คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอาเปรียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนสิทธิการเช่าเป็นประกันหนี้ การขายทอดตลาด และการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบ
ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันหรือจำเลยที่ 1 ขอมอบสิทธิการเช่าดังกล่าวให้ไว้แก่ผู้ให้กู้หรือโจทก์เป็นจำนำ และระบุไว้ชัดแจ้งว่า ในกรณีที่ผู้กู้หรือจำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระเงินตามกำหนดโจทก์มีสิทธิเอาทรัพย์ที่จำนำออกขายทอดตลาดได้ ดังนี้แม้ขณะโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าว สิทธิตามสัญญาเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 101 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะทำสัญญาจึงไม่อาจจำนำได้ก็ตาม แต่ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 โดยชัดแจ้งว่าตกลงให้สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้และหากผู้กู้ผิดนัดโจทก์ต้องนำสิทธิการเช่าดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือให้ไว้แก่เทศบาลเมืองขอนแก่นว่ายินยอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ก็เป็นเพียงหนังสือยืนยันว่าจำเลยที่ 1 จะโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้โจทก์หรือบุคคลอื่นเมื่อขายทอดตลาดสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้วเท่านั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าของจำเลยที่ 1 มาเป็นของโจทก์แล้วทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองขอนแก่นโดยไม่ได้ขายทอดตลาด ทั้งโจทก์ตีราคาสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไว้ล่วงหน้าโดยไม่ปรากฏราคาท้องตลาด จึงเป็นการเอาเปรียบและไม่เป็นธรรมแก่จำเลยที่ 1 การรับโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นโมฆะ หากไม่ระบุอัตราค่าจ้างปกติชัดเจน และเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง
การกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นเมื่อจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและจำเลยประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบ, การถอนฟ้องที่ไม่สุจริต, และการประนีประนอมยอมความที่เป็นการเอาเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนคำร้องทั้งสองฉบับของโจทก์ในวันดังกล่าว แต่มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องทั้งสองฉบับให้แก่จำเลยทั้งสี่ และนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 18ตุลาคม 2531 การที่ศาลชั้นต้นให้นัดไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาเป็นการด่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1และออกใบหุ้นพร้อมกับใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่ตามคำร้องที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษากลับเป็นเรื่องโจทก์ต้องการใช้สิทธิเข้าไปดูแลครอบงำการจัดการและเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจะได้ดำเนินการบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อไปชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคำฟ้อง โจทก์ไม่อาจร้องขอให้คุ้มครองดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาใช้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 และในวันเดียวกันกรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ร่วมประชุมแต่งตั้งได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายจำเลยที่ 1 ที่กรรมการชุดเดิมได้ตั้งไว้ หลังจากนั้นโจทก์กับทนายคนใหม่ของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปโดยไม่สุจริตและกระทำเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยดังกล่าวต่างให้การต่อสู้อยู่ว่า หุ้นตามฟ้องมิใช่ของโจทก์ทั้งยังคัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องด้วย ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะผู้ขอถอน หากถอนแล้วยื่นฟ้องใหม่ ถือเป็นการเอาเปรียบ
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน ๒ เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๑๘๐ วรรคสอง(๒) จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องชั่งผิดพิกัด ไม่ถือว่าเอาเปรียบการค้า หากไม่ได้ใช้ชั่งขายโดยตรง
จำเลยมีเครื่องชั่งไว้ชั่งซื้อข้าวเปลือกจากผู้ขาย การที่เครื่องชั่งของจำเลยชั่งวัตถุที่มีน้ำหนักจริง 500 กิโลกรัม ได้น้ำหนัก 502 กิโลกรัม ทำให้ผู้ขายได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 กิโลกรัม ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเครื่องชั่งดังกล่าวไว้เพื่อเอาเปรียบในการค้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31, 38 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องชั่งผิดอัตรา ไม่เข้าข่ายเอาเปรียบการค้า ความผิดตาม พ.ร.บ. ชั่ง ตวง วัด
จำเลยที่ 1 มีเครื่องชั่งไว้ชั่งซื้อข้าวเปลือกจากผู้ขาย มิใช่ชั่งขาย เมื่อวัตถุที่มีน้ำหนักจริง 500 กิโลกรัมใช้เครื่องชั่งของจำเลยที่ 1 ชั่งจะได้น้ำหนัก 502 กิโลกรัมดังนี้ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเครื่องชั่งไว้ใช้เพื่อเอาเปรียบในการค้า ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 270.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องชั่งผิดพิกัดไม่เข้าข่ายเอาเปรียบการค้า ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด
จำเลยมีเครื่องชั่งไว้ชั่งซื้อข้าวเปลือกจากผู้ขาย การที่เครื่องชั่งของจำเลยชั่งวัตถุที่มีน้ำหนักจริง 500 กิโลกรัมได้น้ำหนัก 502 กิโลกรัม ทำให้ผู้ขายได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 กิโลกรัมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเครื่องชั่งดังกล่าวไว้เพื่อเอาเปรียบในการค้า ตามประมวลกฎหมายอาญา 270 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31,38 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องชั่งคลาดเคลื่อนไม่ถึงขั้นเอาเปรียบการค้า, ความผิด พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด
จำเลยมีเครื่องชั่งไว้ชั่ง ซื้อ ข้าวเปลือกจากผู้ขาย การที่เครื่องชั่งของจำเลยชั่ง วัตถุที่มีน้ำหนักจริง 500 กิโลกรัม ได้น้ำหนัก 502 กิโลกรัม ทำให้ผู้ขายได้ น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 กิโลกรัมถือ ไม่ได้ว่าจำเลยมีเครื่องชั่งดังกล่าวไว้เพื่อเอาเปรียบในการค้าตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270 คงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31,38 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง: การใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการเอาเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้เต็มที่ฝ่ายใดจะแพ้ชนะคดีย่อมแล้วแต่พยานหลักฐานและรูปคดีทั้งปรากฏจากคำร้องขอถอนฟ้องว่าหนี้จำนองยังไม่ถึงกำหนดฟ้องร้องได้ โจทก์จึงขอถอนฟ้อง เมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์และเหตุผลในคดีแล้ว ถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเป็นการเอาเปรียบเชิงคดี ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท: ใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า
จำเลยมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา และได้ใช้เครื่องชั่งนั้นในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่น ซึ่งต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเอาเปรียบในการค้าเช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษเป็น 2 กระทง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
of 2