ดังกล่าว ควรที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีตามคำขอของโจทก์ ดังนี้แม้โจทก์จะบกพร่องในการยื่นบัญชีระบุพยานซึ่งช้ากว่ากำหนดเวลาตามกฎหมายไปเพียง 1 วัน ก็มิใช่เป็นเหตุผลพิจารณาประกอบว่ามีเหตุสมควรให้โจทก์เลื่อนคดีไปหรือไม่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด, เอกสารแปล, อัตราดอกเบี้ยผิดนัด
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 วรรคแรก
ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารแปลในคดีแพ่ง & ประเด็นข้อต่อสู้ที่มิได้กำหนดไว้
สำเนาเอกสารที่คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงจะต้องส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 นั้นหมายถึงสำเนาเอกสารที่คู่ความอ้างอิงเป็นพยานหลักฐาน มิใช่หมายถึงคำแปลหรือสำเนาคำแปลเอกสาร ทั้งมาตรา 46 มิได้บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ส่งคำแปลหรือสำเนาคำแปลให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยให้จำเลยพร้อมกับสำเนาฟ้อง และได้ยื่นคำแปลกรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าวโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับแล้ว ศาลย่อมรับฟังกรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การไว้ว่าจำเลยที่ 2 ประกันภัยค้ำจุน บ. มิใช่ประกันค้ำจุนจำเลยที่ 1 และ บ. ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ไว้เป็น ประเด็น และจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีจะยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226,249 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2170/2516)
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การไว้ว่าจำเลยที่ 2 ประกันภัยค้ำจุน บ. มิใช่ประกันค้ำจุนจำเลยที่ 1 และ บ. ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ไว้เป็น ประเด็น และจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีจะยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226,249 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2170/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเอกสารแปลในคดีแพ่ง และประเด็นข้อต่อสู้ที่ไม่ได้รับการกำหนดเป็นประเด็นโดยศาล
สำเนาเอกสารที่คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงจะต้องส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 นั้น หมายถึงสำเนาเอกสารที่คู่ความอ้างอิงเป็นพยานหลักฐาน มิใช่หมายถึงคำแปลหรือสำเนาคำแปลเอกสาร ทั้งมาตรา 46 มิได้บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ส่งคำแปลหรือสำเนาคำแปลให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยให้จำเลย พร้อมกับสำเนาฟ้อง และได้ยื่นคำแปลกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว โดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับแล้ว ศาลย่อมรับฟังกรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การไว้ว่าจำเลยที่ 2 ประกันภัยค้ำจุน บ. มิใช่ประกันค้ำจุน จำเลยที่ 1 และ บ.ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ไว้เป็นประเด็น และจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีจะยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่ง มาตรา 226, 249 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2170/2516)
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การไว้ว่าจำเลยที่ 2 ประกันภัยค้ำจุน บ. มิใช่ประกันค้ำจุน จำเลยที่ 1 และ บ.ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ไว้เป็นประเด็น และจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีจะยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่ง มาตรา 226, 249 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2170/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองเอกสารแปลและภาระการพิสูจน์ค่าเสียหาย: ศาลยึดถือเอกสารแปลที่โจทก์รับรองหากไม่มีการโต้แย้ง
คำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศที่โจทก์รับรองว่าถูกต้องและอ้างส่งต่อศาลนั้น เมื่อไม่มีการโต้แย้งหรือขอแก้ไขก่อนเสร็จสำนวน ย่อมต้องถือเป็นยุติ ศาลจะรับรู้ต้นฉบับภาษาต่างประเทศว่ามีข้อความอย่างไร ไม่ได้ กรณีต่างกับสำเนาเอกสารที่มีต้นฉบับ (เป็นภาษาไทย) ในสำนวนซึ่งศาลย่อมตรวจดูต้นฉบับได้
ในเรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้นำสืบโต้แย้งจำนวนค่าเสียหายก็เป็หน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องนำสืบโดยตลอด จำเลยไม่ต้องยกเป็นประเด็นขึ้นต่อสู้ในเรื่องจำนวนค่าเสียหายมากน้อยเพียงใด
พยานบุคคลให้การเรื่องจำนวนค่าเสียหายตรงตามที่โจทก์ฟ้อง แต่คำแปลเอกสารคิดได้เป็นจำนวนน้อยกว่า ศาลถือว่ากรณีเป็นที่สงสัย ยกประโยชน์ให้แก่จำเลยผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11
ในเรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้นำสืบโต้แย้งจำนวนค่าเสียหายก็เป็หน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องนำสืบโดยตลอด จำเลยไม่ต้องยกเป็นประเด็นขึ้นต่อสู้ในเรื่องจำนวนค่าเสียหายมากน้อยเพียงใด
พยานบุคคลให้การเรื่องจำนวนค่าเสียหายตรงตามที่โจทก์ฟ้อง แต่คำแปลเอกสารคิดได้เป็นจำนวนน้อยกว่า ศาลถือว่ากรณีเป็นที่สงสัย ยกประโยชน์ให้แก่จำเลยผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ค่าเสียหายและการรับรองเอกสารแปล
ในเรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้โต้แย้งจำนวนค่าเสียหาย ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องนำสืบโดยตลอด
คำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศที่โจทก์รับรองว่าถูกต้อง และอ้างส่งต่อศาลนั้น เมื่อไม่มีการโต้แย้งหรือขอแก้ไขก่อนเสร็จสำนวน ย่อมต้องถือเป็นยุติ ศาลจะรับรู้ต้นฉบับภาษาต่างประเทศว่ามีข้อความอย่างไรไม่ได้ กรณีต่างกับสำเนาเอกสารที่มีต้นฉบับ(เป็นภาษาไทย) ในสำนวนซึ่งศาลย่อมตรวจดูต้นฉบับได้
พยานบุคคลให้การเรื่องจำนวนค่าเสียหายตรงตามที่โจทก์ฟ้องแต่คำแปลเอกสารคิดได้เป็นจำนวนน้อยกว่า ศาลถือว่ากรณีเป็นที่สงสัยยกประโยชน์ให้แก่จำเลยผู้จะต้องเสียในมูลหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11
คำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศที่โจทก์รับรองว่าถูกต้อง และอ้างส่งต่อศาลนั้น เมื่อไม่มีการโต้แย้งหรือขอแก้ไขก่อนเสร็จสำนวน ย่อมต้องถือเป็นยุติ ศาลจะรับรู้ต้นฉบับภาษาต่างประเทศว่ามีข้อความอย่างไรไม่ได้ กรณีต่างกับสำเนาเอกสารที่มีต้นฉบับ(เป็นภาษาไทย) ในสำนวนซึ่งศาลย่อมตรวจดูต้นฉบับได้
พยานบุคคลให้การเรื่องจำนวนค่าเสียหายตรงตามที่โจทก์ฟ้องแต่คำแปลเอกสารคิดได้เป็นจำนวนน้อยกว่า ศาลถือว่ากรณีเป็นที่สงสัยยกประโยชน์ให้แก่จำเลยผู้จะต้องเสียในมูลหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11