คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แกล้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จกล่าวหาปล้นทรัพย์เพื่อแกล้งให้ผู้อื่นรับโทษหนักกว่าความเป็นจริง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเกิดปากเสียงกับนายชิงชองแล้วถูกนายชิงชองชกต่อยเอา แต่จำเลยกลับนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่ามีนักเลง 3 คนกลุ้มรุมทำร้ายจำเลย โดยคนหนึ่งใช้ไม้ตี คนหนึ่งล๊อคคออีกคนหนึ่งล้วงเอาเงินในกระเป๋าเสื้อไป 300 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการแกล้งจะให้นายชิงชองต้องรับโทษหนักขึ้นและเป็นการกล่าวหาว่านายชิงชองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 ประกอบด้วยมาตรา 181 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานใส่ร้ายผู้อื่นเพื่อให้ต้องโทษอาญา แม้ไม่มีการฟ้องดำเนินคดี
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เพียงแต่จำเลยจับผู้อื่นเพื่อจะแกล้งให้ต้องรับโทษทางอาญา ไม่จำเป็นต้องเอาตัวผู้นั้นมาฟ้องศาล จำเลยก็มีความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จทำให้ผู้อื่นถูกดำเนินคดีอาญา มีเจตนาแกล้งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 และ 174
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวนและเป็นการแจ้งโดยมีเจตนาที่จะแกล้งให้ จ. และ ธ. ได้รับโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเอาของมีพิษหรือสิ่งอื่นที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือลงในน้ำที่มีอยู่หรือจัดไว้เพื่อประชาชนบริโภค การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และมาตรา 174 วรรคสอง และความผิดดังกล่าวนี้เป็นความผิดสำเร็จเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทราบข้อความที่จำเลยแจ้งพนักงานสอบสวนจะทราบว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จหรือไม่ ศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไร และถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หาใช่ข้อสำคัญที่จะฟังว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงไม่ต้องพิจารณาสำนวนคดีที่ฟ้อง จ. และ ธ. และผลของคำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าว